การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)
การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)
เป็นการวางแผนและปรับใช้แนวทางปฏิบัติและระบบขององค์กรในอันที่จะบริหารจัดการคนในองค์กรเพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบสูงสุดจากความหลากหลาย และเพื่อลดข้อเสียเปรียบอันเกิดจากความหลากหลายให้เหลือน้อยที่สุด
การที่มีความหลากหลายทำให้เกิด ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในองค์กรยุคปัจจุบันนั้น ก็เพราะว่าการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ประสบผลสำเร็จคือ ความสามารถในการปรับตัว และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ปัจจัยความแตกต่างหลากหลายในองค์การ ที่ทำให้แต่ละองค์การมีความแตกต่างกัน
- อายุของบุคลากรที่ต่างวัย (Generation) สามารถแบ่งได้ ตามรุ่นอายุดังนี้
อายุ 46-62 ปี อยู่ในช่วงวางแผนปลดระวาง ดีดตัวเองออกจากงานง่าย ปัจจุบันเป็นคนกลุ่มใหญ่
ของโลก
อายุ 32-45 ปี ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคํยกับเรื่องความสมดุลระหว่าง
งานและครอบครัว มีลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง
อายุ 16-31 ปี ก้าวเข้ามาสู่วัยทำงาน เกิดมาพร้อมกับความสงสัย เกิดมาพร้อมความเพียบ
พร้อมและความสับสน
อายุ 14 ลงมา สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องคิด เป็นวัยที่ นักการตลาด ชอบมาก
- ความแตกต่างทางเพศ
- สถาบันการศึกษา “สถาบันนิยม”
- ความเป็นภูมิภาคนิยม จังหวัดนิยม “พูดภาษาเดียวกัน คนบ้านเดียวกัน”
- ธรรมชาติของพนักงานที่ทำงานด้วยกันนั้นจะจับกลุ่มก้อนกันก๊กก๊วน ลูกหม้อ คนเก่าคนแก่
- บริษัทลงทุนต่างชาติ ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา นำไปสู่ความขัดแย้ง
- การจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน
- ลักษณะของกลุ่มอาชีพ อัตตาสูง เช่น แพทย์ วิศวกร นักวิชาการ
- รูปแบบการจ้างงานพนักงานที่ต่างกัน แต่ทำงานในหน่วยเดียวกัน เช่น ข้าราชการ พนักงาน อาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ถึงความแตกต่าง
- โครงสร้างขององค์การที่มีการเปลี่ยนแปลง
- ความแตกต่างของพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และไม่เป็นสมาชิก อาจไม่ไว้วางใจกัน
- ลักษณะของหน่วยงานที่พนักงานมีความขัดแย้ง แข่งขันกันเอง กลายเป็นปัญหาการเมืองภายใน แบ่งพรรคแบ่งพวก
- กลุ่มพนักงานที่มีความแตกต่างกันทางด้านฐานะ ตระกูล ค่านิยม รสนิยม
- ด้านลักษณะการทำงาน หรือฐานะตำแหน่งรายได้ที่แตกต่างกัน เช่น เจ้าหน้าที่-อาจารย์
- พนักงานที่มีสุขภาพร่างกายปกติ หรือพิการ นำไปสู่ความไม่เสมอภาค
Competency (สมรรถนะหลัก) ที่มีความจำเป็นสำหรับการบริหารความหลากหลาย มีดังนี้
- การจัดการความเปลี่ยนแปลง (Change Management)
- การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)
- การสร้างความไว้ใจ (Building Trust)
- การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
- การฟังและการซักถาม (Listening and Query)
- ทักษะความร่วมมือช่วยเหลือ (Collaboration Skills)
กลยุทธ์บริหารจัดการด้านความหลากหลายของพนักงาน(Workforce Diversity)
ความหลากหลายของพนักงานมีผลต่อความสำเร็จ หรือกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานก็ได้ จำเป็นที่องค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่ดี หากละเลยไม่ดำเนินการใดๆ จะกลายเป็นปัญหาด้านการบริหารคน เกิดความแตกแยก ขัดแย้งหรือบ่อนทำลายกันเองอย่างแน่นอน
การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของการบริหารความหลากหลายในทางปฏิบัติ เป็นดังนี้
- ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ของความหลายหลาย มีความยึดมั่นผูกพันสูงกับความหลากหลาย สื่อสารไป ทั่วทั้งองค์กร
- นำความหลายหลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ขององค์กร แผนงานการพัฒนาบุคลากรซึ่งต้องสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันด้วย
- เชื่อมโยงความหลากหลายมาสู่ผลการปฏิบัติงาน โดยทำความเข้าใจความหลากหลายและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สามารถจะขยายผลผลิตและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
- มีการวัดผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่มีผลกระทบกับความผันแปรของโครงการ แผนงาน ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย
- ผู้นำมีความแน่วแน่และแสดงความรับผิดขอบในความหลากหลาย เชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและผลตอบแทนที่นำไปสู่ความก้าวหน้าของการบริหารความหลากหลาย
- มีกระบวนการเชิงกลยุทธ์สำหรับระบุและพัฒนาความหลากหลายของคนเก่ง คนดีให้มีศักยภาพเป็นผู้นำองค์การในอนาคต
- มีกระบวนการของการดึงดูดผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลากหลาย
- ให้การสนับสนุนบุคลากรทุกระดับในการขับเคลื่อนความหลากหลายทั้งองค์การ โดยทุกคนเท่าเทียมกัน
- การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรต้องมุ่งเน้นความหลากหลายในองค์การ
- มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เชื่อมโยงเรื่องความสุขในการทำงานให้กับทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มเพศ เป็นต้น
กลยุทธ์การบริหารความหลากหลายของคน
สิ่งที่ฝ่ายบริหารจะต้องยึดถือเป็นหลักในการบริหารเพื่อ ยุติ ลด ป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาความแตกต่างที่หลากหลายคือ
- การผสมกลมกลืน
- การแสวงหาจุดร่วม สงวนความแตกต่าง (แตกต่างแต่ไม่แตกแยก)
- การแบ่งแยกและปกครอง (กระจายการปกครอง ตามหน่วยงานต่างๆ)
เทคนิคที่นำมาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความหลากหลาย
- การวิเคราะห์องค์การ (SWOT Analysis)
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การทำงานเป็นทีม ระบบพี่เลี้ยง
- การสื่อสารอธิบายให้เข้าใจร่วมกัน
- การฝึกอบรม เช่น ทัศนคติเชิงบวก การคิดเชิงรุก
- การปรับปรุงสภาพการจ้าง หรือ สิทธิประโยชน์ (คำนึงถึง WIN WIN)
- การปรับปรุงสถานที่ทำงานหรือสำนักงาน ทำให้คนอยากมาทำงานมากขึ้น
เขียนโดย Acc_sriphat ที่ 16:42