การตรวจนับสินค้าคงเหลือ มีกี่วิธี อะไรบ้าง

การตรวจนับสินค้าคงเหลือ มีกี่วิธี อะไรบ้าง

       วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ กิจการซื้อขายสินค้าจะมีการซื้อสินค้ามาเพื่อขายให้เพียงพอและมีการสำรองสินค้าไว้เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากิจการมีสินค้าพร้อมขายตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีจึงต้องมีการตรวจนับและตีราคาสินค้าว่าคงเหลืออยู่เป็นจำนวนเงินเท่าใด จะบันทึกเป็น “สินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดบัญชี หรือสินค้าคงเหลือปลายงวด” นำไปแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุล วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ามี 2 วิธี คือ

1. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง ( Perpetual Inventory Method )

       วิธีนี้กิจการจะเปิด “บัญชีสินค้าคงเหลือ”ขึ้นเพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดปีดำเนินงาน โดยบันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าการส่งคืนรับคืนดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือคือ สินค้าที่ยังเหลืออยู่และยังมิได้ขายซึ่งจะทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพง ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา จากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยไม่ต้องมีการตรวจนับสินค้า ข้อเสีย คือ การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินค้า นั้นจะทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้ามีดังนี้

       1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาเพื่อขายจะมีผลกระทบต่อบัญชีสินค้าคงเหลือ นั่นคือมีจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้น กรณีซื้อสินค้าเป็นเงินสด เดบิต สินค้าคงเหลือ xx ภาษีซื้อ xx เครดิต เงินสด xx กรณีซื้อสินค้าเงินเชื่อ เดบิต สินค้าคงเหลือ xx ภาษีซื้อ xx เครดิต เจ้าหนี้ xx

       2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเดบิต เนื่องจากทำให้สินค้ามีต้นทุนเพิ่มขึ้น เดบิต สินค้าคงเหลือ xx ภาษีซื้อ xx เครดิต เงินสด xx

       3. การส่งคืน การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องตามที่สั่งซื้อ ตามวิธีนี้จะบันทึกการส่งคืนเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าลดลง กรณีส่งคืนสินค้าที่เป็นเงินสด เดบิต เงินสด xx เครดิต สินค้าคงเหลือ xx ภาษีซื้อ xx กรณีคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ เดบิต เจ้าหนี้การค้า xx เครดิต สินค้าคงเหลือ xx ภาษีซื้อ xx

       4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด ตามวิธีจะบันทึกเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อลดลง เดบิต เจ้าหนี้การค้า xx เครดิต เงินสดหรือธนาคาร xx สินค้าคงเหลือ xx การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับการขายสินค้า ดังนี้

             1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย การขายสินค้าตามวิธีนี้ ต้องบันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายทุกครั้งที่มีการขาย

                   ก. บันทึกการขาย กรณีขายสินค้าเป็นเงินสด เดบิต เงินสด/ธนาคาร xx เครดิต ขาย xx ภาษีขาย xx กรณีขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ เดบิต ลูกหนี้การค้า xx เครดิต ขาย xx ภาษีขาย xx
                   ข. บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขาย เดบิต ต้นทุนขาย xx เครดิต สินค้าคงเหลือ xx

             2. ค่าใช้จ่ายในการขาย กิจการขายสินค้า และเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขายต่างๆเช่น ค่าขนส่ง กิจการ จะบันทึกเข้าบัญชีค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย เดบิต ค่าใช้จ่ายในการขาย-ค่า…… xx ภาษีซื้อ (ถ้ามี) xx เครดิต เงินสด xx

             3. รับคืนสินค้า ในระหว่างการขนส่ง สินค้าอาจจะชำรุดเสียหาย ผิดขนาด คุณภาพไม่ตรงตามที่ระบุหรือสินค้ามีตำหนิ

       การบันทึกบัญชีตามวิธีนี้ จะบันทึก 2 ขั้นตอน

             โดยบันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน กรณีรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินสด

             3.1 บันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย เดบิต รับคืน xx ภาษีขาย xx เครดิต เงินสด xx

             3.2. บันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน เดบิต สินค้าคงเหลือ xx เครดิต ต้นทุนขาย xx กรณีรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ

                   3.2.1 บันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย เดบิต รับคืนสินค้า xx ภาษีขาย xx เครดิต ลูกหนี้การค้า xx

                   3.2.2. บันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน เดบิต สินค้าคงเหลือ xx เครดิต ต้นทุนขาย xx

             4. ส่วนลดจ่าย กรณีที่ผู้ขายขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ ผู้ขายจะให้ส่วนลดเงินสดแก่ผู้ซื้อ โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย” ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าขายสินค้าลดลง เดบิต เงินสด/ธนาคาร xx ส่วนลดจ่าย xx เครดิต ลูกหนี้การค้า xx ต้นทุนสินค้าที่ขาย ตามวิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่องทุกครั้งที่มีรายการขายสินค้าการบันทึกต้นทุนสินค้าขายด้วยและเมื่อมีการรับคืนจะบันทึกลดยอดต้นทุนสินค้าที่ขาย โดยต้นทุนสินค้าที่ขายนี้ จะบันทึก “ต้นทุนขาย” วันสิ้นงวด บัญชีต้นทุนขายจะถูกปิดไปเข้าบัญชีกำไรขาดทุน

2. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method )

       วิธีนี้จะไม่มีการบันทึก “บัญชีสินค้าคงเหลือ” ในระหว่างงวดดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอดของสินค้าคงเหลือ ณ วันต้นงวดและจะไม่บันทึกต้นทุนขายของสินค้าทุกครั้งที่มีการขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ เมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือของสินค้า ณ วันใดวันหนึ่ง จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนของสินค้าที่ขายต้องทำการคำนวณ ดังนั้นเมื่อถึงวันสิ้นงวดจึงต้องทำการตรวจนับบัญชีสินค้าคงเหลือเพื่อนำมาบันทึกเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดวิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีการขายในปริมาณมากเช่นห้างสรรพสินค้าข้อดีของวิธีนี้คือการบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลาข้อเสียคือไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าคงเหลือได้ทันทีต้องทำการตรวจนับ การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับซื้อสินค้ามีดังนี้

             1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาจะบันทึกเข้าบัญชีซื้อด้วยราคาทุนที่ซื้อ กรณีซื้อสินค้าเป็นเงินสด เดบิต ซื้อ xx ภาษีซื้อ xx เครดิต เงินสด xx กรณีซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ เดบิต ซื้อ xx ภาษีซื้อ xx เครดิต เจ้าหนี้ xx

             2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่งเข้า ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีค่าใช้จ่ายประเภทนั้นๆ ทางด้านเดบิต เดบิต ค่าขนส่งเข้า xx ค่าใช้จ่ายนำเข้า xx ค่าภาษีขาเข้า xx ภาษีซื้อ xx เครดิต เงินสด xx

             3. ส่งคืนสินค้า การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องโดยจะบันทึกเข้าบัญชีส่งคืน กรณีส่งคืนสินค้าเป็นเงินสด เดบิต เงินสด xx ภาษีซื้อ xx เครดิต ส่งคืน xx กรณีส่งคืนสินค้าเป็นเงินเชื่อ เดบิต เจ้าหนี้ xx ภาษีซื้อ xx เครดิต ส่งคืน xx

             4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขในการให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด เดบิต เจ้าหนี้ xx เครดิต เงินสด/ธนาคาร xx ส่วนลดรับ xx การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายสินค้า

       1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย และไม่ต้องบันทึกต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขาย กรณีขายสินค้าเงินสด เดบิต เงินสด/ธนาคาร xx เครดิต ขาย xx ภาษีขาย xx กรณีขายสินค้าเงินเชื่อ เดบิต ลูกหนี้ xx เครดิต ขาย xx ภาษีขาย xx

       2. ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าขนส่ง เมื่อกิจการขายสินค้าเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งจะบันทึกเข้าบัญชีค่าขนส่งออก เดบิต ค่าขนส่งออก xx ภาษีซื้อ xx เครดิต เงินสด xx

       3. รับคืนสินค้า จะบันทึกเพียงรับคืนสินค้าในราคาขายเท่านั้น เดบิต รับคืน xx ภาษีขาย xx เครดิต เงินสด xx

       4. ส่วนลดจ่าย ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย” เดบิต เงินสด/ธนาคาร xx ส่วนลดจ่าย xx เครดิต ลูกหนี้การค้า xx การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of Goods’ sold) บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด จะไม่มีการบันทึกต้นทุนขายเมื่อมีการขายหรือรับคืน ดังนั้นเมื่อต้องการทราบต้นทุนสินค้าที่ขายจึงต้องคำนวณ ดังนี้

       ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด และ ซื้อสุทธิ = ซื้อ + ค่าใช้จ่ายในการซื้อ – ส่งคืน – ส่วนลดรับ โดยสินค้าคงเหลือต้นงวดได้มาจากยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือ ส่วนสินค้าคงเหลือปลายงวดได้มาจากการตรวจนับและตีราคาสินค้า ณ วันสิ้นงวด การตีราคาสินค้าคงเหลือ ไม่ว่าจะบันทึกสินค้าด้วยวิธีใดก็ตาม จำนวนเงินของสินค้าคงเหลือปลายงวดจะต้องตีราคาให้ถูกต้องและเหมาะสม การตีราคาสินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ให้ใช้ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า (Lower of cost or Net realizable Value) มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable Value) หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะขายได้ หัก ต้นทุนส่วนเพิ่มที่จะผลิตต่อให้เสร็จ (กรณีที่เป็นสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิต) และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้ การคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือ International Accounting Standard หรือ IAS สนับสนุนให้ใช้วิธีคำนวณหาราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้ 4 วิธีดังนี้

1. Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง)

2. First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน)

3. Weighted Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก)

4. Moving Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่) Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง) วิธีราคาเจาะจงเหมาะสำหรับกิจการที่จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่มากๆ หรือสินค้าราคาสูงมากและมีสินค้าจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนไม่มาก เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งสามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีราคาทุนเท่าใด วิธีราคาเจาะจงนี้ใช้ได้ทั้งกรณีที่กิจการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory และ Perpetual Inventory

       ซึ่งทั้งสองวิธีนั้นจะคำนวณเช่นเดียวกัน First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน) วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าจำนวนมาก การตีราคาสินค้าตามวิธีนี้ถือว่าสินค้าใดซื้อมาก่อนจะถูกนำไปขายก่อน สินค้าที่เหลืออยู่จะเป็นสินค้าที่ซื้อมาครั้งหลังสุดตามลำดับย้อนขึ้นไป

แหล่งที่มา : Link

 2770
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์