กลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน |
||||
"ภาพรวมเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาส 3 ของปี 2557 ปรับตัวดีขึ้นแม้ปริมาณธุรกิจโดยรวม 1.96 ล้านล้านบาท หดตัว 0.25 % เมื่อเทียบกับการหดตัวจากไตรมาสที่แล้ว สร้างรายได้และทำกำไร ทั่วประเทศกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5-1.0 ”
|
||||
ภาพรวมเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.6 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากการขยายตัว ร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 2 โดยที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น แต่การชะลอตัวของภาคเกษตร การส่งออกที่ยังลดลง และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ช้าทำให้เศรษฐกิจโดยรวมยังขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ในด้านการใช้จ่ายมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน แต่การส่งออกหดตัวในด้านการผลิต ภาคอสังหาริมทรัพย์กลับมาขยายตัว ภาคเกษตรชะลอตัว ภาคอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้างหดตัวช้าลง และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.1 (QoQ_SA %) เมื่อรวมกับครึ่งแรกของปีซึ่งเศรษฐกิจหดตัว ร้อยละ 0.1 ทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.2 และปี 2557 จะขยายตัว ร้อยละ 1.0 (แหล่งที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทย
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทย ไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 เศรษฐกิจโดยรวมหดตัวร้อยละ 0.25 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2557 ที่หดตัวร้อยละ 1.36 โดยมีปัจจัยสำคัญจากธุรกิจการรวบรวม/แปรรูปผลิตผล รวมถึงการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคการผลิตและบริการ ข้อมูลที่รวบรวมได้จากรายงานการสอบบัญชีที่รับรองงบการเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ณ วันที่ 30 กันยายน 2557) ของภาคสหกรณ์ไทยทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 11,077 แห่ง สหกรณ์ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด (32.60%) แยกเป็นกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร 3,818 แห่ง และกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตร 3,102 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 4,157 แห่ง โดยมีสมาชิกผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 12.21 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.85 ของประชากรทั้งประเทศ สมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางมากที่สุด (33.60 %) มีทุนดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 2.26 ล้านล้านบาท
1. กลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร ธุรกิจหดตัวร้อยละ 0.99 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ที่หดตัวร้อยละ 2.33 เป็นการหดตัวจากปัจจัยด้านการรวบรวม/แปรรูปที่หดตัวร้อยละ 6.30 และด้านการรับฝากเงินหดตัวร้อยละ 1.41 โดยมีมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น 3.25 แสนล้านบาท ธุรกิจรวบรวม/แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรสูงสุดจำนวน 8.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.62 หรือคิดเฉลี่ย 13,462 บาทต่อครัวเรือน รองลงมาธุรกิจสินเชื่อร้อยละ 26.40 ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายร้อยละ 23.39 ธุรกิจรับฝากเงินร้อยละ 22.42 และธุรกิจให้บริการและส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 0.17 ตามลำดับ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1.90 แสนล้านบาท สูงสุดของภาค
|
||||
การรับฝากเงินหดตัวร้อยละ 0.35 และด้านการให้เงินกู้ หดตัวร้อยละ 0.11 จากไตรมาสที่แล้ว โดยลงทุนด้านธุรกิจมีมูลค่ารวมเท่ากับ 1.62 ล้านล้านบาท ธุรกิจให้สินเชื่อยอดสูงสุด 1.11 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 68.77 หรือคิดเฉลี่ย 2.24 แสนบาทต่อครัวเรือน รองลงมา คือ ธุรกิจรับฝากเงินร้อยละ 30.42 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1.34 แสนล้านบาท มากเป็นอันดับสอง รองจากสหกรณ์ภาคการเกษตร ส่วนค่าใช้จ่ายรวม 8.61 หมื่นล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมสูงสุดมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคสหกรณ์ไทย 4.78 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.12 ของกำไรสุทธิรวมทั้งระบบ โดยมีเงินออมเฉลี่ย 272,662 บาทต่อครัวเรือน หดตัวร้อยละ 0.1 หนี้สินเฉลี่ย 308,534 บาทต่อครัวเรือน หดตัวร้อยละ 0.01 โดยหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 1.13 เท่าของเงินออมเฉลี่ย
3. กลุ่มเกษตรกร ธุรกิจหดตัวร้อยละ 4.70 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ที่หดตัวร้อยละ 10.95 ปัจจัยสำคัญมาจากการลงทุนหดตัวเกือบทุกด้าน โดยด้านการรวบรวมและแปรรูปหดตัวร้อยละ 6.22 ด้านการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายหดตัวร้อยละ 3.55 ธุรกิจการให้เงินกู้ (สินเชื่อ)หดตัวร้อยละ 0.38 ยกเว้นธุรกิจการให้บริการ ขยายตัวร้อยละ 3.33 และธุรกิจการรับฝากเงินขยายตัวเช่นกันร้อยละ 1.49 พบว่า ลงทุนกับธุรกิจมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.03 หมื่นล้านบาท ธุรกิจรวบรวม/แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรสูงสุดจำนวน 6.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67.74 หรือคิดเฉลี่ย 12,124 บาทต่อครัวเรือน รองลงมา คือ ธุรกิจสินเชื่อร้อยละ 17.92 ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายร้อยละ 11.39 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 8,962 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายรวม 8,836 ล้านบาท มีกำไรสุทธิรวม 126 ล้านบาท โดยมีเงินออมเฉลี่ย 3,561 บาทต่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 0.03 มีหนี้สินเฉลี่ย 1,701 บาทต่อครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 1.25 มีหนี้สินเฉลี่ยคิดเป็น 2.09 เท่าของเงินออมเฉลี่ย
ธุรกิจหลักของภาคสหกรณ์ หากมองถึงตัวเลขการลงทุนในธุรกิจสำคัญของภาคสหกรณ์ไทย 5 ธุรกิจ เพื่อให้บริการแก่สมาชิก ประกอบด้วย 1) ธุรกิจรับฝากเงิน 2) ธุรกิจให้เงินกู้ยืม(สินเชื่อ) 3) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 4) ธุรกิจรวบรวม/แปรรูปผลิตผล และ5) ธุรกิจการให้บริการอื่น ๆ พบว่า ธุรกิจโดยรวมหดตัวร้อยละ 0.25 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส ที่ 2/2557 ที่หดตัวร้อยละ 1.36 มูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น 1.96 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 16.48 ของจีดีพี ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางมากที่สุด (54.69 %) โดยมีธุรกิจการให้เงินกู้ยืม (สินเชื่อ) สูงสุด เป็นร้อยละ 61.46 ของมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้นของภาคสหกรณ์ไทย หากเจาะลึกลงไปในแต่ละธุรกิจมีรายละเอียด ดังนี้
1) ธุรกิจให้เงินกู้ยืม (สินเชื่อ) ขยายตัวร้อยละ 0.07 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ที่หดตัวร้อยละ 1.80 นับเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญมากต่อการดำรงชีพของมวลสมาชิกสหกรณ์ ใช้บริการค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 61.46 ของมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น มีมูลค่าการให้สินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี เฉลี่ยเดือนละกว่า 1 แสนล้านบาทต่อเดือน พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตร มีปริมาณการให้สินเชื่อสูงสุดเท่ากับ 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.70 ของยอดเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้น โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 3.08 แสนบาทต่อครัวเรือน ส่วน กลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร มีเพียง 8.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.14 ของยอดสินเชื่อรวมทั้งสิ้น และมีหนี้สินเฉลี่ย 21,151 บาทต่อครัวเรือน สำหรับกลุ่มเกษตรกร มีธุรกิจสินเชื่อ 1,840 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของยอดสินเชื่อรวมทั้งสิ้น และมีหนี้สินเฉลี่ย 3,561 บาทต่อครัวเรือน
|
||||
3) ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ขยายตัวร้อยละ 2.02 ชะลอตัวจากไตรมาสที่แล้ว ที่ขยายตัวร้อยละ 1.70 ปัจจัยมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ สมาชิกสหกรณ์ได้รับเงินช่วยเหลือต่าง ๆ จากรัฐบาล มูลค่าการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 8.7 หมื่นล้านบาท หรือคิดเฉลี่ยเดือนละ 7.3 พันล้านบาทต่อเดือน โดย กลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร มียอดการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายสูงสุดเท่ากับ 7.6 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 87.15 ของยอดเงินจัดหาสินค้ามาจำหน่ายทั้งระบบ ขณะที่กลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรมีจำนวนเท่ากับ 1 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.51 ของยอดเงินจัดหาสินค้ามาจำหน่ายทั้งระบบ สำหรับกลุ่มเกษตรกร มีจำนวน 1.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.34 ของยอดเงินจัดหาสินค้ามาจำหน่ายทั้งระบบ
4) ธุรกิจรวบรวม/แปรรูปผลิตผล หดตัวร้อยละ 4.55 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ที่หดตัวร้อยละ 11.86 เป็นการหดตัวสืบเนื่องมาจากที่ได้รับผลกระทบโครงการรับจำนำข้าวที่ผ่านมา มีมูลค่าการรวบรวม/แปรรูปทั้งสิ้น 9.9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเฉลี่ยเดือนละ 8.2 พันล้านบาทต่อเดือน โดยกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร มีปริมาณการรวบรวม/แปรรูปผลิตผลสูงสุดเท่ากับ 8.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.89 ของยอดเงินรวบรวม/แปรรูปทั้งระบบ และกลุ่มเกษตรกร มีจำนวนเท่ากับ 6.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.03 สำหรับ กลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรมีเพียงจำนวน 2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.08 ของยอดเงินรวบรวม/แปรรูปทั้งระบบ
5) ธุรกิจการให้บริการและส่งเสริมการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.48 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ที่ หดตัวร้อยละ 0.18 เนื่องมาจากสหกรณ์ให้บริการส่งเสริมและให้ความรู้ทางการเกษตรกับสมาชิกสหกรณ์มากขึ้น มูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.6 พันล้านบาท หรือคิดเฉลี่ยเดือนละ 138.50 ล้านบาท โดยกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตร มีปริมาณการให้บริการสูงสุดเท่ากับ 1.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.08 ของยอดเงินให้บริการทั้งระบบ ขณะที่กลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตร มีจำนวนเท่ากับ 566 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.05 สำหรับกลุ่มเกษตรกร มีเพียงจำนวน 31 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.87 ของยอดเงินให้บริการทั้งระบบ
บทสรุป ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยไตรมาสที่ 3/2557 เริ่มทรงตัวและปรับตัวดีขึ้นจากที่ ติดลบในไตรมาสที่ 2 เป็นติดลบน้อยลง โดยรวมเศรษฐกิจสหกรณ์ไทย ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่หดตัวร้อยละ 1.36 กำไรโดยรวมหดตัวร้อยละ 0.73 โดยมียอดกำไรรวมทั้งสิ้น 52,442 ล้านบาท นอกภาคเกษตรทำกำไรสูงสุด 47,783 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91% ของกำไรสุทธิทั้งระบบ (เกษตร 4,357 ลบ., ประมง -75 ลบ. นิคม 251 ลบ. ร้านค้า 215 ลบ., บริการ 142 ลบ., ออมทรัพย์ 61,370 ลบ., เครดิตยูเนี่ยน -13,944 ลบ., กลุ่มเกษตรกร 126 ลบ.) รายได้หดตัวร้อยละ 1.39 จากไตรมาสที่แล้ว ส่วนค่าใช้จ่าย 2.8 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84.27 ของรายได้รวมทั้งสิ้น หดตัวเช่นเดียวกัน ที่ร้อยละ 1.51 หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.03 จากไตรมาสที่แล้ว เฉลี่ยครัวเรือนละ 1.43 แสนบาทต่อครัวเรือน ขณะที่เงินออมเฉลี่ยต่อครัวเรือนขยายตัวเช่นกัน ร้อยละ 4.72 จากไตรมาสที่แล้ว เฉลี่ยครัวเรือนละ 1.25 แสนบาทต่อครัวเรือน ดังนั้น สหกรณ์ควรเร่งหามาตรการในการลดหรือประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบางตัวลงเพื่อคงสภาพที่ดีของสหกรณ์ และเพื่อเพิ่มกำไรมากขึ้น โดยพัฒนาสหกรณ์ให้เข็มแข็งและมีประสิทธิภาพ พัฒนาบริการให้มีความหลากหลายและมีมาตรฐาน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมผลักดันให้สหกรณ์เป็นผู้จำหน่ายสินค้าโดยตรงกับผู้นำเข้าในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ สหกรณ์ต้องพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มุ่งมั่นสู่มาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามสหกรณ์ต้องไม่ละทิ้งหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์ ในการช่วยเหลือพึ่งพาและเอื้ออาทรต่อกันในหมู่คณะ ที่สำคัญต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการนำหลัก "ธรรมภิบาล” และหลัก "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทยในภาพรวมทั้งปี 2557 คาดว่าจะทรงตัวหรือขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากปี 2556 อยู่ในช่วงร้อยละ 0.5-1.0 โดยปรับตัวลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม ณ เดือนกันยายน 2556 เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศยังฟื้นตัวได้ช้า มีปัจจัยมาจากผู้บริโภคยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอน ประกอบกับข้อมูลการคาดการณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงในปี 2558 จะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยอาจเกิดเร็วขึ้น ช่วงเวลานานขึ้น และมีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจภาคสหกรณ์ไทย อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลได้มีการวางแผนการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สามารถป้องกันปัญหาอุกทกภัยและภัยแล้ง ในปลายปี 2557 นี้ต่อไป
|
||||
|