การลงทุนและอิสรภาพทางการเงินคืออะไร

การลงทุนและอิสรภาพทางการเงินคืออะไร

เราอยู่ในโลกทุนนิยม มีหน้าที่สองอย่างคือทำงานหาเงิน และนำเงินมาลงทุนให้เงินมันทำงาน เพื่อหาผลตอบแทนมาตอบสนองความต้องการไปวันๆ คนเราเกิดมาเข้าโรงเรียนเขาก็สอนแค่ก็เรียนจมมาได้มีความรู้ไปทำงานหาเงิน แต่เรื่องการนำเงินไปลงทุนให้เงินทำงานไม่มีสอนในโรงเรียน (สงสัยกลัวคนรู้เยอะๆแล้วนายทุนจะขาดแรงงาน)

การลงทุนคืออะไร

การวางแผนการเงินในโลกทุนนิยมเราต้องวางแผนว่าจะหาที่มาของเงินจากไหน และจะนำเงินไปใช้อย่างไร

โดยทั่วไปที่มาของคนในโลกของทุนนิยมมีที่มาดังนี้

  • แรงงาน = สมอง + แรง => ค่าแรง
  • ผู้ประกอบการ = สมอง  + ทุน + แรง => ค่าแรง และ กำไร
  • นักลงทุน = สมอง + ทุน  => กำไร

เมื่อมีรายได้ ก็เอาไปใช้จ่ายเหลือก็เอาไปเก็บออม มีเงินออมก็นำไปลงทุน

ตามตำรา การลงทุนก็คือ การที่ยอมสละการบริโภคในปัจจุบัน นำในลงทุน เพราะคาดว่าในอนาคตจะได้รับผลตอบแทนกับมาทำให้ได้รับการบริโภคมากขึ้น สั้นๆแค่นี้แหละ

อิสรภาพทางการเงินคืออะไร

ถ้าคุณตัดสินใจถูกต้องได้รับผลตอบแทนมาตามที่เราคาดไว้ ในอนาคตเราก็จะมีเงินให้บริโภคมากขึ้นตามคาด ถ้าเราทำได้บ่อยๆ ก็จะเกิดการสะสมทุนแล้วมีมั่งคั่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าถึงจุดหนึ่งที่รายได้จากการลงทุนมากกว่ารายจ่ายประจำคุณก็จะมีอิสรภาพทางการเงิน คือไม่อด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสุขนะ คนมีสตางค์ก็มีความทุกข์ในแบบของเขา

ปัจัยกำหนดการตัดสินใจลงทุน

คนเรามีเรื่องให้ตัดสินใจลงทุนทุกวัน แต่ด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเลือกลงทุนในทุกทางเลือกที่ผ่านเข้ามาได้ จะเลือกลงทุนทางหนึ่ง ก็ต้องยอมสละอีกทางหนึ่งเราต้องตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรว่าทำอย่างไรจึงคุ้มค่าที่สุด

ในทางเศรษฐศาสตร์ การจัดสรรที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือจัดทรัพยากรไปในทางเลือกที่มีต้นทุนค่าเสียโอกาสต่ำที่สุด (ผลตอบแทนของทางเลือกที่เรายอมสละไปต่ำที่สุด) เอาภาษามนุษย์ก็คือเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดนั่นเอง

ปัจจัยกำหนดการลงทุน

ในการลงทุนนักลงทุนจะมีผลตอบแทนที่คาดหวังอยู่ในใจ เหมือนว่าไม่ทำอะไรอยู่เฉยๆก็ได้รับผลตอบแทนเท่ากับผลตอบแทนที่คาดหวัง คนเราส่วนใหญ่ก็ฝากแบงค์กินดอก อย่างมากก็ 3% ต่อปี

เมื่อโอกาสการลงทุนผ่านมา ก็เหมือนนิทานเรื่องหมาน้อยกับเงา ที่ไปเจอหมาอีกตัวในน้ำที่มันคาบเนื้อชินใหญ่กว่า อาจมีคนมาเสนอว่าลงทุนกับเราสิให้ผลตอบแทน 100% ต่อปี มากกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังคือเอาไปฝากแบงค์ 3% ต่อปี ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าความเสี่ยงไม่สูง (มั้ง) อยู่ในระดับที่รับได้(มั้ง) ก็จะกระโจนใส่เข้าไปซื้อ แล้วก็...

เล่นกับความเสี่ยงอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว

ความเสี่ยงเป็นทั้ง อันตราย และ โอกาส ถ้าไม่กล้ายอมรับความเสี่ยงก็ไม่ได้โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทน จะเป็นนักลงทุนชีวิตต้องอยู่กับความเสี่ยงให้ได้ เพราะธรรมชาติของทุกสิ่งล้านตกภายใต้กฎไตรลักษณ์คือ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัย และไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเราได้

เมื่อหนีความเสี่ยงไม่พ้นก็ต้องหาวิธีจัดการมัน เทคนิคจัดการความเสี่ยงที่ดีคือ อย่าโลภเกินความรู้ ยิ่งถ้าเอา “ความโลภ” เข้าไปขยี้รวมกับ “ความรู้ไม่จริง” การลงทุนนั้นๆ ยิ่งน่ากลัวกันไปใหญ่ รู้ครึ่งๆ กลางๆ สร้างความเสียหายมากกว่าไม่รู้อะไรเลยแล้วมั่วๆไปอีก ในเรื่องการลงทุนมีคอร์สและตำรามากมายทั้งฟรีและไม่ฟรีให้ท่านเลือก  TSI ของตลาดหลักทรัพย์ก็ดี, อยากรู้ลึกก็ไปลงสอบ CFA CISA  เรียนรู้ไปเถอะไม่เสียหาย

เมื่อใจพร้อม แนะนำว่าปิดจอแล้วไปเลือกดูศึกษาเปรียบเทียบสินทรัพย์ที่เราสนใจให้เยอะๆ จะทำให้ความรู้พัฒนาเป็นความชำนาญที่สุด ของดีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต่ำนั้นหาง่ายแต่ของดีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูงๆ ต้องค้นเยอะเปรียบเทียบสินทรัพย์หลายๆตัวถึงจะเจอ

ใจพร้อม ความรู้พร้อม ไม่มีทุนทำอย่างไร

การบอกว่าไม่มีทุนเป็นข้ออ้างครับ การลงทุนหลายอย่างไม่ใช้เงินเยอะอย่างที่คิดครับ อย่างอสังหาแค่เป็นนายหน้าก็รวยสะดือปริ้นและ อยากเป็นเจ้าของธุรกิจไม่มีเงินก็ลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้ ตลาดเขาให้ซื้อขั้นต่ำ 100 หุ้น บางบริษัทหุ้นละ 5 บาท ซื้อร้อยหุ้นก็ใช้เงินแค่ 500 บาท

ดังนั้นถ้าอยากรวยอย่างยั่งยื่นก็พยายามรักษาสติ อย่าโลภเกินความรู้ ก็จะสามารถลงทุนให้ผลตอบแทนที่เราพอใจในระดับความเสี่ยงที่รับได้ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

เงินไม่ทำให้คนเรารวย แต่ ‘ความรู้’ และ ‘วินัยทางการเงินที่ดี’ ต่างหากที่ทำให้คนเรารวยได้

บทความโดย : www.investidea.in.th

 1762
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์