หนี้สินเป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบของกิจการที่ต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จากสัญญาข้อบังคับกฏหมาย การดำเนินการตามปกติของกิจการ ประเพณีการค้าหรือจากความต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์เชิงรุกกับลูกค้า โดยต้องชดใช้ด้วยการจ่ายเงินสด การโอนสินทรัพย์อื่นๆ หรือการให้บริการ ซึ่งจะมีผลทำให้สินทรัพย์หรือส่วนของเจ้าของลดลง ประเภทของหนี้สิน
ประเภทหนี้สิน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้ ดังนี้
1. หนี้สินหมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน คือ ภาระผูกพัน หรือหนี้สินที่มีระยะเวลาครบกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี โดยเริ่มจากวันที่เป็นหนี้สิน โดยจะมีการจ่ายชำระหนี้สินนั้นภายในระยะเวลาดำเนินงานตามปกติ หรือ กิจการควรมีสภาพคล่องมากพอเพื่อนำไปชำระหนี้สินให้ตรงตามกำหนดเวลา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้น หรือหนี้สินหมุนเวียน จะแปรผันอยู่กับสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ
2. หนี้สินโดยประมาณ
หนี้สินหมุนเวียนซึ่งไม่อาจทราบจำนวนแน่นอน ณ วันสิ้นงวด และได้ประมาณขึ้น เช่นหนี้สินในการรับประกันสินค้า
3. หนี้สินระยะยาว
ภาระผูกพันที่กิจการจะต้องชำระคืนบุคคลหรือกิจการอื่น ที่มีระยะเวลาการชำระคืนเกิน 1 ปี แต่ถ้าหากหนี้สินระยะยาวใดที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปีข้างหน้า หนี้สินระยะยาวจำนวนนั้น จะถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน
4. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (Contingent Liabilities) เป็นภาระผูกพันที่อาจมีอยู่เนื่องจากเหตุการณ์ในอดีต แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันจริงหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการยืนยันอีกอย่างน้อยหนึ่งเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งยังมีความไม่แน่นอนอยู่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และกิจการไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์นั้นได้หรือเป็นภาระผูกพันในปัจจุบันเนื่องจากเหตุการณ์ในอดีตท่ีไม่สามารถวัดมูลค่าภาระผูกพันได้อย่างน่าเชื่อถือ
5. หนี้สินอื่น
หนี้สินอื่น หมายถึง หนี้สินที่ไม่อาจเกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถนำมาใช้ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการในทางบัญชีได้ จะอยู่ได้ทั้ง หนี้สินหมุนเวียน และ หนี้สินไม่หมุนเวียน
แหล่งที่มา : Link