ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยตลอดปี ๒๕๕๗ (20 มี.ค. 2558)

ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยตลอดปี ๒๕๕๗ (20 มี.ค. 2558)

 
กลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
         
          ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทย ปี 2557 ช่วงแรกของปียังคงเจอกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงไม่
แน่นอน ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพปรับตัวสูง รวมทั้งราคาพืชผลการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ตลอดจนภัยทาง
ธรรมชาติโดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดที่ส่งผลกระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมา ใน
        ภาพรวมภาคสหกรณ์ไทยที่รวบรวมจากรายงานของผู้สอบบัญชีที่รับรองงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วจำนวน  10,831 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์จำนวน 6,762 แห่ง (ภาคเกษตร 3,733 แห่ง นอกภาคเกษตร 3,029แห่ง) และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4,069 แห่ง  มีจำนวนสมาชิกรวมทั้งสิ้น 12.15 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.75 ของประชากรทั้ง
 ประเทศ มีทุนดำเนินงานรวมเท่ากับ 2.26 ล้านล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจรวม 1.95 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.06 ของ GDP ได้ดังนี้ 
               สภาพการดำเนินงานของภาคสหกรณ์ไทยปัจจุบัน จำนวนสมาชิกภาคสหกรณ์ไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ1.08 สมาชิกค่อนข้างมากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงในสถานะที่เป็นทั้งเจ้าของและผู้ใช้บริการ ส่งผลให้ทุนดำเนินงานมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุนภายในมาจากทุนเรือนหุ้นที่สมาชิกเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด กับเงินฝากที่สมาชิกเป็นผู้ฝากรายใหญ่ อีกทั้งการดำเนินการอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการสหกรณ์ที่เป็นตัวแทนจากสมาชิก นับเป็นจุดแข็งของภาคสหกรณ์ไทย
        
        การจัดการธุรกิจของภาคสหกรณ์ไทย ปี 2557 พบว่า ดำเนินธุรกิจแบบอเนกประสงค์มี 5 ธุรกิจให้บริการสมาชิกสหกรณ์ธุรกิจโดยรวมหดตัวร้อยละ 1.61 ลดลงจากปีที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 5.18 ภาคสหกรณ์ไทยจัดการธุรกิจด้านการให้เงินกู้ยืม (สินเชื่อ) มากสุด 1.20 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.58 ของปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น รองลงมา ธุรกิจรับฝากเงิน (28.83%) ธุรกิจรวบรวมผลิตผลและแปรรูป (5.04 %) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (4.47%)และธุรกิจการให้บริการ (0.08%) ตามลำดับ หากพิจารณาการจัดการธุรกิจเป็น
รายประเภท พบว่า สหกรณ์นอกภาคการเกษตร มีปริมาณธุรกิจสูงสุด 1.6 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 82.84 เฉลี่ยตกเดือนละ 134,705 ล้านบาทต่อเดือน รองลงมา สหกรณ์ในภาคเกษตร เท่ากับ 3.2 แสนล้านบาท (16.64%)และกลุ่มเกษตรกร เท่ากับ10,221ล้านบาท(0.52%)ตามลำดับ           
         ผลการดำเนินงานโดยรวม รายได้หดตัวร้อยละ 1.22 ส่วนค่าใช้จ่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.19   ส่งผลให้กำไรหดตัวร้อยละ 16.13 เทียบจากปีที่แล้ว โดยมีระบบการควบคุมภายในอยู่ในระดับที่ดี-ดีมากลดลงจากปีก่อนเช่นกัน ซึ่งคณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ ต้องพิจารณาถึงขีดความสามารถในการบริหารธุรกิจให้มี
   ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยสหกรณ์ภาคการเกษตรมีรายได้หดตัวร้อยละ 7.53 ใกล้เคียงกับการหดตัวของค่าใช้จ่ายหดตัวร้อยละ 7.39 เช่นเดียวกับกลุ่มเกษตรกรมีรายได้หดตัวร้อยละ 21.49  และค่าใช้จ่ายหดตัวร้อยละ 21.35 ขณะที่สหกรณ์นอกภาคการเกษตรกลับมีค่าใช้จ่ายขยายตัวร้อยละ 37 มากกว่ารายได้ที่ขยายตัวร้อยละ 11.52 แสดงให้เห็นว่าการควบคุมต้นทุนการบริหารจัดการหรือต้นทุนการผลิตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกประเภทต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากพบว่า มีต้นทุนสูงกว่ารายได้ รวมทั้งเพื่อให้ช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายมีมากขึ้นให้เกิดผลกำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้นในที่สุด 
              
ประสิทธิภาพการบริหารทาง
 
การเงินต้องเพิ่มความเข้มข้นการบริหารจัดการให้มากขึ้น โดยภาคสหกรณ์ไทย มีอัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรในระดับสูงกว่าระดับมาตรฐานอยู่ที่ร้อยละ 52.37 รองลงมา ต่ำกว่ามาตรฐาน (33.75%) และได้มาตรฐานมีเพียง (13.88%) ขณะที่มีอัตราลูกหนี้ชำระได้ตามกำหนดสูงกว่าระดับมาตรฐาน (62.33%) รองลงมา ต่ำกว่ามาตรฐาน (22.92%) และได้มาตรฐานมีเพียง (14.75%) ส่วนอัตราทุนสำรองต่อสินทรัพย์ส่วนใหญ่มีอัตราที่ต่ำกว่าระดับมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 55.65 รองลงมา สูงกว่ามาตรฐาน (27.41%) และระดับมาตรฐาน (16.94%) ตามลำดับ ส่งผลให้ในภาพรวมภาคสหกรณ์ไทยต้องเฝ้าระวังทางการเงินเป็นพิเศษเร่งด่วนอยู่ที่ร้อยละ 9.40
            ภาวะเศรษฐกิจเชิงมิติทางการเงินของภาคสหกรณ์ไทย ปี 2557 พบว่า ภาพรวมส่วนใหญ่ภาคสหกรณ์มีความสามารถในการบริหารจัดการได้ดีพอสมควรจะเห็นได้จาก  ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง(Capital strength) พบว่า พอเพียงและไม่เสี่ยง จากทุนดำเนินงานที่มีจำนวน 2.26 ล้านล้านบาท ขยายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.74 จากเมื่อปีที่แล้ว โดยเป็นทุนของสหกรณ์จำนวนถึง 9.72 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  43.04 และมีเงินกู้ยืมมาจำนวน 6.2 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.45  ทุนสหกรณ์จึงรองรับหนี้เงินกู้ยืมภายนอกได้ 1.57 เท่า  คุณภาพสินทรัพย์(Asset Quality)  โดยรวมมีคุณภาพสร้างรายได้ให้ผลตอบแทนร้อยละ 5.59 สินทรัพย์รวมของภาคสหกรณ์ทั้งสิ้น 2.26 ล้านล้านบาท เป็นลูกหนี้สินเชื่อมากที่สุดจำนวน 1.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80.70 ของสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น ซึ่งลูกหนี้ส่วนใหญ่สามารถชำระหนี้ถึงได้ร้อยละ 78.69 ของหนี้ถึงกำหนดชำระ และมีหนี้ที่ไม่สามารถชำระตามกำหนดได้เพียงร้อยละ 2.37 ของมูลหนี้ทั้งหมด ความสามารถในการบริหารจัดการ(Management Ability)  ของภาคสหกรณ์ซึ่งมีการบริหารจัดการ 5 ธุรกิจหลัก พบว่า สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจรวมจำนวน 1.95 ล้านล้านบาท เฉลี่ย 1.6 แสนล้านบาทต่อเดือน หดตัวร้อยละ 1.61 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากพิจารณาถึงเสถียรภาพทางการเงิน พบว่า ภาคสหกรณ์ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.71 มีความมั่นคงทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง และระดับมั่นคงดี-ดีมาก ร้อยละ 22.70 ขณะที่ระดับที่อ่อนแอมากมีเพียงร้อยละ 8.45  ความสามารถในการทำกำไร(Earning)  พบว่า มีกำไรทุกประเภทสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (ยกเว้นสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน) รายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย และมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นจำนวน 5.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.79 ของรายได้ทั้งสิ้น และคิดเป็นร้อยละ 18.75 ของรายจ่ายทั้งสิ้น  สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity)  พิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างหนี้สินหมุนเวียนต่อสินทรัพย์หมุนเวียน พบว่า หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน 2.22  เท่า  อย่างไรก็ตาม หนี้สินหมุนเวียนเกินกว่าครึ่งเป็นเงินฝากของสมาชิกคิดเป็นร้อยละ 60.99 และลูกหนี้ส่วนใหญ่สามารถชำระได้ตามกำหนดถึงร้อยละ 78.69 ของมูลหนี้ที่ถึงกำหนดชำระทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้หนี้สินหมุนเวียนจะมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากจากสมาชิกซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่สมาชิกทุกคนจะถอนเงินฝากออกไปในครั้งเดียวพร้อมกันจำนวนมากประกอบกับสัดส่วนของจำนวนลูกหนี้ที่สามารถชำระได้ตามกำหนดมีมากกว่าสัดส่วนของลูกหนี้ที่ชำระหนี้ไม่ได้ตามกำหนด  ดังนั้นสภาพคล่องของภาคสหกรณ์ทั้งระบบจึงอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างปลอดภัยแต่ไม่ควรประมาทและต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ ผลกระทบของธุรกิจ (Sensitivity)   มีความเสี่ยงทางธุรกิจหลายด้าน เช่น ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน ค่าแรงขั้นต่ำที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และความเสียหายของผลผลิตอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติหรือการระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนสถานการณ์ทางการเมืองที่เปราะบาง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการบริโภค และการลงทุน ความสามารถในการสร้างรายได้ และทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นสำหรับพืชเศรษฐกิจและพืชพลังงานสำคัญปี 2557 ปริมาณการรวบรวมหดตัวลงเกือบทุกชนิด ยกเว้นข้าวโพดที่
ขยายตัวเพิ่มขึ้น อันเป็นผลกระทบมาจากภัยธรรมชาติ อาทิเช่น ภัยแล้ง และภาวะฝนทิ้งช่วง รวมทั้งราคาพืชผลการเกษตรที่ยังไม่จูงใจ ทำให้เกษตรกรยังไม่มีความมั่นใจในการเพาะปลูก แต่อย่างไรก็ตามพืชดังกล่าวยังเป็นความต้องการของตลาดค่อนข้างมาก คาดการณ์ว่าแนวโน้มปี 2558 คงจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
 
 
 
 
 

         
         บทสรุปภาพรวมเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยปี 2557 หดตัวเล็กน้อยจากปีที่แล้ว ดังนั้น ปีหน้าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป ภาคสหกรณ์ไทยทุกประเภทต้องสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกและนักลงทุนให้ความสำคัญของการสะสมทุนสำรอง ซึ่งเป็นทุนที่มีความมั่นคงและปราศจากภาวะผูกพัน จะช่วยเป็นเกราะป้องกันรองรับผลกระทบที่เกิดจากภาวะธุรกิจผันผวน และต้องพิจารณาหามาตรการเร่งรัดลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา โดยการสร้างอาชีพเสริมรายได้ให้สมาชิก ส่งเสริมแนะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ รวมทั้ง พิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขธุรกิจการให้สินเชื่อ โดยคำนึงถึงขีดความสามารถการชำระหนี้ของสมาชิกเป็นสำคัญ ตลอดจนพิจารณาหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้สัมพันธ์กับรายได้ โดยการหาเครื่องมือการบริหารงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม สอดคล้องกับการก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งอนาคตที่จะต้องเรียนรู้ให้รู้จักตนเอง และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในการแสวงหากลยุทธ์และรูปแบบการดำเนินงาน เข้ามาประยุกต์ใช้ปรับปรุงอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง กำหนดแผนรองรับความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกปัญหาที่เป็นไปได้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและมั่นคงสหกรณ์ต่อไป
 
 716
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์