การวิเคราะห์ สภาพคล่องภายใน กิจการ (Internal Liquidity)

การวิเคราะห์ สภาพคล่องภายใน กิจการ (Internal Liquidity)

ก่อนที่เราจะไปพูดถึงเรื่อง การวิเคราะห์สภาพคล่องภายในกิจการ (Internal Liquidity) หรือ อัตราส่วน สภาพคล่องภายใน (Internal Liquidity Ratio) เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า “สภาพคล่อง” กันก่อน

 

สภาพคล่อง คือ ความสามารถที่ทรัพย์สินใดๆจะเปลี่ยนเป็นเงินสด (แอบไปเปิดพจนานุกรมมาเลยนะ) ทรัพย์สินที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายและรวดเร็ว ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง

 

เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์สภาพคล่องภายในกิจการ (Internal Liquidity) ก็คือ การวิเคราะห์ความสามารถของกิจการในการเปลี่ยนทรัพย์สินที่มีอยู่ไปเป็นเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสามารถในการชำระภาระผูกพัน(หนี้) ระยะสั้นของกิจการในอนาคต

 

หรือถ้าสรุปง่ายๆก็คือ ถ้าอยู่ดีๆเกิดวิกฤตขึ้นมา และเจ้าหนี้กลัวว่าเราจะเบี้ยว จึงเรียกให้เราชำระหนี้ทันที เราจะมีความสามารถในการชำระหนี้เหล่านั้นมากแค่ไหน เราลองไปดูกันว่าการวิเคราะห์สภาพคล่องภายในกิจการ (Internal Liquidity) มีอัตราส่วนสำคัญอะไรบ้าง

 

อัตราส่วนสภาพคล่องภายใน (Internal Liquidity Ratio)

  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว (Quick Ratio)
  • อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio)
  • อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Receivables Turnover)
  • อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
  • อัตราหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (Payables Turnover)
  • วงจรการหมุนเวียนของเงินสด (Cash Conversion Cycle)

ตอนแรกผมคิดว่าจะเขียนบทความ อัตราส่วนสภาพคล่องภายใน ให้จบในบทความเดียว แต่เนื่องจากมีหลายอัตราส่วน และเมื่อยกตัวอย่างประกอบความเข้าใจแล้ว มันน่าจะทำให้บทความนี้ยาวมากๆ ดังนั้นจึงจะแยกเขียนอีก 2 บทความ เพื่อไม่ให้ยาวจนเกินไป เดี๋ยวอ่านแล้วจะเบื่อซะก่อน สามารถติดตามต่อได้ใน อัตราส่วนสภาพคล่องภายใน (Internal Liquidity Ratio) (1) และ อัตราส่วนสภาพคล่องภายใน (Internal Liquidity Ratio) (2) นะครับ

 2604
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์