การตีราคาสินค้าคงเหลือโดยอัตรากำไรขั้นต่ำ

การตีราคาสินค้าคงเหลือโดยอัตรากำไรขั้นต่ำ

         หากกิจการต้องการทราบมูลค่า สินค้าคงเหลือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าต้องไปตรวจนับสินค้าคงเหลือจริงอาจจะต้องใช้เวลา และค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น วิธีการหนึ่งในการคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือคือการใช้วิธีอัตรากำไรขั้นต้น จะทำให้ได้ มูลค่าสินค้าคงเหลือในราคาทุนโดยประมาณ การตีราคาสินค้าคงเหลือโดยใช้อัตรากำไรขั้นต้นจะเหมาะสมในกรณีต่อไปนี้

  • เมื่อต้องการทราบราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันใดวันหนึ่ง เพื่อจัดทำงบการเงินระหว่างกาล
  • เมื่อต้องการประมาณราคาสินค้าที่ถูกทำลาย เช่น สินค้าถูกไฟไหม้ หรือสินค้าเกิดความเสียหายจากน้ำท่วม เป็นต้น
  • เมื่อต้องการประมาณราคาสินค้าขึ้นมาใหม่เนื่องจากเอกสารหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับราคาทุนไม่สมบูรณ์
  • เมื่อผู้สอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภายในต้องการสอบราคาสินค้าคงเหลือที่คำนวณได้ตามวิธีอื่นว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

          อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจการต้องการตั้งราคาขาย จะนำ กำไร+ราคาทุน = ราคาขาย เช่น กิจการต้องการกำไร 20% จากราคาทุน ดังนั้น ถ้าทุน 100 บาท แสดงว่าจะต้องขาย เท่ากับ 20+ 100 = 120 บาท ทั้งนี้ การกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นสามารถกำหนดได้ 2 วิธีคือ

1. การกำหนดอัตรากำไรขั้นต่ำ เป็นร้อยละของยอดขาย

          หมายความว่า ถ้านำอัตรากำไรขั้นต้นไปหักจากยอดขายก็จะได้ราคาทุนของสินค้า เช่น กิจการแห่งหนึ่งกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นไว้ 60% จากราคาขาย ดังนี้ ถ้าราคาขาย คือ 100 บาท แสดงว่าราคาทุนของสินค้าจะเท่ากับ 100 – 60 = 40 บาท หรืออีกนัยหนึ่งถ้าขาย 100% จะมีทุนเท่ากับ 40% นั่นเอง

2. การกำหนดอัตรากำไรขั้นต้น เป็นร้อยละของราคาทุน

          หมายความว่า กิจการกำหนดราคาขายโดยนำกำไรไปบวกด้วยราคาทุน เช่น กำหนดอัตรากำไรขั้นต้นเป็น 40% ของราคาทุน หมายความว่า ถ้าทุน 100 บาท กิจการจะตั้งราคาขายเท่ากับ 140 บาท

บทความโดย: https://th.jobsdb.com

 4782
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์