ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 2/2558 (22 ต.ค. 2558)

ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 2/2558 (22 ต.ค. 2558)

โดย..วัลดี แก้วพรหม

 
          "ภาพรวมเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 2/2558 ธุรกิจขยายตัว 2.32%”
 
          เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 2/2558 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขยายตัวร้อยละ 2.8 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการหดตัวต่อเนื่องของการผลิตในภาคเกษตรโดยเฉพาะหมวดพืชผล ขณะที่ภาคนอกเกษตรชะลอลง เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรมที่หดตัวประกอบกับสาขาก่อสร้างชะลอลง ส่วนภาคบริการต่าง ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น
 
          ส่วนเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 2/2558 จากข้อมูลรวบรวม (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 11,125 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์ 6,987 แห่ง (ภาคการเกษตร 3,848 แห่ง นอกภาคการเกษตร 3,139 แห่ง) และกลุ่มเกษตรกร 4,138 แห่ง มีสมาชิกผู้รับบริการรวม 12.78 ล้านคนเศษ คิดเป็น 19.63 % ของประชากรไทยทั้งประเทศ พบว่า เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยขยายตัว 2.32 % เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวเล็กน้อยที่ 1.08 % ผลมาจากธุรกิจการรับฝากเงินเพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายลดลง
 
          สภาพทั่วไป จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรขยายตัวร้อยละ 0.14 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก มีจำนวนสมาชิกโดยรวมขยายตัวร้อยละ 3.57 มีเงินทุนดำเนินงานขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนภายใน ร้อยละ 75 และทุนจากภายนอกร้อยละ 26
 
 
  รองลงมาเป็น ประเภทสหกรณ์การเกษตรมีปริมาณธุรกิจเท่ากับ 3.08 แสนล้านบาท (15.15%)
          ด้านสมาชิกสหกรณ์ มีเงินออมเฉลี่ย 126,923 บาทต่อคน (ลดลง 2.49%) และมีหนี้สินเฉลี่ย 141,100 บาทต่อคน (ลดลง 3.05%) โดยสมาชิกภาคการเกษตรมีเงินออมเฉลี่ย 16,124 บาทต่อคน ขณะที่มีหนี้เงินกู้ยืมเฉลี่ย 22,470 บาทต่อคน (หนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.39 เท่าของเงินออมเฉลี่ย) ส่วนนอกภาคการเกษตรมีเงินออมเฉลี่ย 295,460 บาทต่อคน และมีหนี้เงินกู้ยืมเฉลี่ย 322,310 บาทต่อคน (หนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.09 เท่าของเงินออมเฉลี่ย) ส่วนกลุ่มเกษตรกรมีเงินออมเฉลี่ย 1,101 บาทต่อคน และมีหนี้เงินกู้ยืมเฉลี่ย 2,201 บาทต่อคน โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 2 เท่าของเงินออมเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ควรเสริมสร้างสมาชิกให้มีวินัยทางการเงินด้วยการวางแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน มีการจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายในครัวเรือนเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้สมาชิกมีเงินเหลือออมเพิ่มขึ้น และสามารถชำระหนี้สินคืนให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต่อไป
 
          1. กลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร (เกษตร/ประมง/นิคม) จำนวน 3,848 แห่ง สมาชิก 6.73 ล้านคนเศษ "ธุรกิจขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.33 จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยบวกมาจากธุรกิจการให้เงินกู้ยืมและธุรกิจการรับฝากเงิน กำไรเพิ่มขึ้น ส่วนสมาชิกมีอัตราการก่อหนี้สินเฉลี่ยมากกว่าการออมเงินเฉลี่ย”
 
          ภาคการเกษตร มีทุนกว่า 2.32 แสนล้านบาท มีธุรกิจลงทุน 5 ธุรกิจ มีมูลค่ารวม 3.25 แสนล้านบาทเศษ ขยายตัวร้อยละ 0.33 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจการให้เงินกู้ยืมมากสุด 9.12 หมื่นล้านบาท (28.07%) หรือเฉลี่ย 13,540 บาทต่อคน รองลงมา ธุรกิจรวบรวมผลิตผล/แปรรูป (27.08%) ธุรกิจรับฝากเงิน (22.55%) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (22.13%) และ ธุรกิจให้บริการ (0.17%) ตามลำดับ มีรายได้รวม 1.86 แสนล้านบาท (ลดลง 2.20%) ส่วนค่าใช้จ่ายรวม 1.81 แสนล้านบาท (ลดลง 2.35%) คิดเป็นร้อยละ 97.50 ของรายได้รวมทั้งสิ้น มีกำไรสุทธิรวม 4,647.71 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3.95%) ส่วนสมาชิกมีเงินออมเฉลี่ย 16,124 บาทต่อคน (เพิ่มขึ้น 3.35%) ขณะที่หนี้สินเฉลี่ย 22,470 บาทต่อคน (เพิ่มขึ้น 3.50%) โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.39 เท่าของเงินออมเฉลี่ย
 
          2. กลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตร (ร้านค้า/บริการ/ออมทรัพย์/เครดิตยูเนี่ยน) จำนวน 3,139 แห่ง สมาชิก 5.12 ล้านคนเศษ "ธุรกิจขยายตัวร้อยละ 2.80 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยมาจากธุรกิจการรับฝากเงินเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลด กำไรเพิ่ม ส่วนสมาชิกอัตราการออมเงินเฉลี่ยและการก่อหนี้เฉลี่ยลดลงเล็กน้อย”
 
          นอกภาคการเกษตร มีทุนรวมกว่า 2.21 ล้านล้านบาท มีธุรกิจลงทุน 5 ธุรกิจ มูลค่ารวม 1.70 ล้านล้านบาทเศษ ขยายตัวร้อยละ 2.80 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยบวกที่สำคัญมาจากการธุรกิจการรับฝากเงินและธุรกิจรวบรวมผลิตผล/แปรรูปเพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจการให้เงินกู้ยืมและธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายลดลง โดยธุรกิจการให้เงินกู้ยืมมีมูลค่ามากที่สุด 1.08 ล้านล้านบาท (63.35%) หรือเฉลี่ย 2.10 แสนบาทต่อคน รองลงมาเป็น ธุรกิจการรับฝากเงิน (35.75%) มีรายได้รวม 1.47 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น 0.78%) แต่ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม 8.19 หมื่นล้านบาทเศษ (ลดลง 12.04%) และมีกำไรสุทธิรวม 6.50 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 23.45%) ส่วนสมาชิกมีเงินออมเฉลี่ย 295,460 บาทต่อคน (ลดลง 0.05%) หนี้สินเฉลี่ย 322,310 บาทต่อคน (ลดลง 0.73%) โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.09 เท่าของเงินออมเฉลี่ย
 
         3.กลุ่มเกษตรกร จำนวน 4,138 แห่ง สมาชิก 9.30 แสนคนเศษ
           "ธุรกิจหดตัวร้อยละ 12.88 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมาจากธุรกิจลงทุนเกือบทุกด้านลดลง รายได้ลด กำไรหด สมาชิกมีอัตราการออมเงินเฉลี่ยและการก่อหนี้เฉลี่ยลดลง”
 
          กลุ่มเกษตรกร มีทุนรวมทั้งสิ้น 3.74 พันล้านบาท มีธุรกิจลงทุน 5 ธุรกิจ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 8.89 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ 12.88 เทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมาจากธุรกิจลงทุนลดลงเกือบทุกด้าน ยกเว้น ธุรกิจการให้เงินกู้ยืมและธุรกิจการให้บริการเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจรวบรวมผลิตผล/แปรรูปมีมูลค่ามากสุด 5.78 พันล้านบาท (65.02%) หรือเฉลี่ย 6,214 บาทต่อคน รองลงมาคือ ธุรกิจสินเชื่อ (20.65%) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (11.44%) มีรายได้รวมกว่า 7.2 พันล้านบาท (ลดลง 16.13%) ส่วนค่าใช้จ่ายรวมกว่า 7.1 พันล้านบาท (ลดลง 16.30%) มีกำไรสุทธิรวม 119.95 ล้านบาท (ลดลง 5.08%) ส่วนสมาชิกมีเงินออมเฉลี่ย 1,101 บาทต่อคน และมีหนี้สินเฉลี่ย 2,201 บาทต่อคน โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 2 เท่าของเงินออมเฉลี่ย ค่อนข้างสูง
 
 
          ทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสหน้าคาดการณ์ว่าธุรกิจจะขยายตัวเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องที่ผ่านมาจากปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมพื้นที่หลายจังหวัด และราคาพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญยังอยู่ในระดับต่ำ เป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อรายได้ และกำลังซื้อในการอุปโภคและบริโภคให้ลดน้อยลง ดังนั้น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน ให้ความสำคัญของการสะสมทุนสำรอง รวมทั้ง มีการบริหารจัดการที่ดี โดยมีระบบการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการของตลาด มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในพื้นที่ให้เหมาะสม การจัดหาตลาด เพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจน การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ให้สหกรณ์เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เป็นที่พึ่งพาของสมาชิกต่อไป
 
 641
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์