ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ "ตลาดทุน ฝ่าวิกฤติโควิด" ในงานงานสัมมนา "ส่องหุ้นไทย ฝ่าวิกฤติโควิด" จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับพันธมิตร
ภากร กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นไทยในระยะที่ต้องเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พร้อมกับคาดการณ์การทิศทางของธุรกิจต่างๆ ที่จะเปลี่ยนในช่วงที่โรคระบาดยังไม่สามารถยุติลงได้
ภาพรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินงานได้ และ "ธุรกิจ" ที่คาดว่าจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ 5 ระดับ คือ
- กลุ่มที่ยังเติบโตได้
- กลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อย
- กลุ่มที่ฟื้นตัวเร็ว
- กลุ่มที่ฟื้นตัวได้ และ
- กลุ่มที่ใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว
*ตามข้อมูล Earning Estimation (EPS) จาก Bloomberg ณ วันที่ 17 มิ.ย. 63 มีดังนี้
1. ธุรกิจการเกษตร
2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
3. บริการเฉพาะกิจ
1. ธนาคาร
2. เหล็ก
3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. กระดาษและวัสดุการพิมพ์
5. เงินทุนและหลักทรัพย์
6. เหมืองแร่
7. พาณิชย์
1. พลังงานและสาธารณูปโภค
2. วัสดุก่อสร้าง
3. ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
4. วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร
1. อาหารและเครื่องดื่ม
2. การแพทย์
3. การท่องเที่ยวและสันทนาการ
4. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
5. บริการรับเหมาก่อสร้าง
6. ยานยนต์
7. สื่อและสิ่งพิมพ์
8. ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน
9. ขนส่งและโลจิสติกส์
10. กองทุนอสังหาริมทรัพย์ & กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)
1. ประกันภัยและประกันชีวิต
2. ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
3. แฟชั่น
4. บรรจุภัณฑ์
นอกจากนี้ ระหว่างที่โควิด-19 ระบาดใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์ทำการสำรวจบริษัทจดทะเบียนทั้ง จากทั้ง 8 อุตสาหกรรม ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และใช้กลยุทธ์ใดในการรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ จากผลการสำรวจพบว่า มี 4 ปัจจัยหลักที่บริษัทที่ฟื้นตัวได้อย่างเร็วลงมือทำ ได้แก่
1. ปรับประสิทธิภาพในการทำงาน บริหารสภาพคล่อง บริษัทจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเลี้ยงธุรกิจได้
2. มีนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจลูกค้า ใช้ข้อมูลวิเคราะห์ว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อเสนอให้ตรงความต้องการของลูกค้ามากกว่าที่เคย
3. การดูแลพนักงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม เช่นการทำงานจากบ้าน ที่ช่วยทำให้งานยังมีประสิทธิภาพแม้ไม่ได้ดำเนินงานตามปกติ
4. ประเมินว่าบริษัทมีจุดไหนที่ไม่เก่งต้องมีพาร์ทเนอร์ชิพเข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง
ทั้งนี้ ภากร ยังได้กล่าวอีกว่าที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์เติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนจากมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ ณ ปี 2553 ที่มีมูลค่าตลาด 6.4 ล้านล้านบาทมีสัดส่วนอุตสาหกรรมใหญ่ 3 อันดับแรกได้แก่ ทรัพยากร 30% การเงินและประกันภัย 22% อสังหาฯและก่อสร้าง 14% ในขณะที่มูลค่าตลาดปี 2563 อยู่ที่ 14.8 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนอุตสาหกรรมใหญ่ 3 อันดับแรกเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ประกอบด้วย กลุ่มบริการ 27% ทรัพยากร 23% อสังหาฯและก่อสร้าง 14%
ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเภทของอุตสาหกรรมที่เติบโตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้ไม่มีดิสรัปชั่น แต่สิ่งที่เหล่านี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ที่แสดงให้เห็นว่ามีความไม่แน่นอนต่างๆ เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไหนๆ ธุรกิจใด ก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือ ปรับตัวพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ