12 วิธี สู่สุขภาพการเงินที่ดี

12 วิธี สู่สุขภาพการเงินที่ดี

หากพูดถึงเรื่องสุขภาพการเงินที่ดี…วันนี้เรามั่นใจหรือไม่ว่า เรามีสุขภาพการเงินที่ดี…ไม่ว่าในวันนี้หรือในอนาคต..เราได้เตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้ว..แต่หากวันนี้ยังไม่มั่นใจ..เรามี 12 วิธี ที่จะทำให้ท่านมีสุขภาพการเงินที่ดี มาแนะนำค่ะ

1.  รู้จักจัดสรร รายได้ 

รายได้เมื่อรับมาแล้ว จัดสรรใช้จ่าย เหลือเก็บออมและลงทุน 10% – 30%

2. จดบันทึกรายรับ รายจ่าย

การบันทึกจะทำให้เรารู้ว่า  เราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง และรายการใดที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ เพื่อจะได้มีเงินเหลือแล้วนำไปออมเพิ่มได้

3. มีบัญชีสำรองฉุกเฉิน

บัญชีนี้ถือว่า สำคัญเผื่อไว้ยามฉุกเฉินควรเตรียม 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน

4. เก็บออมสม่ำเสมอ

วินัยในการออมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ  เมื่อมีรายได้เข้ามา ควรเก็บออมก่อน ที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย ออมเป็นประจำสม่ำเสมอทุกเดือน

5. มีเป้าหมายทางการเงิน

การตั้งเป้าหมายทางการเงิน จะทำให้เรารู้ว่าต้องเก็บเงินเท่าไหร่  ถึงจะสามารถมีเงินได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  ทั้งระยะสั้น  ระยะกลาง ระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนทุนการศึกษา  วางแผนเกษียณ

6. ไม่สร้างหนี้ ที่ไม่จำเป็น

หนี้สิน มีเท่าที่จำเป็น เหมาะสม พิจารณาถึงความสามารถในการชำระ และการปลดหนี้ทุกอย่างก่อนเกษียณ

7. หมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย

การดูแลสุขภาพร่างกาย หมั่นออกกำลังกาย  พักผ่อนให้เพียงพอ ใส่ใจเรื่องอาหารการกินที่มีประโยชน์  เพื่อสุขภาพที่ดี เพราะหากมีปัญหาด้านสุขภาพ  ก็จะมีผลกระทบต่อการทำงาน  ค่าใช้จ่าย  ค่ารักษาพยาบาล การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง

8. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเงิน

การที่เรามีความรู้ทางการเงิน จะช่วยให้เรามีระบบการจัดการเงินที่ดี มีการวางแผนการเงินที่ดี  รวมถึงการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ การเงิน ธุรกิจ เศรษฐกิจ  เพื่อให้เรารู้ทันสถานการณ์ทางการเงิน ซึ่งอาจมีผลกระทบกับเรา  และเราก็จะสามารถเตรียมการณ์ได้ทันท่วงที

9. รู้จักการป้องกันความเสี่ยง

อย่าใช้ชีวิตบนความประมาท เรื่องการป้องกันความเสี่ยง ก็ควรคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็น ด้านประกันชีวิต  ประกันสุขภาพ ประกันภัย  เพราะหากเกิด เหตุการณ์ไม่คาดคิด  ก็จะสามารถลดความเสียหายลงได้

10. รู้จักการลงทุน เพิ่มความมั่งคั่ง

ในยุคปัจจุบัน หากไม่รู้จักการลงทุน เพื่อนำเงินที่มีไปต่อยอดแล้ว ถือว่าเสียโอกาสด้านผลตอบแทนมากเลยทีเดียว  เพราะการฝากเงินธนาคาร ไม่ได้ให้ผลตอบแทนมากเท่าในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบแทนเงินฝาก ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถชนะอัตราเงินเฟ้อได้เลย

11. มีช่องทางรายได้มากกว่า 1 ทาง

เมื่อรายจ่ายยังมีหลายทาง การมีรายได้ทางเดียว ถือว่ามีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียว เพราะหากรายได้หลักนั้นเกิดมีปัญหาต้องสะดุด หยุดลง  โดยที่ไม่มีรายได้อีกทางรองรับ  การหาช่องทางรายได้เพิ่ม ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

12 . การวางแผนภาษี

เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนให้ถูกต้อง และครบถ้วน  เพื่อประหยัดเงินที่จ่ายภาษี สามารถนำเงินที่ประหยัดภาษีมาเป็นเงินออมเพิ่มได้

บทความโดย : www.finnomena.com

 830
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์