ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA

ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditing) หมายถึง บุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร จากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร และเสนอรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากร พร้อมกับ งบการเงินและแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

ผู้สอบบัญชี TA CPA

       1. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor : TA) ที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งตรวจสอบและ รับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (เพียงประเภทเดียว)

       2. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant : CPA) ที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี (ซึ่งตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก) ต้องปฏิบัติงานและรายงานเช่นเดียวกับ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในบทนี้ให้หมายรวมถึงผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ และรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กด้วย

ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

       1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทุกประเภท (รวมถึงกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร)

       2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

หน้าที่และความรับผิดชอบ

       หน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบให้ครบถ้วน ดังนี้

       1. รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี จากผลการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร อย่างตรงไปตรงมา หากกิจการไม่ยินยอมปรับปรุงให้ถูกต้องหรือมีข้อยกเว้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้อง รายงานข้อยกเว้นดังกล่าว

       2. การแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตนตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งแจ้ง ล่วงหน้าตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในวันที่ 30 มิถุนายน ของทุกปี พร้อมแนบหนังสือตอบรับ งานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

       3. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นลูกค้าซึ่งได้แจ้ง ไว้แล้ว ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรแจ้งการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัด จากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ต้องแจ้งก่อนวันที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี

       4. การเสียภาษีของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเสียภาษีของตนเองให้ ถูกต้องครบถ้วน อย่าหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร

ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA

TA CPA ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ความแตกต่าง ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1. การขึ้นทะเบียน ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544ฯ ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราช บัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547
2. สิทธิในการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท) สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
3. หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก ปฏิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่น เดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบและ
รับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก
4. การรายงานการตรวจสอบและ รับรองบัญชี จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่
จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษี อากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก


แหล่งที่มา : Link

 3867
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์