ส่วนเกินทุน กำไรสะสม เงินปันผล

ส่วนเกินทุน กำไรสะสม เงินปันผล

ส่วนเกินทุน

                ส่วนเกินทุน ( Paid – in Surplus ) หมายถึง  ส่วนที่เกินกว่าทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วโดยนำไปแสดงภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น  ซึ่งไม่อาจนำไปใช้เป็นเงินปันผลได้  ทั้งนี้ไม่รวมถึงกำไรสะสม  ส่วนเกินทุนเป็นรายการที่มีผลทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น  แต่ไม่ถือเป็นเงินทุนตามกฎหมาย 

กำไรสะสม

                กำไรสะสม ( Retained  Earnings / Accumulated  Earnings / Accumulated  Income / Accumulated  Profit ) หมายถึง   กำไรสุทธิ ที่เกิดจากการดำเนินงาน โอนปิดเข้าบัญชีกำไรสะสม  ซึ่งถ้าปีใดมีกำไรสุทธิจะเป็นผลให้กำไรสะสมเพิ่มขึ้น แต่ถ้าปีใดมีผลขาดทุนจะเป็นผลทำให้กำไรสะสมลดลง

ถ้าเป็นบริษัทจำกัด  หมายถึง  กำไรที่เหลือจากการแบ่งสันปันส่วนกันแล้วและตกลงกันว่าให้นำส่วนที่เหลือนั้นเก็บไว้ในบัญชีบริษัท เพื่อนำไปทำอะไรก็แล้วแต่จะตกลงกันต่อไป

สำรอง

                สำรอง ( Reserve ) ในทางการบัญชีใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน 3 อย่างคือ

1. บัญชีปรับมูลค่า ( Valuation  Account ) หมายถึง  บัญชีที่ต้องนำไปปรับยอดกับบัญชีอื่น ( หนึ่งบัญชีหรือมากกว่า )

เพื่อให้ได้มูลค่าสุทธิ เช่น บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม  บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น  ในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า “Allowance” แทนคำว่า “Reserve”

                2. สำรองเผื่อหนี้สินที่มีจำนวนเงินไม่แน่นอน ( Estimated  of  a  liability  of  uncertain  account ) ปัจจุบันเรียกสำรองชนิดนี้ว่า หนี้สินโดยประมาณ”  เช่น หนี้ค่าภาษีโดยประมาณ  หนี้ค่าสมนาคุณลูกค้าโดยประมาณ

                3. สำรองซึ่งจัดสรรจากกำไรสะสม ( Appropriation  of  Retained  Earnings )  อาจเป็นการจัดสรรตามกฎหมาย  ตามข้อผูกพัน  หรือตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารงานของบริษัท  การจัดสรรกำไร-สะสมของบริษัทจะไม่ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลง  เพราะเป็นแต่เพียงโอนยอดเงินจากบัญชีกำไรสะสมไปยังบัญชีกำไรสะสมจัดสรร

บทความโดย  :  https://sites.google.com

 15267
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์