นักลงทุนในตลาดหุ้นมีใครบ้าง มีที่มาต่างกันอย่างไร และมีแนวทางการลงทุนกี่ประเภท
ในตลาดตราสารทุน หรือตลาดหุ้น เป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่มีเงินทุนและต้องการที่จะลงทุน เพื่อที่จะแสวงหาผลตอบแทนที่สามารถทดแทนอัตราเงินเฟ้อได้ โดยในตลาดหุ้นนั้นจะมีนักลงทุนมากหน้าหลายตาเข้ามาซื้อขายหุ้นทุกวัน ซึ่งในปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยมากกว่า 50,000 ล้านบาทต่อวัน (ข้อมูล ณ พ.ศ. 2561) หลายคนคงเริ่มสงสัยกันแล้วว่า ใครบ้างที่เข้ามาซื้อขายหุ้นในตลาด และในบทความนี้เราจะมาเล่าถึง “กลุ่มนักลงทุนในตลาดหุ้น” โดยตลาดหุ้นสามารถแบ่งกลุ่มนักลงทุนออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. นักลงทุนกลุ่มสถาบัน
เป็นนักลงทุนที่มาในรูปแบบของกองทุนรวม โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารพอร์ตเงินลงทุน ซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการระดมเงินในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินจากการขายกองทุนรวมให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลสาธารณะ เงินจากการขายประกันภัย หรือแม้แต่เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะระดมทุนมาด้วยวิธีใด กองทุนรวมก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ การแสวงหาผลกำไร การลงทุนของกองทุนรวมแต่ล่ะกองทุนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุน กองทุนรวมจะกำหนดนโยบายการลงทุนไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้สนใจที่จะระดมทุนด้วยได้เลือกลงทุนได้ตามความต้องการ จะมีทั้งกองทุนรวมความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงต่ำ ต่างกันไป
2. นักลงทุนต่างชาติ
นักลงทุนประเภทนี้เป็นนักลงทุนประเทศใดก็ได้ที่ไม่ถือสัญชาติไทย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนกลุ่มนี้ก็จะเป็นนักลงทุนในรูปแบบกองทุนรวมเหมือนกัน เพียงแต่เป็นกองทุนของต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้ถือว่ามีคววามสำคัญต่อตลาดหุ้นไทยมากพอสมควร เพราะถ้าหากนักลงทุนต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก ตลาดหุ้นไทยก็จะมีสภาพคล่องสูงขึ้นและมีเงินเข้ามาหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น มีผลทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามไปด้วย
3. นักลงทุนรายย่อยในประเทศ
เป็นกลุ่มที่มีประชากรสูงที่สุดในกลุ่มนักลงทุนทั้ง 4 กลุ่ม และเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีช่วงของขนาดพอร์ตกว้างที่สุดเลยก็ว่าได้คือ มีมูลค่าเงินลงทุนในพอร์ตตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น หลักหลายล้าน และเป็นนักลงทุนที่ลงทุนด้วยเงินทุนของตนเอง โดยไม่มีการระดมทุนแต่อย่างใด
4. นักลงทุนกลุ่มโบรเกอร์หรือบริษัทหลักทรัพย์
เป็นกลุ่มนักลงทุนที่ใช้เงินทุนของตนเองและไม่มีการระดมทุน แต่จะแตกต่างจากนักลงทุนรายย่อยตรงที่นักลงทุนกลุ่มโบรเกอร์จะมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
สำหรับแนวทางการลงทุนของแต่ละกลุ่มลงทุนนั้นจะแต่ต่างกันออกไป โดยแนวทางการลงทุนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ VI (Value Investor)
เป็นการลงทุนแบบเน้นมูลค่าของกิจการที่แท้จริง และสนใจพื้นฐานของหุ้นเป็นสำคัญ โดยจะเป็นการลงทุนระยะยาว ถือหุ้นนานมากกว่า 3 ปี เพราะถ้าหากลงทุนน้อยกว่า 3 ปี เวลาอาจจะไม่มากพอที่จะทำให้กิจการได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงออกมา ซึ่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่าพบได้มากในกลุ่มนักลงทุนสถาบัน ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นระยะยาว และบางกองทุนอาจจะมีการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานของกิจการด้วย
2. การลงทุนแบบเก็งกำไร
สามารถพบได้ในนักลงทุนรายย่อย เนื่องจากมีเงินทุนน้อย และมีความคาดหวังในอัตราผลตอบแทนที่สูง อย่างไรก็ตามอาจจะมีกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่มีนโยบายการลงทุนแบบเกร็งกำไรได้เช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า กลุ่มนักลงทุนทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ล้วนแต่เป็นกลไกสำคัญของตลาดทุน เพราะทุกกลุ่มมีส่วนช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดทุน ทำให้ตลาดเกิดเสถียรภาพทำให้เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนกลุ่มใดก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ “การแสวงหากำไร
ในตลาดตราสารทุน หรือตลาดหุ้น เป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่มีเงินทุนและต้องการที่จะลงทุน เพื่อที่จะแสวงหาผลตอบแทนที่สามารถทดแทนอัตราเงินเฟ้อได้ โดยในตลาดหุ้นนั้นจะมีนักลงทุนมากหน้าหลายตาเข้ามาซื้อขายหุ้นทุกวัน ซึ่งในปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยมากกว่า 50,000 ล้านบาทต่อวัน (ข้อมูล ณ พ.ศ. 2561) หลายคนคงเริ่มสงสัยกันแล้วว่า ใครบ้างที่เข้ามาซื้อขายหุ้นในตลาด และในบทความนี้เราจะมาเล่าถึง “กลุ่มนักลงทุนในตลาดหุ้น” โดยตลาดหุ้นสามารถแบ่งกลุ่มนักลงทุนออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. นักลงทุนกลุ่มสถาบัน
เป็นนักลงทุนที่มาในรูปแบบของกองทุนรวม โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารพอร์ตเงินลงทุน ซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการระดมเงินในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินจากการขายกองทุนรวมให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลสาธารณะ เงินจากการขายประกันภัย หรือแม้แต่เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะระดมทุนมาด้วยวิธีใด กองทุนรวมก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ การแสวงหาผลกำไร การลงทุนของกองทุนรวมแต่ล่ะกองทุนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุน กองทุนรวมจะกำหนดนโยบายการลงทุนไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้สนใจที่จะระดมทุนด้วยได้เลือกลงทุนได้ตามความต้องการ จะมีทั้งกองทุนรวมความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงต่ำ ต่างกันไป
2. นักลงทุนต่างชาติ
นักลงทุนประเภทนี้เป็นนักลงทุนประเทศใดก็ได้ที่ไม่ถือสัญชาติไทย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนกลุ่มนี้ก็จะเป็นนักลงทุนในรูปแบบกองทุนรวมเหมือนกัน เพียงแต่เป็นกองทุนของต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้ถือว่ามีคววามสำคัญต่อตลาดหุ้นไทยมากพอสมควร เพราะถ้าหากนักลงทุนต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก ตลาดหุ้นไทยก็จะมีสภาพคล่องสูงขึ้นและมีเงินเข้ามาหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น มีผลทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามไปด้วย
3. นักลงทุนรายย่อยในประเทศ
เป็นกลุ่มที่มีประชากรสูงที่สุดในกลุ่มนักลงทุนทั้ง 4 กลุ่ม และเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีช่วงของขนาดพอร์ตกว้างที่สุดเลยก็ว่าได้คือ มีมูลค่าเงินลงทุนในพอร์ตตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น หลักหลายล้าน และเป็นนักลงทุนที่ลงทุนด้วยเงินทุนของตนเอง โดยไม่มีการระดมทุนแต่อย่างใด
4. นักลงทุนกลุ่มโบรเกอร์หรือบริษัทหลักทรัพย์
เป็นกลุ่มนักลงทุนที่ใช้เงินทุนของตนเองและไม่มีการระดมทุน แต่จะแตกต่างจากนักลงทุนรายย่อยตรงที่นักลงทุนกลุ่มโบรเกอร์จะมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
สำหรับแนวทางการลงทุนของแต่ละกลุ่มลงทุนนั้นจะแต่ต่างกันออกไป โดยแนวทางการลงทุนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ VI (Value Investor)
เป็นการลงทุนแบบเน้นมูลค่าของกิจการที่แท้จริง และสนใจพื้นฐานของหุ้นเป็นสำคัญ โดยจะเป็นการลงทุนระยะยาว ถือหุ้นนานมากกว่า 3 ปี เพราะถ้าหากลงทุนน้อยกว่า 3 ปี เวลาอาจจะไม่มากพอที่จะทำให้กิจการได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงออกมา ซึ่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่าพบได้มากในกลุ่มนักลงทุนสถาบัน ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นระยะยาว และบางกองทุนอาจจะมีการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานของกิจการด้วย
2. การลงทุนแบบเก็งกำไร
สามารถพบได้ในนักลงทุนรายย่อย เนื่องจากมีเงินทุนน้อย และมีความคาดหวังในอัตราผลตอบแทนที่สูง อย่างไรก็ตามอาจจะมีกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่มีนโยบายการลงทุนแบบเกร็งกำไรได้เช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า กลุ่มนักลงทุนทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น ล้วนแต่เป็นกลไกสำคัญของตลาดทุน เพราะทุกกลุ่มมีส่วนช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดทุน ทำให้ตลาดเกิดเสถียรภาพทำให้เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนกลุ่มใดก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ “การแสวงหากำไร
http://doithai.com/article/121