การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

การรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 51 ได้กล่าวไว้ว่า

1. กิจการจะรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์ทุกข้อต่อไปนี้

1.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะเกิดจากสินทรัพย์นั้น

1.2 ราคาทุนของสินทรัพย์สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

2. กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกด้วยราคาทุน

การรับรู้รายการเริ่มแรกของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ขึ้นอยู่กับวิธีการได้มา กล่าวคือ

1. โดยการซื้อ กิจการต้องบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของสินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีตัวตนโดยใช้ราคาทุน ซึ่งก็คือราคาที่จ่ายซื้อนั่นเอง เช่น สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ที่ซื้อสิทธิจากบุคคลอื่น หรือกิจการทำการทดลองค้นคว้าและประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นได้แล้วไปขอจดทะเบียน ราคาทุนของสิทธิบัตร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการค้นคว้า ทดลอง ค่าทนายความ ค่าจดทะเบียน และค่าต่อสู้คดีเพื่อป้องกัน สิทธิบัตร หรือถ้าเป็นสัมปทาน ราคาทุนของสัมปทานก็คือค่าใช้จ่ายในการขอสัมปทาน เป็นต้น

2. โดยการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ซึ่งแยกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

2.1 การแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ที่ต่างกันหรือไม่คล้ายคลึงกัน

2.2 การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน

บทความโดย  : https://sites.google.com

 3662
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์