หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ภาคสหกรณ์ไทย (5 ต.ค. 2558)

หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ภาคสหกรณ์ไทย (5 ต.ค. 2558)

โดย สุกัญญา มูลกลาง
 
          แหล่งข่าวจาก ธปท. กล่าวว่า ปัจจุบันการก่อหนี้ใหม่ของครัวเรือนไทยเริ่มชะลอลง แต่มีแนวโน้มหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้น และสถาบันการเงินเริ่มเห็นสัญญาณเหล่านี้ ทำให้ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ที่ผ่านมาจากการประเมินของ ธปท.มองว่าโครงการรถยนต์คันแรกที่เป็นตัวกระตุ้นเกิดภาระหนี้สินครัวเรือนมาก น่าจะเริ่มทยอยหยุดอายุลงในปลายปี 59 หากเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีขึ้นจะส่งผลให้ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนลดลงได้
          ขณะที่รัฐบาลมีมาตรการบรรเทาผลกระทบในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน โดยมีโครงการปลดหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ และขยายระยะเวลาชำระหนี้สำหรับเกษตร การพักหนี้และการลดดอกเบี้ย สำหรับหนี้สินครู การจัดตั้งนาโนไฟแนนซ์และโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย อย่างไรก็ดี การกู้ยืมเงินนอกระบบที่ถูกนำเข้าสู่ระบบบัญชีหนี้สินครัวเรือน ก็จะทำให้มีการบริหารจัดการและการติดตามอย่างเป็นระบบมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้การตรวจสอบและการคุ้มครองลูกหนี้สามารถดำเนินการได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง และมีความเป็นธรรมกับลูกหนี้มากขึ้น
          ในปี 2557 ภาคสหกรณ์ไทยในภาพรวม จำนวนทั้งสิ้น 10,831 แห่ง แยกเป็นภาคการเกษตร 3,733 แห่ง นอกภาคการเกษตร 3,029 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 4,069 แห่ง สมาชิกรวมทั้งสิ้น 12.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.65 1 ของประชากรทั้งประเทศ สินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 2.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 9.74 ธุรกิจลงทุนโดยรวมมีมูลค่าทั้งสิ้น 2.0 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.61 ธุรกิจที่มีสัดส่วนสูงสุดในระหว่างปีได้แก่การให้สินเชื่อแก่สมาชิกจำนวน 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.58 ของมูลค่าธุรกิจทั้งสิ้น ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.62 ซึ่งในจำนวนนี้พบว่า มีสินเชื่อด้อยคุณภาพไม่สามารถชำระได้ตามกำหนดหรือ (NPL) จำนวน 43,131.36 ล้านบาท ปีก่อน 33,608.76 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 28.33 ซึ่งสัดส่วนของ NPL ต่อการให้สินเชื่อรวมคิดเป็นร้อยละ 2.41หากเปรียบเทียบกับ NPL ของสถาบันเกษตรกับระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 15.56 2 (ยอด NPL คงค้าง ณ วันสิ้นปีของระบบธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 277,200 พันล้านบาท ปีก่อน 265,600 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.60 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.37 )  

     1 ที่มา กรมการปกครอง กระทรวงมหาไทย ปี 2557 จำนวนประชากรทั้งสิ้น 65,124,716 คน 
     2 ที่มา ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2557 (เรื่อง ผลการดาเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ปี 2557)


จากตาราง พบว่า ยอดหนี้คงค้างเงินให้กู้ทั้งสิ้น จำนวน 1,785,468.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 266,135.60 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.52 ในจำนวนนี้เป็นเงินให้กู้แก่สมาชิกของสหกรณ์เองมากที่สุด จำนวน 1,658,675.95 ล้านบาท หรือร้อยละ 92.90 ของจำนวนเงินให้กู้ทั้งสิ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของการปล่อยกู้ของสหกรณ์แต่ละประเภท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า เพิ่มขึ้นมากที่สุดจากสหกรณ์นอกภาคการเกษตร 1,113,986.17 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างหนี้เงินกู้ทั้งสิ้น 1,651,218.42 ล้านบาท รองลงมาเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร 85,832.35 ล้านบาท จากยอดคงค้างทั้งสิ้น 132,671.67 ล้านบาท และกลุ่มเกษตรกร 1,832.40 ล้านบาท จากยอดคงค้างทั้งสิ้น 1,578.47 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ส่วนใหญ่เป็นของสหกรณ์ในภาคการเกษตร ร้อยละ 1.65 ของลูกหนี้สิ้นปี ทั้งนี้เนื่องจากลูกหนี้ภาคการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก จึงมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้ อาทิ ภาวะภัยแล้ง ประกอบกับเป็นช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว และการปรับตัวของการเพาะปลูกข้าวที่ลดลง หลังจากยุติมาตรการจำนำข้าว รวมถึงการสำรองเงินออมของสมาชิกมีน้อยจากภาระการใช้คืนหนี้และความจำเป็นใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนสหกรณ์นอกภาคการเกษตรมีเพียงร้อยละ 0.74 เพราะสามารถชำระหนี้คืนได้ตามกำหนดมากกว่า เนื่องจากลูกหนี้ส่วนใหญ่มีรายได้ประจำที่แน่นอนสหกรณ์สามารถหักชำระหนี้ ณ ที่จ่ายได้ทันที

 

 

 

          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยในรอบปี 2557 โดยหนี้สินภาคครัวเรือนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง แม้มีแนวโน้มชะลอลง สำหรับแนวโน้มการก่อหนี้ครัวเรือนในปี 2558 คาดว่ามูลค่าหนี้ครัวเรือนจะยังเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว ส่วนภาวะหนี้สินของภาคสหกรณ์ไทย จากตารางการเปรียบเทียบสินเชื่อรวมและหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในรอบ 3 ปี ของสถาบันสหกรณ์และเกษตรกร พบว่า ทั้งสินเชื่อและหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีการขยายตัวไปในทิศทางเดียวกัน คือ สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 17.52 และหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ขยายตัวร้อยละ 2.41 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่า สหกรณ์ต้องเฝ้าระวังและต้องดำเนินการพิจารณาในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น อีกทั้งต้องเร่งสร้างวินัยและส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องให้กับสมาชิก โดยการปลูกฝังพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างประหยัด สมเหตุสมผล ตลอดจนส่งเสริมการทำอาชีพเสริมเพื่อการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว

https://www.cad.go.th

 747
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์