การทำประกันภัยให้กับลูกจ้างถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่
นายจ้างที่มีสวัสดิการทำประกันภัยให้กับลูกจ้างพนักงานนั้น มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เงินค่าประกันภัยดังกล่าวถือดเป็นเงินได้ของพนักงานที่ต้องนำมาคำนวนเพื่อการเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีด้วยหรือไม่นั้น เราต้องทำการพิจารณาประเด็นต่างๆดังนี้ก่อน
1.ตรวจสอบนโยบายของบริษัทฯ ว่าได้มีการประกาศเป็นนโยบายให้สวัสดิการในเรื่องนี้ไว้หรือไม่ หากมีประกาศไว้ว่าให้มีการประกันภัยให้กับพนักงานของบริษัท การให้สวัสดิการดังกล่าวจะต้องเป็นการให้สวัสดิการกับพนักงานทุกคนโดยทั่วไป ไม่ได้เป็นการให้สวัสดิการเฉพาะบุคคล
2.แต่เดิมนั้นไม่ว่าจะเป็นการให้สวัสดิการกับพนักงานทุกคนโดยทั่วไป ไม่ได้เป็นการให้สวัสดิการเฉพาะบุคคล ก็ล้วนถือเป็นเงินได้ของพนักงานทั้งนั้น ต้องนำมาคำนวนเงินได้ทั้งสิ้น แต่เริ่มในปี 2550 นี้ ไม่ต้องนำมาเป็นเงินได้ของพนักงานอีกแล้ว แต่ต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น
3.การจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ทำให้กับพนักงานนั้น จะต้องเป็นการจ่ายเงินให้กับบริษัทประกันภัยที่ตั้งขึ้นในประเทศเท่านั้น บริษัทที่ตั้งขึ้นในต่างประเทศ ต้องนำกลับมาเป็นรายได้ของพนักงาน
4.กรมธรรม์ประกันภัยที่ทำให้กับพนักงานนั้นจะต้องเป็นกรมธรรม์หมู่เท่านั้น ประกันเป็นรายบุคคลไม่ได้
5.อายุของกรมธรรม์จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี จะผูก 5 ปี 10 ปี ไม่ได้
6.การประกันภัยดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นการประกันทางด้านสุขภาพการรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่รวมถึงการประกันชีวิต หากมีการนำเอาประกันชีวิตเข้ามาพ่วงไว้ด้วย จะถือว่าเป็นการประกันชีวิตทันที ก็จะไม่เข้าเงื่อนไข ต้องนำกลับมาคำนวนเป็นรายได้ของพนักงาน
7.การให้สวัสดิการประกันสุขภาพดังกล่าวนั้น ในนโยบายของบริษัท หากเขียนเอาไว้ให้ครอบคลุมถึงคู่สมรสบุตรธิดาและบุพการีของพนักงานด้วย( บุพการี หมายถึง บิดามารดาปู่ย่าตายายของพนักงาน และของคู่สมรส) ก็ให้มีผลรวมได้ด้วยตามนโยบายนั้นๆ แต่ประกันดังกล่าว ต้องไม่รวมประกันชีวิตอีกเช่นเคย แต่ทั้งนี้จะได้รับการยกเว้นทั้งสิ้นไม่เกิน 15,000 บาท (โดยที่บิดามารดาพนักงานและของคู่สมรสรวม 4 คนได้ไม่เกิน 15,000 บาท) เงื่อนไขเพิ่มเติม บิดามารดาพนักงานและของคู่สมรสจะต้องมีรายได้ไม่พอยังชีพ และมีหลักฐานแสดงความเป็นบิดามารดาที่แท้จริง (บุญธรรม ไม่ได้)
8.การรักษาพยาบาลนั้นอาจให้การรักษาพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน
กว่าจะหักได้เหงื่อตกเลย . . .
บทความโดย : MichaelShaw
ที่มา : www.ThaiTaxINFO.com