ภาษีทางตรง คืออะไร ต่างกับภาษีทางอ้อมอย่างไรบ้าง

ภาษีทางตรง คืออะไร ต่างกับภาษีทางอ้อมอย่างไรบ้าง

ภาษีทางตรง

       นอกจากภาษีทางอ้อมแล้ว ภาษีอากร ยังสามารถแบ่งออกได้อีกหนึ่งประเภท นั่นก็คือ ภาษีทางตรง วันนี้เราจะมาดูกันว่า ภาษีทางตรง-ทางอ้อม มีความแตกต่าง หรือเหมือนกันอย่างไร แล้วภาษีทางตรง คืออะไร ? ตามไปดูกันได้เลย ในบทความนี้

ภาษีทางตรง คืออะไร

       ภาษีทางตรง หมายถึง ภาษีอากรประเภทหนึ่ง เป็นเงินที่รัฐบาล หรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ากับรัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชนทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล 

       ซึ่งภาษีทางตรง เป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้

ภาษีทางตรงกับภาษีทางอ้อม ต่างกันอย่างไร

       มีหลายคนเลยแหละค่ะ ที่อาจจะสงสัยว่า ภาษีทางตรงและทางอ้อม แตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราลองไปดูความแตกต่างกันเลยค่ะ

       สำหรับภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ แต่จะเรียกเก็บโดยตรงจากบุคคลที่กฎหมายประสงค์ให้รับภาระนั่นเอง  

       ในขณะที่ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่สามารถผลักภาระไปยังผู้อื่นได้ คือ การจัดเก็บภาษีจากผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคให้เป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย

ภาษีทางตรง ได้แก่อะไรบ้าง

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  

       ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีทางตรงที่จัดเก็บจากบุคคลที่มีรายได้ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ อัตราการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคำนวณจากเงินได้สุทธิ ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่างปีภาษี 

       โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี โดยผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษี (ภงด.50) ที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมหรือภายใน 150 วัน ของปีถัดไป อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่นี่ 

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 

       ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีทางตรงที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ปัจจุบันภาษีเงินได้นิติบุคคลคิดคำนวณเป็นขั้นบันไดเช่นเดียวกับภาษีบุคคลธรรมดา โดยมีอัตราภาษีนิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่ 20%  

3. ภาษีป้าย 

       ภาษีป้าย คือ ภาษีทางตรงที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ 

       โดยวิธีการยื่นเสียภาษีป้าย ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายเมื่อมีการติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความบนป้าย ต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลง และต้องยื่นเสียภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี 

4. ภาษีโรงเรือน 

       ภาษีโรงเรือน ได้แก่ ภาษีทางตรงที่จัดเก็บจากสิ่งปลูกสร้างหรือโรงเรือน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน คอนโดมิเนียม หอพัก สนามม้า คลังสินค้า เป็นต้น 

5. ภาษีบำรุงท้องที่ 

       ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีทางตรงที่จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย ทำการเกษตรและที่ดินว่างเปล่า

6. ภาษีมรดก 

       ภาษีมรดก คือ ภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากผู้รับมรดกหรือทายาท เมื่อมีการโอนทรัพย์สินจากผู้ตายไปยังบุคคลดังกล่าว

7. ภาษีทรัพย์สินต่าง ๆ 

       ภาษีทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นภาษีทางตรงประเภทอื่น ๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ครอบครองทรัพย์สินที่กฏหมายกำหนดไว้ให้ต้องเสียภาษี เช่น ภาษีรถยนต์   

       โดยจะเห็นได้ว่า ภาษีทางตรงจะเรียกเก็บจากรายได้ ตลอดจนผู้ถือกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน หรือความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคลโดยตรงที่กฎหมายประสงค์จัดเก็บ

       ขึ้นชื่อว่าภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็น ภาษีทางอ้อม หรือ ภาษีทางตรง ล้วนเป็นเรื่องที่สำคัญที่เรา ในฐานะคนไทยทุกคนควรทำความเข้าใจ เพราะภาษีเป็นหน้าที่ที่จะต้องถูกนำส่งให้ถูกต้อง ครบถ้วน นั่นเองค่ะ

แหล่งที่มา : Link

 20685
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์