การคิดค่า ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เมื่อต้องปฎิบัติตามมาตรฐานบัญชี

การคิดค่า ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เมื่อต้องปฎิบัติตามมาตรฐานบัญชี

ประเด็นที่อยากนำเสนอนักบัญชี และผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2554 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ท่านจะเห็นรูปแบบหน้าตางบการเงินเปลี่ยนไปจากปีก่อนบ้าง ก็ไม่ต้องแปลกใจเพราะเชื่อว่านักบัญชีส่วนใหญ่ทราบดีว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบงบการเงินให้เป็นไปตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรื่อง "รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554" จะขอยกตัวอย่างที่มีคำถามจากผู้ประกอบการเช่น งบดุลเดิมหายไปใหน ...ได้รับคำตอบว่าได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นงบแสดงฐานะการเงิน หรือคำถามกึ่งข้องใจนิดๆว่า กิจการของเราไม่เคยมีลูกหนี้การค้าเลย....คุณแน่ใจหรือว่าออกงบถูกต้องแล้ว อ๋อ..ใจเย็นๆครับ ตามข้อกำหนดใหม่ของรายการย่อได้กำหนดให้จัดประเภทรายได้ค้างรับ และรายได้รับล่วงหน้ารวมอยู่ในชื่อบัญชีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น 

ดังนั้นหน้าตาของงบที่ออกปีนี้ก็ควรต้องระวังและให้ความสำคัญ ว่ากิจการของท่านได้จัดทำเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่  เพราะอาจเป็นเหตุให้ถูกเรียกตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฐานะนักอนุรักษ์..ของเก่า 
และถือโอกาสแจ้งให้ทราบว่ามาตรฐานบัญชีที่ใช้กันอยู่ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน โดยมีการแบ่งเป็น ชุดใหญ่ และชุดเล็ก ซึ่งเป็นคำที่นักบัญชีใช้เรียกกันทั่วไป จะกล่าวพอให้เห็นภาพว่าชุดใหญ่หมายถึง TFRS for PAEs (เป็นมาตรฐานที่กำหนดสำหรับกิจการขนาดใหญ่ เช่นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์) ส่วนชุดเล็กหมายถึง TFRS for NPAEs (เป็นมาตรฐานที่กำหนดสำหรับกิจการขนาดเล็ก ที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ)มาตรฐานบัญชีที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยกำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ 

          สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศฉบับที่ 20/2554 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ  ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2554 ให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป 

          ผู้เขียนขอยกตัวอย่างบทที่ 10 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซึ่งถือเป็นพระเอกของเรื่องที่อาจจะมีประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับนักบัญชี  


          ประเด็นสำคัญที่มาตรฐานกำหนดไว้มีดังนี้ 
          1. การวัดมูลค่าของที่ ดิน อาคารและอุปกรณ์ภายหลังการรับรู้รายการ ให้ใช้ราคาทุนเดิม ดังนั้นหากกิจการเคยตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม และบันทึกเป็นส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มและนำไปแสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น ต้องปรับปรุงกลับรายการออกทั้งหมดให้เหลือราคาทุนเดิม โดยวิธีเปลี่ยนทันทีแต่กิจการอาจเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมที่เคยตีราคาเพิ่มในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 

          2. สินทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบชิ้นส่วนอะไหล่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมบำรุงที่สำคัญ หากกิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งรอบบัญชี ก็ให้แยกส่วนประกอบชิ้นส่วนอะไหล่นั้นออกมาบันทึกเป็นรายการสินทรัพย์อีกหนึ่งรายการต่างหาก และคำนวณค่าเสื่อมราคาและประมาณอายุการใช้งานด้วย 

          3. กิจการต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือ(ราคาซาก) และอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ ดังนั้นสินทรัพย์ที่ได้มาในปี 2554 จะต้องกำหนดมูลค่าคงเหลือ(ค่าซาก) ทุกรายการ ว่าเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานที่ประมาณไว้จะมีมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากการขาย ประมาณเท่าไหร่

บทความโดย : http://tac.prosmes.com

 

 2142
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์