การบัญชีห้างหุ้นส่วน (Accounting for Partnerships)

การบัญชีห้างหุ้นส่วน (Accounting for Partnerships)

          ในประเทศไทยเรามีการจัดตั้ง ธุรกิจหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่มีเจ้าของคนเดียว หรือจัดตั้งร่วมกับผู้อื่นในรูปแบบห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง

          “ห้างหุ้นส่วน” เป็นการจัดตั้งธุรกิจโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นเจ้าของและมีผลประโยชน์ในกิจการร่วมกัน มีบัญชีทุนหุ้นส่วนแยกแสดงส่วนได้ส่วนเสียของแต่ละบุคคล

          การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้นมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership)
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (Registered Ordinary Partnership)
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership)

          เมื่อบุคคลสองคนได้ ตกลงกันที่จะดำเนินกิจการร่วมกัน จำเป็นต้องมีการลงทุนแรกเริ่มของห้างหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนทั้งสองคนจะต้องนำเงินหรือทรัพย์สิน หรือเงินและทรัพย์สินอื่นมาลงทุนเพื่อร่วมดำเนินกิจการด้วยกัน

  1. ลงทุนเป็นเงินสด
  2. ลงทุนด้วยทรัพย์สิน
  3. ลงทุนด้วยเงินสดและทรัพย์สิน

          เนื่องจากในกิจการ ห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนอาจลงทุนไม่เท่ากัน ทำให้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการไม่เท่ากัน หรือมีการกำหนดอัตราส่วนแบ่งกำไรขาดทุนไม่เท่ากัน การบันทึกส่วนได้ส่วนเสียของผู้เป็นหุ้นส่วน จึงจำเป็นต้องแยกบัญชีของแต่ละคนเรียกว่าบัญชีทุนหุ้นส่วน ซึ่งมี 2 แบบ คือ วิธีทุนคงที่ และ วิธีทุนเปลื่ยนแปลง

  1. วิธีทุนคงที่ (Fixed Capital Method) ห้างหุ้นส่วนจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงในส่วนทุนของหุ้นส่วนที่มีลักษณะถาวร เช่น เงินลงทุนเริ่มแรก การเพิ่มทุน และการลดทุน ไว้ในบัญชีทุนหุ้นส่วน สําหรับการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องอื่นๆ เช่น การรับส่วนแบ่งผลจากการดําเนินงาน เงินเดือน โบนัส ดอกเบี้ย ฯลฯ จะบันทึกไว้ในบัญชีกระแสทุน
  2. วิธีทุนเปลี่ยนแปลง (Alternative Capital Method) ห้างหุ้นส่วนจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงในส่วนทุนของหุ้นส่วนทุกรายการ เช่น เงินลงทุนเริ่มแรก การเพิ่มทุน การลดทุน ส่วนแบ่งกําไรขาดทุนเงินเดือน หุ้นส่วน โบนัสหุ้น ส่วน ดอกเบี้ยเงินทุน ฯลฯ ในบัญชีทุนบัญชีเดียว

สิทธิประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน

  1. ผลตอบแทนจากการลงทุน ผู้เป็นหุ้นส่วนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ หากไม่ได้ทำข้อตกลง กฎหมายให้แบ่งผลตอบแทนตามสัดส่วนของการลงทุน
  2. ดอกเบี้ยเงินทุน ห้างหุ่นส่วนอาจคิดดอกเบี้ยเงินทุน ให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนโดยแบ่งจากกําไรขาดทุน ทั้งนี้ ดอกเบี้ยทุนนี้ จะไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายแต่ถือเป็นเกณฑ์หนึ่งในการแบ่งกําไรขาดทุนให้แก่หุ้น ส่วน กําไรขาดทุนที่เหลืออาจแบ่งกันตามอัตราส่วนที่หุ้นส่วนตกลงกันไว้ล่วงหน้าใน สัญญาการคิดดอกเบี้ยทุน ตามข้อตกลงต้องกําหนดเป็นอัตราร้อยละในสัญญาว่าจะคิดจากยอดทุน ณ วันใด เช่น ทุนต้นงวด หรือ ทุนปลายงวด
  3. ดอกเบี้ยเงินกู้หุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วน และผู้เป็นหุ้นส่วนอาจกู้ยืมเงินระหว่างกันดอกเบี้ยเงินกู้ที่จ่ายให้หุ้น ส่วน และดอกเบี้ยที่ได้จากการให้เงินหุ้นส่วนแต่ละคนกู้เงินไปใช้ ห้างหุ้นส่วนต้องถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย และรายได้ตามแต่กรณี
  4. เงินเดือน การให้เงินเดือนแก่ ผู้เป็นหุ้นส่วน จะต้องมีข้อตกลงไว้ในสัญญา โดยถือเป็นการแบ่งผลการดําเนินงานในรูปของเงินเดือน ดังนั้น บัญชีเงินเดือนจึงไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่เป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดสรรแบ่งผลการดําเนินงาน ซึ่งจะแสดงในตอนแบ่งกําไรสุทธิ คือ หลังจากทราบผลกําไรสุทธิจากการดําเนินงานแล้ว
  5. โบนัสให้หุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนอาจตอบแทนหุ้นส่วนที่บริหารงานให้้แก่ห้างหุ้นส่วนในรูปของ โบนัส หุ้นส่วนจึงต้องตกลงกันว่าจะถือโบนัสเป็นค่าใช้จ่าย หรือเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งผลกําไรสุทธิ เพราะถ้าถือว่าโบนัสเป็นค่าใช้จ่ายจะคํานวณโบนัสจากกําไรหลังหักโบนัส แต่ถ้าถือว่าโบนัสเป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดสรรแบ่งกําไรไม่ใช่ค่าใช้จ่ายจะ คํานวณโบนัสจากกําไรสุทธิก่อนหักโบนัส

บทความโดย: https://th.jobsdb.com

 10651
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์