ค่าเสื่อม (Depreciation) Vs ค่าตัดจำหน่าย (Amortization)

ค่าเสื่อม (Depreciation) Vs ค่าตัดจำหน่าย (Amortization)

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คืออะไร

       ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเกิดจากสินทรัพย์ที่เสื่อมไปตามกาลเวลาและถ้าสินทรัพย์พังไปบริษัทก็ไม่มีเครื่องผลิตรายได้บริษัทอาจต้องปิดตัว นักบัญชีจึงทำการตั้งสำรองค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเอาไว้ เป็นรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดตามมูลค่าของสินทรัพย์ที่ลดลง ทำให้กำไรสุทธิต่ำลง และไม่สามารถจ่ายปันผลเงินก้อนนั้นออกมาได้ ต้องเก็บไว้ซ่อมแซมสินทรัพย์ให้ใช้การได้

ยกตัวอย่าง ซื้อรถมา 1 คัน ราคา 1 ล้านบาท อายุการใช้งาน 5 ปี รถมือสองอายุ 5 ปีราคา 2 แสนบาท แสดงว่าเราต้องหาเงิน 1 ล้าน – 2 แสนบาท = 8 แสนบาททุก 5 ปี เพื่อซื้อรถคันใหม่

       ถ้าเราตัดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง (ราคาทุน – ซาก)/จำนวนปี = (1,000,000-200,000)/5 = 160,000

       แสดงว่าถ้าเราหยอดกระปุกเก็บไว้ปีละ 160,000 สิ้นปีที่ 5 จะมีเงิน 800,000 บาท บวกค่าซาก 200,000 ได้เงิน 1,000,000 บาทไว้ซื้อรถใหม่พอดี

ดังนั้น นักบัญชีจึง นำ 160,000 เป็นรายจ่ายทำให้กำไรตำลงเหมือนบังคับให้เราเก็บไว้ซ่อมแซม หรือซื้อใหม่กลายๆ

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) แตกต่างกันอย่างไร?

       ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) คิดจากสินทรัพย์มีตัวตน เช่น พวกที่ดิน อาคาร อุปกรณ์

       ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คิดจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่นสิทธิการเช่า ลิขสิทธิ์

ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) เป็นค่าใช้จ่ายหรือไม่

       ค่าเสื่อมแม้จะเป็นรายจ่ายที่ไม่เป็นเงินสด แต่ผมมองเหมือนเป็นค่าใช่จ่ายคงที่ตัวหนึ่งในงบที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจลงทุนของกิจการ

       บริษัทที่งบขาดทุนเพราะโดนค่าเสื่อม วิธีการสังเกตอาจดูได้จาก EBIT ติดลบ แต่ EBITDA เป็นบวกแสดงให้เห็นว่าบริหารงานไม่เก่งใช้สินทรัพย์ไปสร้างรายได้ไม่พอเลี้ยงการเสื่อมของสินทรัพย์ แก้ยากมากต้องหาวิธีหารายได้เพิ่ม ลดค่าใช้จ่าย หรือตัดขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นทิ้ง

       บริษัทที่ตัดค่าเสื่อมน้อยเกินไป อนาคตสินทรัพย์อาจพังก่อนที่ค่าเสื่อมจะตัดจำหน่ายหมด อาจต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุน หรือบริษัทที่ตัดมากเกินไป ก็ตัดค่าเสื่อมหมดก่อนที่สินทรัพย์จะหมดอายุ เสียดายเวลาที่ปีแรกไม่ได้จ่ายเงินปันผล

การดูว่าบริษัทมีการลงทุนเยอะหรือไม่

       ถ้ามองว่า ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง เมื่อไปดูในงบกระแสเงินสดจากการลงทุนรายการเงินลงทุนในที่ดินอาคารอุปกรณ์ จับมาเทียบกันว่าลงทุนไปกี่เท่าของค่าเสื่อม บริษัทที่ลงทุนเท่ากับค่าเสื่อมเป็นเพียงแค่การซ่อมแซม บริษัทที่ลงทุนมากๆ สัดส่วนนี้มักมากกว่า 2 เท่าขึ้นไป บริษัทที่ลงทุนมากกว่าค่าเสื่อมเยอะๆ และสินทรัพย์สามารถสร้างรายได้ ได้ทัน ROA สม่ำเสมอ ถือว่าบริษัทลงทุนได้ดี สร้างการเจริญเติบโตให้กับบริษัท จะเห็นว่า ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย สามารถบอกอะไรในกิจการได้หลายๆอยาง เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

แหล่งที่มา : Link

 1984
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์