ภาษีคืออะไร ?? ภาษี คือ เงินหรือทรัพย์สิน ที่รัฐ หรือสถาบันที่ทำหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากประชาชน ที่เป็นทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เพื่อนำเงินนั้นมาใช้ในการบริหารประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้
1. เศรษฐกิจ
2. การศึกษา
3. สาธารณสุข
4. การคมนาคม
5. การประชาสงเคราะห์
6. การป้องกันประเทศและรักษาความสงบสุขความเรียบร้อยในประเทศ
7. สร้างสาธารณูปโภค
8. เงินเดือนของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่บริการประชาชน
9. ค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานที่ราชการ
เรียกได้ว่า การเรียกเก็บภาษีจากประชาชนเป็นเสมือนเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญในการบริหารประเทศเลยทีเดียว ซึ่งภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บกับประชาชนมีด้วยกัน 2 แบบ คือ ภาษีทางตรง และ ภาษีทางอ้อม ที่เราจะทำความรู้จักกันต่อไป
ภาษีทางตรง คืออะไร?
ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาระตกกับบุคคลที่กฎหมายประสงค์ให้รับภาระ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เป็นภาษีทางตรงที่จัดเก็บตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์เงินสด แต่หากเงินได้ประเภทใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี จะต้องบัญญัติไว้โดยกฎหมาย ว่าเงินได้ประเภทนั้นได้รับการยกเว้น และหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่จัดเก็บเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือ กรมสรรพากร
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า ด้วยตัวอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมาย
เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการครอบครอง เป็นภาษีที่จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ทันสมัย ลดความซ้ำซ้อนของภาษีโรงเรือนกับภาษีเงินได้ และกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครอง หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สิน ในวันที่ 1 มกราคมของแต่ละปี ซึ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคำนวณจาก
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์-มูลค่ายกเว้น)x อัตราภาษี
เป็นภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกหรือทายาท เมื่อได้รับการโอนทรัพย์สิน
เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ครอบครองทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี เช่น ภาษีรถยนต์
ภาษีทางอ้อม คืออะไร?
ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีอากรที่ เรียกเก็บจากผู้บริโภค หรือภาษีที่เป็นการผลักภาระให้กับผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค เป็นผู้ชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย แบ่งออกได้ด้วยกัน 3 ประเภท
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกกันว่า แวต(VAT) เป็นภาษีทางอ้อม ประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการในประเทศไทย ซึ่งได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% โดยที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 ใน 9 ที่เก็บได้ จะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและที่เหลือจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลกลาง
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นอีกหนึ่งภาษีทางอ้อมที่เก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศ โดยจะจัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ
1. การธนาคาร
2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การประกันชีวิต
4. การรับจำนำ
5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร
7. การขายหลักทรัพย์
8. การประกอบกิจการอื่น
3. อากรแสตมป์
อากรแสตมป์ อีกหนึ่งภาษีทางอ้อมที่มีการจัดเก็บจากการทำตาราสารระหว่างกันใน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชี อัตราอากรแสตมป์ ลักษณะของอากรแสตมป์ จะมีการจัดพิมพ์คล้ายกับตราไปรษณียากร แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่มีตราประทับ จะใช้การขีดฆ่าแสดงการใช้แสตมป์ดังกล่าว ซึ่งผู้ขีดฆ่าก็ต้องเป็นไปตามกำหนดของประมวลรัษฎากร
ประชาชนได้อะไรจากภาษีที่เสียไป
เพราะแน่นอนว่าคงไม่ค่อยมีใครที่จะอยากเสียภาษีกันสักเท่าไหร่ ดังนั้น สิ่งที่ควรรู้อย่างหนึ่งเลยคือ ประชาชนทุกคนที่ได้เสียภาษีไปก็ยังได้รับผลจากภาษีที่เสียไปด้วย ใน 2 ลักษณะดังนี้
1. ภาษีที่นำไปจ่ายเป็นเงินเดือนและค่าจ้างให้แก่ข้าราชการที่ให้บริการประชาชน และค่าใช้จ่ายของหน่วยราชการ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น
2. ภาษีที่นำไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน พัฒนาโรงเรียน พัฒนาแหล่งน้ำ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้ประเทศ และประชาชนในประเทศ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การช่วยกันเสียภาษีคนละนิด ละหน่อย ก็ถือเป็นการช่วยพัฒนาให้ประเทศได้ เพราะเงิน ถือเป็นต้นทุนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ได้มาช่วยประชาชนในเรื่องของ การลดหย่อนภาษี ในหลายๆประเภท เพื่อให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายลง ไม่ว่าจะเป็น มาตรการช้อปช่วยชาติ ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี การซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เป็นต้น