ภ.ง.ด. 53 : ความหมายและความสำคัญในระบบภาษี

ภ.ง.ด. 53 : ความหมายและความสำคัญในระบบภาษี



หนึ่งในเอกสารสำคัญที่ธุรกิจหรือผู้ประกอบการต้องยื่นคือ "ภ.ง.ด. 53" ซึ่งเป็นการยื่นแบบการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายเงินให้แก่บุคคลหรือองค์กรในรูปแบบต่างๆ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ภ.ง.ด. 53 เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีผลต่อการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี และการจัดการการเงินขององค์กรอย่างถูกต้อง

ความหมายของ ภ.ง.ด. 53
          คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทต่างๆ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย หรือต่างประเทศ (กรณีจ่ายเงินให้กับนิติบุคคลที่มีที่อยู่หรือสำนักงานใหญ่ต่างประเทศ) การยื่น ภ.ง.ด. 53 เป็นการแสดงให้กรมสรรพากรเห็นว่าธุรกิจหรือผู้ประกอบการได้ดำเนินการหักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้กับผู้รับและนำส่งให้รัฐตามข้อกำหนด

          ภ.ง.ด. 53 เป็นเอกสารสำคัญที่ทุกธุรกิจหรือผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการปฏิบัติตาม เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการภาษีที่ถูกต้องและโปร่งใส การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการยื่นแบบภาษีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในระยะยาว

รายการเงินได้ที่ต้องยื่น ภ.ง.ด. 53
          การหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับแต่ละประเภทของเงินได้จะมีอัตราที่แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยทั่วไปอัตราการหักจะอยู่ระหว่าง 1% - 10% ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้และสถานะของผู้รับเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประเภทเงินได้

รายการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ผู้รับเงิน

อัตราร้อยละ

บุคคลธรรมดา

 นิติบุคคล

40(1)

เงินเดือน, ค่าสวัสดิการพนักงาน

อัตราก้าวหน้า

-

40(2)

ค่าจ้างฟรีแลนซ์

อัตราก้าวหน้า

3%

40(3)

ค่าลิขสิทธิ์

อัตราก้าวหน้า

3%

40(4)

ดอกเบี้ย

1%

15%

40(4)

ปันผล

10%

10%

40(5)

ค่าเช่าทรัพย์สิน

5%

5%

40(6)

บริการวิชาชีพเฉพาะ เช่น หมอ ทนาย

3%

3%

40(7)

ค่ารับเหมา เช่น ก่อสร้าง (มีต้นทุนวัตถุดิบ)

3%

3%

40(8)

ค่าบริการทั่วไป รับเหมาค่าแรง จ้างทำของ

3%

3%

40(8)

ค่าซ่อมแซม (อะไหล่รวมค่าแรง)

3%

3%

40(8)

ค่าโฆษณา

2%

2%

40(8)

ค่าขนส่ง

1%

1%



          ตัวอย่างวิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย
          กิจการได้จ้างทำของกับร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเงินจำนวน 400,000.00 บาท การคำนวณราคาค่าจ้างทำของ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินที่ต้องจ่ายให้กับร้านค้ามีจำนวนเท่าใด/ มีวิธีคิดคำนวณดังนี้

ราคาค่าจ้างทำของ
คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ยอด ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ราคาค่าจ้างทำของเป็นฐานในการคิดภาษีเงินได้

มูลค่า ค่าจ้างทำของไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (นิติบุคคล)
ยอด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เงินที่ต้องจ่ายให้กับร้านค้าหลังหักภาษี ณ ที่จ่าย

จำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับร้านค้า
= 400,000.00 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
= 400,000.00 x 7/107
= 26,168.22

= 400,000 – 26,168.22

= 373,831.78
= 373,831.78 x 3%
= 11,214.95

= 400,000 – 11,214.95

= 388,785.05

ขั้นตอนการยื่น ภ.ง.ด. 53
          การยื่น ภ.ง.ด. 53 มีขั้นตอนหลักที่ผู้ประกอบการควรทราบ

          1. หักภาษี ณ ที่จ่าย : เมื่อมีการจ่ายเงินในรายการที่เข้าข่ายต้องหักภาษี ผู้จ่ายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามอัตราภาษีที่กำหนด
          2. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี : ผู้จ่ายจะต้องออกหนังสือรับรองให้กับผู้รับเงิน โดยระบุรายละเอียดการหักภาษี
          3. นำส่งภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย : ภาษีที่หักจะต้องนำส่งให้กับกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งสามารถยื่นได้ทั้งในรูปแบบกระดาษและผ่านระบบออนไลน์ (E-Filing)


ผลที่ตามมาหากไม่ปฏิบัติตาม
          หากผู้ประกอบการไม่ยื่น ภ.ง.ด. 53 ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการหักภาษี จะต้องเผชิญกับบทลงโทษทางกฎหมาย ได้แก่

          1. ค่าปรับและดอกเบี้ย : กรณีไม่ยื่นภาษีในเวลาที่กำหนด จะถูกปรับและต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนด
          2. ความเสี่ยงทางกฎหมาย : การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดภาษีอาจทำให้ธุรกิจต้องเผชิญกับการตรวจสอบและความเสี่ยงทางกฎหมายเพิ่มเติม
 65
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์