อากรแสตมป์ที่เป็นดวงๆ แบบนี้ เป็นวิธีการเก็บภาษีอีกรูปแบบหนึ่งนะครับ ไม่ใช่แสตมป์สำหรับส่งไปรษณีย์อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจผิดกัน และที่สำคัญ เมื่อใช้อากรแสตมป์แล้ว ต้องขีดคร่อมที่อากรแสตมป์ด้วยนะครับจึงจะถือว่าสมบูรณ์
อากรแสตมป์ (Stamp Duty)
เป็นภาษีในรูปแบบหนึ่ง ที่รัฐจัดเก็บจากการกระทำตราสาร(เอกสารแสดงสิทธิ์ต่างๆ) หรือ ทำสัญญา
• ภาระภาษี จะเกิดขึ้นเมื่อกระทำตราสารหรือสัญญานั้นเสร็จสมบูรณ์ คือ การลงลายมือชื่อคู่สัญญา*
• ต้องเสียอากรแสตมป์ภายใน 15 วัน หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์
• จัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์
• ตราสารหรือสัญญาที่กฎหมายกำหนด เช่น
• ตราสารหรือสัญญาที่ทำในประเทศไทย
• ตราสารหรือสัญญาที่ทำในต่างประเทศ แล้วนำกลับเข้ามาในประเทศไทย (ต้องเสียอากรภายใน 30 วัน)
การเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น
“สัญญาเช่าที่ดิน ผู้ให้เช่า เป็นผู้เสียอากร”
“สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ เป็นผู้เสียอากร”
วิธีการเสียอากรแสตมป์
ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์
• อากรแสตมป์เป็นเพียงเครื่องมือในการจัดเก็บภาษี ไม่ใช่กฎหมาย
• สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร
• สัญญาปากเปล่าไม่มีหนังสือ ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ (อากรแสตมป์ จัดเก็บจากการทำสัญญาเป็นหนังสือเท่านั้น)
• การไม่เสียอากร ไม่ได้ทำให้ตราสารนั้นไร้ผลทางกฎหมาย แต่มีผลทำให้ตราสารหรือตราสารนั้นใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้*
• อากรแสตมป์ไม่ใช่ดวงตราไปรษณียากร ไม่สามารถนำไปใช้ปิดซองจดหมายได้
บทความโดย : dharmniti
รวมบทความบัญชีมากถึง 1,000 : https://www.myaccount-cloud.com/Article/List/16128