วิกฤตต้มยำกุ้ง

วิกฤตต้มยำกุ้ง

ทำความรู้จักกับ วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของไทย

         ตลาดหุ้นไทยได้ก่อตั้งมานานมากกว่า 50 ปี ได้เจอกับวิกฤตที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นหลายครั้ง โดยมีวิกฤตต้มยำกุ้งหรือวิกฤตการเงินในเอเชีย ปี 2540 เป็นวิกฤตครั้งที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยส่งผลทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจาก 1,200 จุด สู่ 200 จุด โดยวิกฤตต้มยำกุ้ง กินระยะเวลายาวนานถึง 3 ปี ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นมีมูลค่าลดลง ถึง 3 ล้านล้านบาท

สาเหตุที่ทำให้เกิด วิกฤตต้มยำกุ้ง

1. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
         คือการที่เงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าเงินไหลเข้าประเทศ เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตต่อเนื่องจนถึงในช่วงปี 2530 ดุลัญชีเดินสะพัดก็เริ่มขาดดุล ซึ่งการขาดดุลของบัญชีเดินสะพัดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงในปี 2539 ประเทศไทยประสบปัญหาบัญชีเดินสะพัดขาดดุลถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกิดจากการลดลงของภาคธุรกิจส่งออกโดยลดลงถึง 1.9 % ซึ่งเปรียบเทียนกับปีก่อนหน้าที่ภาคการส่งออกขยายตัวถึง 24 %  แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยใน ขณะนั้นพึ่งพาธุรกิจส่งออกเป็นสำคัญ เมื่อรายได้หลักหายไปจึงมีผลทำให้ระบบเศรษฐกิจชะลอตัวลง
 
2. ปัญหาหนี้สินต่างประเทศ
         ในปี 2532 – 2537 มีการประกาศในเปิดเสรีทางการเงินโดยมีการกำหนดค่าเงินบาทไว้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศง่ายขึ้นเพราะไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยสถาบันการเงินต่างๆในประเทศได้กู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ให้กับนักธุรกิจในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีหนี้สินสูงถึง 109,00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

3. การลงทุนเกินตัว
       ในช่วงปี 2530-2539 อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงคงหนีไม่พ้น อุตสาหกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ เพราะการหาเงินทุนในตอนนั้นเป็นเรื่องง่ายทำให้ มีผู้ลงทุนใน อาคารสูง คอนโด ตึกสำนักงาน กันมากทำให้ราคาที่ดินต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปัจจุบันในกรุงเทพก็ยังมีตึกล้างที่หลงเหลือจากวิกฤตในครั้งนั้นให้เห็นอยู่
 
4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน
         ในช่วงปลายปี 2539 รัฐบาลสั่งปิดสถาบันการเงินมากกว่า 20 แห่ง เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพทางการดำเนินงาน ในตอนนั้นในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารปล่อยกู้ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ตรวจสอบผู้กู้ให้ละเอียดในด้านความสามารถในการจ่ายหนี้ ทำให้เกิดหนี้เสียมากขึ้น ทำให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินขาดสภาพคล่อง ทำให้ NPL สูงถึง 52.3 % ของสินเชื่อรวม ในปี 2542
 
5. ความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบาย
         ในปี 2536 ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ ที่มีการอนุญาตให้เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี โดนไม่ได้มีการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบความละหลวมในการปล่อยกู้ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีผลทำให้ประเทศขาดเสถียรภาพในระบบการเงิน
 
6. การโจมตีค่าเงินบาท
       จากปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกินเวลานาน ทำให้เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาโจมตีค่าเงินบาทไทย ซึ่งเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่ที่ระดมเงินทุนเข้ามาเพื่อเก็งกำไร ค่าเงิน โดนจัดตั้งกองทุนชื่อว่า Hedge Funds ซึ่งดูแลโดย จอร์ต โซรอส โดยอาศัยข้ออ้างทางเศรษฐกิจ ปล่อยเขาลืมว่าจะมีการลดค่าเงินบาท
 

บทความโดย : http://doithai.com

รวมบทความบัญชีมากถึง 1,000 : https://www.myaccount-cloud.com/Article/List/16128

 36366
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์