กำไรหรือขาดทุนจากการฝากขายสามารถแสดงในงบการเงินได้ 2 วิธี คือ แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนหรือแสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้
การรายงานกำไรขาดทุนจากการฝากขายในงบดุลแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านผู้รับฝากขายจะแสดงในบัญชีรับฝากขายและด้านผู้ฝากขายจะแสดงในบัญชีสินค้าคงเหลือฝากขาย
8.1 การรายงานกำไรขาดทุนจากการฝากขาย
8.2 การรายงานรายการฝากขายในงบดุล
8.1 รายงานกำไรขาดทุนจากการฝากขาย
กิจการที่ส่งสินค้าไปฝากขายสามารถบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการฝากขายได้ 2 วิธี คือ บันทึกบัญชีแยกการฝากขายจากการขายปกติของกิจการ หรือบันทึกบัญชีการฝากขายรวมกับการขายปกติของกิจการ ไม่ว่ากิจการจะบันทึกบัญชีการฝากขายวิธีใดก็ตาม การแสดงกำไรหรือขาดทุนจากการฝากขายที่มีอยู่ สามารถแสดงกำไรหรือขาดทุนจากการฝากขายในงบการเงินได้ 2 วิธี คือ
1. แสดงรายการกำไรหรือขาดทุนจากการฝากขายในงบกำไรขาดทุน
ตัวอย่าง
งบกำไรขาดทุน ( บางส่วน )
ขายสินค้า xx
หัก ต้นทุนขาย xx
กำไรขั้นต้น xx
หัก กำไรจากการฝากขาย xx
รวมกำไร xx
หัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร xx
กำไรสุทธิ xx
2. แสดงรายการกำไรหรือขาดทุนในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตัวอย่าง
งบกำไรขาดทุน ( บางส่วน )
ขายสินค้า xx
หัก ต้นทุนขาย xx
กำไรขั้นต้น( หมายเหตุ ) xx
หัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร xx
กำไรสุทธิ xx
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
กำไรขั้นต้น ประกอบด้วยกำไรจากการฝากขาย xx บาท ซึ่งได้จากยอดขายโดยการฝากขาย xx บาท หักต้นทุนขายจากการฝากขาย xx บาท
8.2 รายงานการฝากขายในงบดุล
การแสดงรายการฝากขายในงบดุลสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ด้านผู้ฝากขาย : แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือฝากขาย
2. ด้านผู้รับฝากขาย : แสดงบัญชีรับฝากขาย
1. ด้านผู้ฝากขาย : แสดงบัญชีสินค้าคงเหลือฝากขาย
กิจการที่ส่งสินค้าไปฝากขายเมื่อวันสิ้นงวดบัญชีหากมีสินค้าคงเหลือที่ยังขายไม่ได้เหลืออยู่ที่ผู้รับฝากขาย ผู้ฝากขายจะต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือจากการฝากขายไว้ในบัญชีฝากขาย โดยการคำนวณสินค้าคงเหลือไม่นำค่าโฆษณาและค่าขนส่งมาคำนวณสินค้าคงเหลือ ให้ถือว่าค่าโฆษณาและค่าขนส่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดค่าใช้จ่ายนั้น และยอดสินค้าคงเหลือในบัญชีฝากขายจะนำไปแสดงไว้ในงบดุลภายใต้หัวข้อสินทรัพย์หมุนเวียนโดยรวมอยู่กับหัวข้อสินค้าคงเหลือ
ตัวอย่างการแสดงสินค้าฝากขายคงเหลือในงบดุลด้านผู้ฝากขายจะเป็นดังนี้
งบดุล ( บางส่วน )
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน :
เงินสด xx
ลูกหนี้ xx
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx xx
สินค้าคงเหลือ
สินค้าในมือ xx
สินค้าฝากขาย 9,500 xx
ซึ่งยอดของสินค้าคงเหลือฝากขายที่แสดงในงบดุลจะได้มาจากยอดคงเหลือของบัญชีฝากขายดังนี้
ฝากขาย
สินค้าส่งไปฝากขาย xx
ค่าขนส่ง xx
ค่าใช้จ่าย xx
กำไรจากการฝากขาย xx
xx
ยอดยกมา xx
ขายสินค้า xx
รับคืนสินค้า xx
ยอดยกไป 9,000
……
xx
2. ด้านผู้รับฝากขาย : แสดงบัญชีรับฝากขาย
กิจการที่รับสินค้าฝากขายเมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชี บัญชีรับฝากขายอาจจะมียอดคงเหลือด้านเดบิต หรือมียอดคงเหลือด้านเครดิตก็ได้ขึ้นอยู่กับกรณีดังต่อไปนี้
ก. รับฝากขายมียอดคงเหลือทางด้านเดบิต จะเกิดขึ้นในกรณีที่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้รับฝากขายจ่ายไปรวมกับค่านายหน้าที่ผู้รับฝากขายควรจะได้รับรวมกับเงินที่จ่ายล่วงหน้าไปให้ผู้ฝากขายไปก่อน ถ้าจำนวนรวมทั้งหมดสูงกว่าค่าขายสินค้า ซึ่งจะหมายถึงจำนวนเงินที่ผู้ฝากขายเป็นหนี้ผู้รับฝากขาย ยอดคงเหลือดังกล่าวถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนนำไปแสดงไว้ในงบดุลของผู้รับฝากขาย ใช้ชื่อบัญชี “เงินค้างชำระจากผู้ฝากขาย”
ตัวอย่างแสดงรับฝากขายที่มียอดคงเหลือด้านเดบิตในงบดุลของผู้รับฝากขาย
งบดุล ( บางส่วน )
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน :
เงินสด xx
ลูกหนี้ xx
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx xx
เงินค้างชำระจากผู้ฝากขาย xx
..................................... xx
ข. รับฝากขายมียอดคงเหลือทางด้านเครดิต จะเกิดขึ้นในกรณีที่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้รับฝากขายจ่ายไปรวมกับค่านายหน้าที่ผู้รับฝากขายควรจะได้รับรวมกับเงินที่จ่ายล่วงหน้าไปให้ผู้ฝากขายไปก่อน ถ้าจำนวนรวมทั้งหมดต่ำกว่าค่าขายสินค้า ซึ่งจะหมายถึงจำนวนเงินที่ผู้รับฝากขายยังเป็นหนี้ผู้ฝากขายจะต้องนำส่งให้ผู้ฝากขาย ยอดคงเหลือดังกล่าวถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน นำไปแสดงในงบดุลของผู้รับฝากขาย ใช้ชื่อบัญชี “เงินค้างชำระแก่ผู้ฝากขาย )
ตัวอย่างการแสดงบัญชีรับฝากขายที่มียอดคงเหลือด้านเครดิตในงบดุลของผู้รับฝากขาบ
งบดุล ( บางส่วน )
หนี้สิน
หนี้สินหมุนเวียน :
เจ้าหนี้ xx
เงินค้างชำระแก่ผู้ฝากขาย xx
................................. xx
บทความโดย : https://sites.google.com