การทำธุรกิจ ไม่ว่าจะส่วนตัว กลุ่มบริษัท กลุ่มสหกรณ์ SMEs หรือ OTOP เป็นอันว่า ชีวิตต้องพัวพัน กับภาษีอย่างแน่นอน ดังนั้น ลองหันมาตั้งหลัก " ทำความเข้าใจ " เรื่องภาษีให้ถ่องแท้ เพื่อการจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง
ภาษีศุลกากร
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีนำเข้าเรียกว่า "อากรขาเข้า" และในกรณีส่งออกเรียกว่า "อากรขาออก" โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ำหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่จะต้อง "ชำระอากรขาออก" เพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ นอกนั้นอัตราอากรเป็น 0% ทั้งหมด ส่วน "อากรขาเข้า" จัดเก็บตามพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรได้นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในการจัดหมวดหมู่ของสินค้า โดยแบ่งย่อยเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย คือแบ่งเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน ซึ่งการระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลัง เป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ
เมื่อจะนำสินค้าใดเข้าหรือส่งสินค้าใดออก คุณต้องตรวจสอบให้ถูกต้องชัดเจนก่อนว่าสินค้านั้นๆ จัดอยู่ในพิกัดใด อัตราอากรเท่าใด เพื่อที่จะนำไปคิดคำนวณภาษีอากรที่คุณต้องจ่ายนั่นเอง อีกทั้งคุณต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอนตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกให้ครบถ้วน ดังนี้
1. ลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร
ผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออกจะต้องไปแสดงตนขอลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกผู้ผ่านพิธีการศุลกากร สียก่อน ซึ่งจะเป็นการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ เพราะระบบจะจดจำว่าคุณได้ขอเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกแล้ว หลังจากนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด ขอเพียงมีคอมพิวเตอร์ก็สามารถขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้
การจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใดๆ ก็ตาม ผู้นำเข้าส่งออก (หรือตัวแทนออกของ) จะต้องทำพิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกด้วย ซึ่งช่องทางสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ได้แก่ ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางไปรษณีย์
ทั้งนี้ การจัดเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า มีดังนี้
เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการนำเข้าสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะการนำเข้า
(1) แบบ กศก. 99/1 ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภทที่กรมศุลกากรไม่ได้กำหนดให้ใช้ใบขนสินค้าประเภทอื่น
(2) แบบ กศก. 102 ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษ พร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทางอากาศยานหรือพิธีการอื่นที่กรมศุลกากรกำหนด สำหรับของที่นำเข้าในลักษณะเฉพาะ เช่น การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต เป็นต้น
(3) แบบ กศก. 103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกำหนด
(4) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่างๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา
(5) แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
(6) แบบใบแนบ 9 ใบขนสินค้าถ่ายลำ ใช้สำหรับพิธีการสินค้าถ่ายลำ
(7) แบบที่ 448 ใบขนสินค้าผ่านแดน ใช้สำหรับพิธีการสินค้าผ่านแดน
(8) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำรถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
(9) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับเรือสำราญและกีฬาที่นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการนำเรือสำราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าโดยอัตโนมัติ และให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งเฉพาะข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าที่ส่งเข้ามา เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้นำของเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร ราคา เป็นต้น ถ้าพบว่าข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งมาไม่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง
3. เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าที่ส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมกับตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาเข้าในขั้นตอนการตรวจสอบพิธีการเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ แล้วแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้าที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะสั่งการตรวจ หลังจากนั้น ผู้นำเข้าหรือตัวแทนสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระค่าภาษีอากรและรับการตรวจปล่อยสินค้าได้ ใบขนสินค้าขาเข้าที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำของเข้า
4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าตามวรรคแรกในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้
4.1 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM
4.2 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM
4.3 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST
ในการส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกกำหนดไว้ให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการนำเข้า
เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการส่งออก ดังนี้
1. แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้
2. แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ.2544
3. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งของออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา
4. ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ชั่วคราว
เอกสารที่ผู้ส่งออกควรจัดเตรียมในการส่งออกสินค้า
ใบขนสินค้าขาออกที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้ส่งออกหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่ผ่านพิธีการ
ใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าขาออกประเภทนี้ ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าอากร (ถ้ามี) และดำเนินการนำสินค้าไปตรวจปล่อยเพื่อส่งออกได้เลยโดยไม่ต้องไปพบเจ้าหน้าที่ประเมินอากร
น่ารู้...เรื่องการส่งออกสินค้า