ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี นั้นแตกต่างกันอย่างไร ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือผู้ที่ต้องทำให้กิจการมีการจัดทำบัญชี โดยปกติแล้วจะเป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการหรือผู้มีอำนาจสูงสุดของกิจการ ส่วนผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติควมถ้วนตามที่ พ.ร.บ.การบัญชี 2543 และ 2547 กำหนดไว้เท่านั้น
. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ประกอบด้วย | ||||||||||||||||
|
ผู้ทำบัญชี
. ผู้ทำบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะกระทำในฐานะลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม ได้แก่บุคคลต่อไปนี้
(1) กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
– ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
(2) กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ
– หัวหน้าสำนักงาน กรณีสำนักงานมิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
– ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชีกรณีสำนักงานจัดตั้งในรูปคณะบุคคล
– กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีสำนักงานจัดตั้งในรูปนิติบุคคล
(3) กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ
(4) ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี (ในกรณีที่ “ผู้ทำบัญชี” รับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2543 ข้อ 7(3))
. ผู้มีสิทธิทำบัญชีตาม พรบ.การบัญชี นั้นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี โดยต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมพัฒฯ และเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี หรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีต่อสภาพวิชาชีพบัญชีด้วย (สำหรับ บจก. และ หจก. ที่มี ทุนไม่เกิน 5 ล้าน รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้าน และสินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านสามารถให้ผู้จบการศึกษาระดับ ปวส สาขาการบัญชีทำบัญชีได้)
สอบถามเพิ่มเติม โทร 085-361-3223 (พงศ์พันธุ์)