TH
TH
EN
062-310-5613
Menu
Home
Product
Sales Order
Purchase Order
Inventory Control
Accounts Receivable
Accounts Payable
General Ledger
Petty Cash
Cheque Receivable
Cheque Payment
Bank Adjustment
VAT & Withholding Tax
Sales Force Automation
Approve Center
Financial Management
Sale Analysis
Purchase Analysis
Audit and Internal Control
Security Administrator
Mobile Apps
API Lazada & Shopee
Work Flow
Pricing
ราคาแพ็กเกจ
เงื่อนไขการให้บริการ
วิธีการชำระเงิน
Service
จองอบรมโปรแกรม
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
การวางระบบบัญชี และการเริ่มต้นใช้งาน
รายละเอียดการ Update Version
นโยบายการรักษาข้อมูล
Customers
Site Reference
Partners สถาบันการศึกษา
More
โครงการเพื่อสังคม
ฟังก์ชันสำหรับสำนักงานบัญชี
เหตุผลที่เลือกใช้ myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย myAccount Cloud
จองอบรมโปรแกรมก่อนซื้อ
News
Blog
Partners
Partners สำนักงานบัญชี
สถาบันการศึกษา
About Us
Our Story
Social Enterprise
Office Location
Our Business
Prosoft Group
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
BLOG myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย
วางแผนใช้จ่ายเงิน
วางแผนใช้จ่ายเงิน
ย้อนกลับ
หน้าแรก
BLOG myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย
วางแผนใช้จ่ายเงิน
วางแผนใช้จ่ายเงิน
ย้อนกลับ
“สงสัยจัง... เงินหายไปไหน”
หลายคนคงเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนุ่มสาววัยทำงานที่หลังเงินเดือนออกแค่ไม่กี่วัน แต่เงินในบัญชีกลับหายเกลี้ยงไปซะเฉยๆ พยายามนึกเท่าไรก็นึกไม่ออกว่าเงินหายไปไหน สุดท้ายที่พอจะทำได้ คือ หยิบเครื่องคิดเลขออกมาบวกลบคูณหารดูว่าเงินที่เหลืออยู่จะพอใช้จนถึงสิ้นเดือนหรือไม่!!!
ไม่ว่าคุณจะมีเงินเดือนหลักหมื่นหรือเรือนแสน แต่หากขาดการวางแผนจัดการเงินทองที่ดี เงินเดือนก็จะเป็นแค่ตัวเลขที่ผ่านมาทักทายบัญชีเงินฝาก แล้วก็จากไปไม่ร่ำลากัน ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างนี้ทุกเดือน ถึงเวลาที่จะรื้อ ปรับ ขยับวิถีชีวิตแบบเดิมๆ พร้อมเริ่มต้นวางแผนใช้จ่ายเงินกันแล้ว
อันดับแรก...
คุณต้องสะกดรอยตามเงินให้เจอก่อน และทางเดียวในโลกนี้
ที่จะช่วยให้คุณรู้ว่าเงินตั้งมากมายหายไปไหน แถมยังช่วยแก้อาการชักหน้าไม่ถึงหลังของคุณได้เป็นอย่างดีก็คือ รู้จักใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของการใช้จ่ายเงิน และ
“จดบันทึกรายรับรายจ่าย”
อย่างสม่ำเสมอ แต่พอพูดถึงการจดบันทึกรายรับรายจ่าย หลายคนอาจบอกว่าน่าเบื่อหน่ายที่สุดในโลก บ้างก็ว่าไม่จำเป็น ละเอียดถี่ยิบเกินไป แถมบางคนมองว่าเป็นการสร้างความยุ่งยากให้ชีวิตเข้าไปอีก
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าการจด
“สิ่งที่คุณซื้อ”
เป็นงานยากเกินกว่าที่คุณจะรับไหว นั่นถือเป็นการยอมรับเป็นนัยๆ ว่า...
คุณควักเงินออกจากกระเป๋าบ่อยมากจนจดไม่ทัน
แต่หากคุณมั่นใจว่าคุณใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้ไปมีเหตุมีผลทั้งนั้น ก็มาลองดูกันสักตั้งจะเป็นไรไป...
วิธีการก็ง่ายแสนง่าย แค่พกสมุดโน้ตเล่มเล็กๆ กับปากกาติดกระเป๋าไว้ แล้วควักออกมาจด จด จดทุกครั้งที่ได้รับเงินมาหรือใช้เงินไป ไม่ว่าเงินก้อนนั้นจะเล็กน้อย (ในสายตาคุณ) ขนาดไหนก็ตาม
ยิ่งเดี๋ยวนี้มีแอพพลิเคชั่นบันทึกรายรับรายจ่ายมากมายให้เลือกใช้บนมือถือ ทำให้สะดวกขึ้นสุดๆ เพราะคุณสามารถจดได้ทุกที่ทุกเวลา
เมื่อมีสมุดกับปากกาแล้ว... เริ่มด้วยการจดตัวเลขรายได้ที่ได้มาในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือเดือนลงไป ทั้งเงินเดือน ค่าเช่า ค่านายหน้า โบนัส จ๊อบพิเศษ รวมถึงรายได้ที่เป็นรายการพิเศษต่างๆ อย่างเงินคืนภาษี เงินคืนจากประกันชีวิต หรือเช็คของขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ
คราวนี้ลองมาดูฝั่งค่าใช้จ่ายกันบ้าง หากสังเกตดีๆ คุณจะพบว่าค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร
“ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน”
คือ ค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ต้องกันไว้ทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นการจ่ายเพื่อตัวเองในการเดินตามความฝันหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น เงินออมเพื่อดาวน์รถ ดาว์บ้าน ท่องเที่ยว แต่งงาน ค่าเล่าเรียนลูก หรือเงินออมเพื่อเกษียณอายุ ฯลฯ ที่สำคัญ... อย่าลืมแยกบัญชีเงินออมและลงทุนออกจากบัญชีใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อป้องกันความสับสนและเผลอถอนเงินออมออกมาใช้
“ค่าใช้จ่ายคงที่”
คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนทุกเดือน เช่น ค่าผ่อน (เช่า) บ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเบี้ยประกัน ค่าผ่อนสินค้า หรือเงินกู้ต่างๆ ฯลฯ
“ค่าใช้จ่ายผันแปร”
คือ ค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละเดือน มีบ้าง ไม่มีบ้าง ไม่แน่นอน ยืดหยุ่นไปตามกิจกรรมที่ทำในเดือนนั้นๆ ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการดำรงชีวิตของแต่ละคน เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่ารักพยาบาล บันเทิงเริงใจ เงินทำบุญ ฯลฯ
หลังจาก จด จด จด สะกดรอยตามเงินครบ 4 สัปดาห์ ลองบวกลบคูณหารค่าใช้จ่ายทั้งหมดในเดือนนั้น แล้วเอาสมุดโน้ตมากางดู คุณจะเห็น
“รูรั่ว”
ของกระเป๋าสตางค์อย่างชัดเจน
ทีนี้แหละ... ดวงตาที่เคยมืดมนก็เริ่มเห็นแสงสว่างขึ้นมาทันใด เมื่อสมุดเล่มเล็กๆ ราคาไม่กี่บาท กลับกลายเป็น
“สมุดสติ”
ที่ช่วยเตือนให้คุณเห็นถึงภัยร้ายจากค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ วันละ 100 200 หรือ 300 ที่ทุกวันรวมกันก็เป็นพันเป็นหมื่นได้
ตอนนี้รู้แล้วสินะว่าเงินของคุณหายไปไหน รู้ลางๆ แล้วใช่ไหมว่าทำไมเงินถึงไม่เคยพอใช้ หรือเพราะเหตุใดคุณถึงได้จนไส้แห้งทุกครั้งก่อนสิ้นเดือน เฮ้อ!!! ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะ “คุณ” นั่นแหละที่เจาะกระเป๋าตัวเอง
อันดับแรก...เอาเป็นว่า... เมื่อมีเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป ยังพอมีหนทางแก้ไขสถานการณ์ได้ ทางแรกคือ
“หั่นรายจ่าย”
อีกทางคือ
“เพิ่มรายได้”
แต่คุณเชื่อหรือไม่... ร้อยทั้งร้อยเลือกที่จะหั่นรายจ่าย เพราะดูเหมือนจะง่ายกว่าหาทางเพิ่มรายได้หลายเท่า เพียงแค่นั่งวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทั้งหมด คุณก็พอจะรู้ว่าส่วนเกินตรงไหนที่สามารถตัดทิ้งได้บ้าง แต่การหารายได้เพิ่มนี่สิ ยากสิ้นดี
การหั่นรายจ่ายที่ง่ายที่สุด คือ
“การหั่นรายจ่ายผันแปรที่ไม่จำเป็นต่างๆ”
อย่างค่าโทรศัพท์มือถือ ซื้อของฟุ่มเฟือย ลดการเที่ยวเตร่ ดูหนังฟังเพลง หรือทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง ฯลฯ ส่วนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มักจะตัดออกไม่ค่อยได้ ทำได้แค่ลดปริมาณการใช้ลง และเอาบิลไปจ่ายให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันค่าปรับจากการชำระล่าช้าเท่านั้น
แต่ใครอยากท้าทายกว่านั้น ลองพิจารณาลดค่าใช้จ่ายคงที่ เพราะแม้จะทำได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ซะหน่อย ยกตัวอย่างเช่น การรีไฟแนนซ์เพื่อให้ภาระดอกเบี้ยลดลง หรือบางครั้งอาจต้องแลกกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของคุณ เช่น หาบ้านใหม่ที่ค่าเช่าถูกลง หรือขายรถแล้วหันมาใช้บริการรถสาธารณะแทน
หากคุณ
“เขียม”
สุดๆ แล้ว เงินก็ยังไม่พอใช้อยู่ดี ก็อาจถึงเวลาที่คุณต้องมองหางานที่ให้ค่าตอบแทนสอดคล้องกับรายจ่ายของคุณหรือหางานพิเศษทำ
เชื่อเถอะว่า... การจดบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้คุณเห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เป็นต้นเหตุของปัญหาในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือเดือนที่ผ่านมาแล้ว ยังช่วยให้คุณปรับวิธีใช้จ่ายเงินและควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายน้อยลง คุณก็จะมีเงินเหลือออมมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังทำให้คุณสามารถวางแผนใช้จ่ายเงินได้อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้นด้วย เช่น ในแต่ละปี คุณรู้ว่าตอนเดือนตุลาคม คุณต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตปีละ 20,000 บาท ฉะนั้น ก่อนจะถึงช่วงเดือนตุลาคม คุณก็สามารถที่จะทยอยสะสมเงินเตรียมไว้ทุกเดือนก่อนได้
ถ้าเห็นข้อดีของการจดบันทึกรายรับรายจ่ายแล้ว ก็ควรทำอย่างจริงจังเสียตั้งแต่วันนี้ เพราะการใช้จ่ายเงินทองอย่าง
“รอบคอบ”
และ
“ระมัดระวัง”
เท่ากับว่าคุณกำลังแง้มประตูไปสู่
“ความมั่งคั่ง”
ในอนาคต
/www.set.or.th/set
1474
ผู้เข้าชม
หมวดหมู่
1145
ทั้งหมด
บัญชีโคตรง่าย
1110
การตลาด
11
บริหารธุรกิจ
12
ซอฟท์แวร์
12
ซอฟท์แวร์บัญชี
11
ซอฟท์แวร์ CRM
1
Get started for free today.
ทดลองใช้งานฟรี
×
โทร
062-310-5613
×
Line
×
ฟอร์มการติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
บริษัท :
เบอร์โทรศัพท์ :
อีเมล :
ประเภทการติดต่อ :
สอบถาม
สนใจสินค้าและบริการ
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
ร้องเรียนบริการ
ดาวน์โหลดโปรแกรม
ทดลองใช้งานออนไลน์ (Online Demo)
อื่นๆ
จองดูสาธิตการใช้โปรแกรม เชียงใหม่
จองดูสาธิตการใช้โปรแกรม กรุงเทพฯ
จองอบรมโปรแกรมก่อนซื้อ
จองอบรมออนไลน์
ร่วมเป็น Partners กับ myAccount
ร่วมเป็น Education กับ myAccount
จองอบรม Online
ลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี
เรื่อง :
รายละเอียด :
รอบอบรมออนไลน์ :
- เลือกรอบอบรมออนไลน์ -
17-18 ธันวาคม 2567 (เวลา 09:00 - 16:00)
22-23 มกราคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 กุมภาพันธ์ 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 มีนาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
23-24 เมษายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
21-22 พฤษภาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
18-19 มิถุนายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
23-24 กรกฎาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
20-21 สิงหาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
17-18 กันยายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
21-22 ตุลาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 พฤศจิกายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
17-18 ธันวาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
ส่งข้อความ
ยกเลิก
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com