บัญชีอากร

บัญชีอากร



ความหมายของภาษีอากร

    ภาษีอากร กลุ่มนักวิชาการด้านภาษีอากรได้แบ่งความหมายไว้เป็น 2 แนวทางดังนี้ 
    แนวทางที่หนึ่ง ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียอากร 
    แนวทางที่สอง ภาษีอากร คือ เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล 

ความหมายของการบัญชี

    การบัญชี คือ  การจัดการข้อมูลทางการเงิน ซึ่งได้แก่ การเก็บรวบรวมบันทึก จำแนก และสรุปผล เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน 


ความหมายของการบัญชีการเงินและการบัญชีภาษีอากร

    การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือบุคคลภายนอก 
    การบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) เป็นการนำหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานการบัญชีมาปรับให้สอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543

        1.  กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่ 
            -  ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 
            -  บริษัทจำกัด 
            -  บริษัทมหาชนจำกัด 
            -  นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย 
            -  กิจกรรมร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี

        2.  กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี 
            2.1  ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี 
            -  ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันเริ่มทำบัญชี
            -  ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
            -  ต้องปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินโดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่       
            -  ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
            -  ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
            -  ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด 
            -  มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริง และถูกต้องตามกฎหมาย
 
            2.2  ผู้ทำบัญชี
            -  ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
            -  ต้องลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีภาษาไทยกำกับ หากลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือ คำแปลรหัสเป็นภาษาไทยไว้ 

        3.  กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

        4.  บทกำหนดโทษ 
           -  ความผิดที่มีระวางโทษปรับ 
           -  ความผิดที่มีระวางโทษปรับและจำคุก 

กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี
 
            
            1.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
            2.  พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด 
            3.  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 
            4.  ประมวลรัษฎากร 

การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากร

1.  การจัดทำบัญชีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี 

         1.1  การจัดทำบัญชีตามมาตรา 17 วรรคสอง 

           -  ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา 
           -  ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้เสียภาษีอากรทำบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใดๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด 
               อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้ผู้เสียภาษีจัดทำบัญชีและบัญชีพิเศษดังนี้ 
          1)  ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน 
          2)  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่มีธุรกรรมตามประกาศอธิบดีฯ ให้จัดทำบัญชีพิเศษตามแบบที่กำหนด 
 
        1.2  การจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มและรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ 

         1)  ให้ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ โดยให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ (มาตรา 87) 

          -  รายงานภาษีขาย 
          -  รายงานภาษีซื้อ 
          -  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีที่ผลิตและ/หรือขายสินค้า) 

        2)  ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตามที่อธิบดีกำหนด และให้จัดทำโดยแยกตามรายสถานประกอบการ (มาตรา 91/14) 

         -  การจัดทำงบการเงิน 
         -  การตรวจสอบและรับรองบัญชี 

บทความโดย : sites.google

 9494
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์