การบริหารความเสี่ยง ในการลงทุน !

การบริหารความเสี่ยง ในการลงทุน !

เมื่อคุณเริ่มคิดถึงอนาคต คุณจะคิดถึงอะไรบ้าง ?

อนาคตหน้าที่การงานของคุณรุ่งโรจน์  ชีวิตของลูกหลาน หรือการที่มีชีวิตที่สุขสบายในวัยชรา ถ้าตอนนี้คุณยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว คงจะเคยคิดบ้างว่าในยามแก่ชรา  เมื่อไม่ได้ทำงานแล้วชีวิตจะเป็นอย่างไร หรือถ้าหากคุณอยู่ในวัยกลางคน กำลังจะเกษียณอายุในไม่ช้า คุณคงจะมีการเตรียมตัวอะไรสักอย่างแล้วใช่ไหม?


การบริหารความเสี่ยง ในการลงทุน !

ในวันนี้เราจะแยกกองทุนเพื่อผู้ลงทุนที่เตรียมตัวเข้าสู่วัยชรา หรือเตรียมเกษียณอายุ ออกเป็น 6 ส่วน เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้

1. ระดับเสี่ยงที่สามารถวัดค่าได้

วิธีการนี้เป็นการบริหารความเสี่ยง โดยการลดความไม่สมดุลระหว่างทรัพย์สิน และสิ่งของ ( Surplus  Risk  Management ) ซึ่งมีค่าความเสี่ยงสูงลง โดยวัดการลดระดับการแกว่งตัวของขนาดทรัพย์สินที่ใช้การบริหารพอร์ต  เพื่อให้ได้ระดับผลการตอบแทนที่มีมูลค่าสูงสุด  (Active  Risk  Management ) เมื่อเราค้นคว้าจากงานวิจัยของแคนนาดาที่ทำการสำรวจและวิจัยเรื่องนี้นั้พบว่า ผลตอบแทนสูงกว่าถึง 10 เท่าเลยทีเดียว

2. กฎเกณฑ์ของทางการ  

กฏเกณฑ์ของทางการนั้นมักจะมีอิทธิพลในการกำหนดพฤติกรรมซึ่งเป็นแนวทางแห่งความเสี่ยง เช่น  กองทุนในยุโรปและกองทุนภาครัฐทำการประเมินทรัพย์สินและหนี้สิน   โดยอ้างอิงจากราคาตลาดในทุกวันทำการ จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างทรัพย์สินและหนี้สิน   ซึ่งแน่นอนว่าแนวทางนี้มีความเสี่ยง แต่แนวทางการบริหารที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด  มักจะได้รับความนิยม

3. ความเชื่อด้านการลงทุน

ความเชื่อด้านการลงทุนก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงของกองทุนต่างๆ จากการสำรวจกองทุนของใหญ่ที่มีหน้าที่ดูแลพอร์ตการลงทุน และผู้จัดการกองทุนเพื่อการเกษียณ มักมีความเห็นตรงกันว่า  ถ้าเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อหนี้สินไม่ต่างไปจากทรัพย์สินเช่นเดียวกัน วิธีการคือบริหารความเสี่ยงด้วยการลดความไม่สมดุล ระหว่างทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งนี้ยังรวมถึงการบริหารให้ค่าตอบแทนสูงขึ้นด้วย

4. การบริหารความเสี่ยง ด้วยการลดความไม่สมดุลระหว่างทรัพย์สินและหนี้สิน

บางครั้งเราอาจจะใช้วิธี การบริหารความเสี่ยง ด้วยการลดความไม่สมดุลระหว่างทรัพย์สินและหนี้สินลง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งแม้แต่กองทุนเองก็ได้ใช้เป็นแนวทางในการบริหาร หากศึกษาดีๆจะพบว่า ในช่วงเวลา 5  ปี ก่อนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่สหรัฐอเมริกา กองทุนที่ใช้แนวทางการบริหารนี้ให้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนอื่นๆถึงร้อยละ  0.61

5. ตรวจสอบความเสี่ยงเป็นระยะๆ

ควรตรวจสอบความเสี่ยงเป็นระยะๆ (Risk Monitoring ) เป็นวิธีที่ใช้ปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง  แต่ก็ใช่ว่ากองทุนทุกกองจะปฏิบัติตามแนวทางนี้ ซึ่งกองทุนมักจะปฏิบัติ โดยการให้ สองหรือสามจากกองทุนทั้งหมดได้มีการรับรองโดยการกำหนดกฎเกณฑ์ความเสี่ยง  โดยคณะกรรมการของบริษัทเป็นผู้กำหนดขึ้น ซึ่งการตรวจสอบความเสี่ยงอยู่เสมอ จะทำให้รู้ถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

  1. นโยบายความเสี่ยง

โดยครึ่งหนึ่งของทั้งหมด  ได้มีการกำหนดนโยบายความเสี่ยง (Risk Appetite) เอาไว้ในนโยบายความเสี่ยงของกองทุน โดยเกือบครึ่งหนึ่งของบริษัทได้ใช้นโยบายความเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการลดความไม่สมดุลระหว่างทรัพย์สินและหนี้สินในการกำหนดความเสี่ยง นอกจากนี้ยังได้มีการจัดให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับรองความเสี่ยงจนถึงระดับกองทุน

ยิ่งขนาดกองทุนใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีการตรวจสอบความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น เมื่อพิจารณาจากข้อต่างๆที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น เชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนที่มองการณ์ไกลถึงเรื่องของการเกษียณอายุ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังจะเข้าสู่วัยเกษียณ และกำลังวางแผนอนาคตของตนอยู่ ลองศึกษาเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของการลงทุนดู เพื่อวัยเกษียณที่มั่นคงนั่นเอง

ก่อนจากกัน อยากจะฝากข้อคิดเล็กๆน้อยของการลงทุนไว้สักหน่อยว่า

พยายามอย่าไปยึดติด กับสิ่งที่ผันผวนได้ตลอดเวลา

ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนอื่นๆ เพราะ หากการลงทุนไม่เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ แล้วยึดติดกับความผิดหวัง จะทำให้เราพลาดโอกาสดีๆในการลงทุนได้ กล่าวง่ายๆคืออย่ายอมแพ้ ต้องศึกษาข้อมูลที่ได้มาให้ดี นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันนั่นเอง

บทความโดย:moneyhub

 900
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์