เจาะลึกการบริหาร 'วิกฤตธุรกิจ' ให้อยู่รอดในยุควิกฤตโควิด-19

เจาะลึกการบริหาร 'วิกฤตธุรกิจ' ให้อยู่รอดในยุควิกฤตโควิด-19

        จากความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของประชาชน การจำกัดพื้นที่และการเดินทางเพื่อควบคุมโรคระบาดโดยภาครัฐ ส่งผลโดยตรงต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การขาดความต่อเนื่องของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Disruption) กระทบต่อเนื่องสู่ภาคการขายสินค้าและให้บริการแก่ลูกค้า

        แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญในช่วงเวลาวิกฤติตามความเร่งด่วน ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว ประกอบด้วย

  • การดำเนินการปัญหาเร่งด่วนระยะสั้น

1. ปรับตัวให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน คงประสิทธิภาพการทำงาน และยังติดต่อลูกค้าได้อย่างไร?

        - เคลื่อนย้ายพนักงานเพื่อตอบสนองต่อวิกฤติการระบาด กำหนดแนวทางในการ Work From Home เน้นความปลอดภัยของพนักงานเป็นหัวใจหลัก

        - นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน เพื่อให้พนักงานทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        - แบ่งพนักงานเป็น 2 กลุ่ม ที่ทำงานทดแทนหรือใกล้เคียงกัน หากมีพนักงานคนหนึ่งในกลุ่มมีอาการหรือติดโควิด ก็จำเป็นต้องให้พนักงานในกลุ่มนั้นทุกคนกักตัว 14 วัน พนักงานอีกกลุ่มมาทำงานทดแทน การจัดพนักงานเป็น 2-3 กลุ่มเหมาะกับงานในคลังสินค้าที่ต้องจัดหาเตรียมส่งของทุกวันตามออเดอร์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการต้องหยุดส่งมอบสินค้า De-risk Supply Chain

        - พิจารณามาตรการช่วยเหลือของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ ที่จะได้รับแก่พนักงานตามที่ควร

        - ประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยง และผลกระทบที่มีต่อธุรกิจจากเศรษฐกิจหยุดชะงัก โดยกำหนดการประชุมระดับ Top Executive ทุกวันเพื่อประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาวันต่อวันให้ทันกาล

        - สื่อสารให้มากเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความโปร่งใส

        - ทบทวน Business Discontinuity Plan (BCP) แผนความไม่ต่อเนื่องทางธุรกิจ และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด

2.เฝ้าระวังเรื่องผลกำไรขาดทุน (P&L) และสภาพคล่องทางการเงิน

        - จัดทำ Scenario สถานการณ์ภาพรวมของตลาด และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลดลงทางรายได้และผลกำไรขาดทุน

        - จัดทำ Scenario สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด Super Worst Case เช่น หากรายได้หดหายมากกว่า 70% มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดยาวจนถึงสิ้นปี สภาพคล่องทางการเงินจะเป็นอย่างไร เรายังคงรักษาสถานภาพของพนักงานได้หรือไม่

        - ประเมินสถานการณ์ยอดขายและสต็อกสินค้า “สัปดาห์ต่อสัปดาห์” อย่างใกล้ชิด

        - สื่อสารกับลูกค้า “ท็อป 20” อย่างใกล้ชิด ถึงความต้องการและการส่งมอบ

        - บริหารค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด งบประมาณที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ อาทิ งบการตลาด เพราะ ไม่ใช่สถานการณ์ที่จะมากระตุ้นดีมานด์ ก็ควรหยุดทันที

        - วางแผนสำหรับการลดต้นทุนที่เร่งด่วนสำหรับการรักษารายได้

    • ดำเนินการปัญหาเร่งด่วนระยะกลาง

            - จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ สำหรับการเติบโตในตอนนี้และอนาคตของบริษัท รวมถึงการเข้าสู่ช่องทางออนไลน์และช่องทางอื่นๆ

            - การสร้างช่องทางดิจิทัล (Digital Channel) เปลี่ยนพฤติกรรมคนให้มาติดตามผ่านทางช่องทางดิจิทัล เพื่อป้องกันรายได้ และต้องปรับแผนบ่อยขึ้น

            - จัดทำแผนโครงสร้างต้นทุนในอนาคต สำหรับการนำบริษัทเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น และเตรียมพร้อมต่อวิกฤติที่มากขึ้น

            - สร้างแผนปฏิบัติการฉุกเฉินสำหรับทุกๆ ด้านของธุรกิจ

    • ดำเนินการปัญหาเร่งด่วนระยะยาว ระยะยาว ไม่ใช่แค่วิธีการเชิงรับ แต่ต้องเตรียมพร้อมด้วยวิธีการเชิงรุก 

            - คิดค้นกลยุทธ์ที่จะทำให้บริษัทของคุณนั้นทำผลงานได้ดีกว่าคู่แข่งและขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในช่วงเวลาวิกฤติและอนาคต 

            - เตรียมวิธีการบรรเทาผลกระทบ สำหรับการถดถอยลงของรายได้หลัก

            - เตรียมพร้อมสำหรับการกลับมาสู่สภาวะปกติ

            - วางแผนและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มากขึ้นกว่าเดิม

            - มีบริการใหม่ๆ ตอบโจทย์โลกคนที่ไม่ออกจากบ้าน และเมื่อทุกอย่างกลับมาราบรื่นจะดึงลูกค้ากลับมาได้อย่างไร

            - สร้างเสถียรภาพในการดำเนินงาน สำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่จะกลายมาเป็นสถานการณ์ปกติใหม่ในอนาคต

            - สร้างเสถียรภาพของห่วงโซ่สินค้า สำหรับการถดถอยทางภูมิศาสตร์และแรงงาน เช่น การสร้างความมั่นคงในขั้นตอนการผลิตและการแจกจ่ายสินค้า

    "เราไม่สามารถทำตัวเหมือนกับว่าเดี๋ยวทุกอย่างก็ผ่านไป เราจะอยู่ในกลุ่มที่คว้าโอกาสของสถานการณ์ตอนนี้! เพราะทุกวิกฤติย่อมมีโอกาส"

    ที่มา : Link

    รวมบทความบัญชีมากถึง 1,000 : https://www.myaccount-cloud.com/Article/List/1612

     

     686
    ผู้เข้าชม
    สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์