ข้อผิดพลาดที่มักพบของนักลงทุนที่วิเคราะห์และใช้ข้อมูลทางการเงิน

ข้อผิดพลาดที่มักพบของนักลงทุนที่วิเคราะห์และใช้ข้อมูลทางการเงิน

ข้อผิดพลาดที่มักพบของนักลงทุนที่วิเคราะห์และใช้ข้อมูลทางการเงิน จากประสบการณ์ที่เห็นมามากกว่า 20 ปี ของ อาจารย์ อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล สรุปได้ 4 ข้อ ดังนี้

1. ส่วนใหญ่สนใจแต่ Bottom line (กำไรสุทธิ)


  ส่วนใหญ่แทบทุกคนแม้แต่นักวิเคราะห์โบรคเกอร์ต่างๆ จะมุ่งเน้นแนะนำว่าหุ้นน่าสนใจหรือไม่โดยบอกเพียงกำไรเติบโตเพิ่มมากน้อยหรือลด แต่มักไม่ได้ดูว่ากำไรดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร ช่วงที่ผ่านมาหลายบริษัทมีกำไรที่เกิดจากกำไรที่ไม่ได้มาจากการดำเนินงาน (กำไรพิเศษ) เช่นการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน มีกำไรจากการต่อรองจากการซื้อบริษัทย่อย เป็นต้น ซึ่งกำไรเหล่านี้เป็น one-time gain/loss


2. ดูแนวโน้มกำไรเพียงปีต่อปี 


หรือไตรมาสนี้กันปีที่แล้วหรืองวดเดียวกันของปีก่อน ผลสืบเนื่องมาจากข้อแรก ทำให้กำไรก้าวกระโดดมากเป็นพิเศษ และการมองการเติบโตเพียง Y-o-Y หรือ Q-to-Q อาจเกิดเพียงระยะสั้นเท่านั้นการลงทุนแบบ Value Investor ควรมองกำไรอย่างน้อย 4-5 ปี


3. สนใจรายละเอียดมากเกินความจำเป็น อ่านงบการเงินแบบนักบัญชี แต่ไม่อ่านแบบนักลงทุน 


ไม่มององค์รวมก่อน มุ่งแต่รายละเอียด จากประสบการณ์ที่ผ่านๆมา คำถามที่ได้รับจากผู้ลงทุนหลายๆ ท่าน พบว่า บางครั้งมุ่งสนใจเฉพาะรายละอียดบางรายการ ทั้งที่บางคครั้งนักบัญชีเองอาจจะยังไม่รู้รายละเอียด หรือยังไม่เข้าใจในมาตรฐานบัญชีด้วยซ้ำ หลายๆ รายการในงบการเงิน บางครั้งก็ปรับปรุงตัวเลขไปตามคำแนะนำของผู้สอบบัญชี (เพื่อจะได้ออกความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข) เช่นสินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี มาอย่างไรทำไมได่เท่านั้น้ท่านี้ ปกติรายการที่เปรียบเทีบยด้วย common size ถ้าขนาดต่ำกว่า 5% ผมแทบจะไม่สนใจเลย เพราะผลกระทบต่อกำไรจะน้อยมาก เว้นแต่เปลี่ยนแปลงสัดส่วนเทียบปีต่อปีอย่างมีนัยสำคัญ

 สำหรับคนที่เรียนวิธีการอ่านงบกับผมแล้วนั้น ผมจะเน้นให้ใช้สมการบัญชี พิจารณาการเปลี่ยนแปลงเป็นหลักเบื้องต้นก่อน สินทรัพย์รวมเปลี่ยนไปเท่าใด เปลี่ยนในหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน และค่อยเจาะลึกลงไป จากนั้นพิจารณาว่าเอาเงินทุนมาจากอะไร หนี้สินหรือส่วนทุน ทำให้ด้เงินทุนจากกำไรลดลงถ้าก่อนี้มาจากหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน ส่วนทุนได้มาจากอะไร กำไร(สะสม)หรือเพิ่มทุน (การจ่ายปันผลออกไปย่อมได้ทุนจากกำไรลดลง) บางคนสนใจว่าลงบัญชีอย่างไร ซึ่งบางครั้งอาจไม่จำเป็นนัก แค่เข้าใจว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามสมการบัญชีเป็นอย่างไรก็เพียงพอที่จะประเมินธุรกิจแล้ว เพราะถ้ากระทบด้านสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่ว่าจะชื่ออะไรก็คือสินทรัพย์หมุน้วียนอยู่ดีและ current ratio ก็ไม่เปลี่ยนไปจากการคำนวณอัตราส่วน

4. ขาดความเข้าใจการดำเนินธุรกิจ และเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับผลที่นำเสนอรายงานทางการเงินไม่ได้ 


หลายครั้งที่งบการเงินได้บอกนัยทางธุรกิจผ่านงบการเงิน เช่นตัวอย่างง่ายๆด้านขาย ถ้าเป็นกิจกรรมหลักปกติ เมื่อเกิดกิจกรรมขายขึ้นย่อมทำให้เกิดลูกหนี้การค้าขึ้นและถ้าเก็บเงินได้ ลูกหนี้จะเปลี่ยนเป็นเงินสด ค่าขายเพิ่มและลูกหนี้หรือเงินสดพิ่ม การมีลูกหนี้คงค้างในงบเพิ่ม ย่อมแสดงว่ามีการบันทึกรายได้(ขาย) แต่ยอดคงค้างคือรายการที่ยังไม่เก็บเงิน คงค้างมากแสดงว่าขายแล้วยังไม่เรียกเก็บเงินอีกมาก การจะดูว่าผิดปกติหรือไม่ก็ตรวจสอบภาพรวมได้จากการวิเคราะห์ Accounting receivables turnover เป็นต้น หรือกรณีธุรกิจมีลักษณะเป็น Cyclical Business ราคาสินค้ามีลักษณะขึ้นลงเป็นวัฏจักรยาวนานรอบละสามถึงสี่ปี ผลการดำเนินงานและโครงสร้างทุนจะแปรเปลี่ยนได้ตามวงจรธุรกิจ หากไม่เข้าใจก็อาจมองหรือประมาณการผิดพลาดได้ ธุรกิจธนาคารเชื่อมโยงกับด้านเศรษฐกิจระดับมหภาคสูง ถ้าวิเคราะห์ระดับมหภาคผิดก็จะประเมินผลการดำเนินงานผิดพลาดเป็นต้น

นั่นคือ 4 ประเด็นหลักๆ ที่เจอมาตลอดจากทั้งนักวิเคราะห์เอง หรือจากนักลงทุนที่วิเคราะห์หุ้นจากกงบการเงินเอง ความจริงในแต่ละเรื่องมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก แต่พยายามสรุปเป็นกลุ่มหลักๆ ในความผิดพลาดมีอีกหลายอย่าง เช่น การประเมินมูลค่าหุ้น ในรูปแบบต่างๆทั้ง DCF P/E PEG P/BV หรือการหา growth ความเข่าใจหลักการเงินหรือการบัญชีที่ผิดๆ ทำให้ใช้งานและตัดสินใจไม่เป็นไปตามหลักที่ถูกต้อง อาจได้กำไรช่วงสั้นแต่เสียหายได้ในระยะยาว

บทความโดย : www.investidea.in.th 

 1607
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์