การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้

การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้

1. ความหมายของผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้

 ผลิตภัณฑ์ร่วม (Joint product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดขึ้นไปซึ่งผลิตได้จากวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเดียวกัน หากผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดสามารถนำออกขายได้ในระดับราคาใกล้เคียงกันก็มักถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม เช่น การกลั่นน้ำมันดิบย่อมได้ผลิตภัณฑ์หลายประเภท ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันก๊าด ยางมะตอย และผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอื่น ๆ หรือในการชำแหละสุกร ก็จะได้เนื้อสันใน เนื้อสันนอก เนื้อสะโพก เครื่องใน ไขมัน ฯลฯ พร้อมกัน

ผลิตภัณฑ์พลอยได้ (By product) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญอันเนื่องมาจากกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์หลัก โดยปกติปริมาณ และมูลค่าของผลิตภัณฑ์พลอยได้จะต่ำกว่าผลิตภัณฑ์หลักมาก

            การตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ประเภทใดควรเข้าลักษณะใดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากวิธีคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีแตกต่างกันมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ภายหลัง ในกรณีมีข้อสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตร่วมกันนั้นควรจัดเข้าประเภทใด กรณีเช่นนี้ให้พิจารณาที่มูลค่าขายหรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน หากมีราคาในระดับใกล้เคียงกันจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม แต่ถ้ามีราคาแตกต่างกันอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงจะถือเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ส่วนที่มีราคาต่ำกว่ามาก ๆ จะเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมเดียวกัน กิจการแห่งหนึ่งอาจถือเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ในขณะที่กิจการอีกแห่งถือเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ การตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายบริหารและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

การตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์เป็นชนิดใดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากวิธีการคิดต้นทุนและการบันทึกบัญชีมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อข้อมูลทางการบัญชี สำหรับต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ มีดังนี้

ต้นทุนร่วม (Joint cost) หมายถึง ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดที่เกิดผลิตภัณฑ์หลายชนิด ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นจุดแยกตัวหรือจุดแยกออก (Split-off point) ดังนั้นจุดแยกตัวจึงเป็นจุดที่แยกผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั่นเอง

ต้นทุนหลังจุดแยกตัว หรือต้นทุนผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว (Separable costs) คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่งไปผลิตต่อจนเสร็จพร้อมที่จะขายได้ ต้นทุนหลังจุดแยกตัวจะเท่ากับต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นหลังจุดแยกตัวจนกระทั่งผลิตเสร็จ ข้อแตกต่างจากต้นทุนประเภทนี้กับต้นทุนร่วม คือ เราสามารถทราบได้ว่า ต้นทุนที่เกิดขึ้นหลังจุดแยกตัวเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใด จำนวนเท่าใด จึงคำนวณต้นทุนเข้ากับผลิตภัณฑ์ได้โดยง่าย

 

2. การบัญชีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ร่วม

             เนื่องจากผลิตภัณฑ์ร่วมเกิดจากกระบวนการผลิตเดียวกัน เป็นการยากที่จะคำนวณต้นทุนการผลิตในกระบวนการผลิตร่วม (Joint process) ให้กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด จึงต้องมีการปันส่วนต้นทุนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพการผลิต วัตถุประสงค์ของการปันส่วนต้นทุนร่วมก็เพื่อจะตีราคาสินค้าคงเหลือและจัดทำงบการเงินประจำงวด เพราะถ้ากิจการไม่ทราบต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ก็ไม่สามารถคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย ตีราคาสินค้าคงเหลือ และไม่สามารถจัดทำงบการเงินได้

            ในทางปฏิบัติ กิจการอาจขายผลิตภัณฑ์ร่วมทันที ณ จุดแยกตัว หรืออาจนำไปผลิตต่อ การตัดสินใจจะขายหรือผลิตต่อ ขึ้นกับสภาพการผลิตของกิจการ และกำไรส่วนเพิ่ม (Incremental profit)

            วิธีการปันส่วนต้นทุนร่วมมี 4 วิธี ได้แก่

1) วิธีถัวเฉลี่ย (Average method)  แบ่งโดยถัวเฉลี่ยต้นทุนให้กับผลิตภัณฑ์ทุกชนิดตามจำนวนหน่วยที่ผลิตได้ โดยถือหลักว่าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดได้ผ่านกระบวนการผลิตอันเดียวกันก็ควรจะได้รับต้นทุนการผลิตเท่า ๆ กัน นั่นคือ ต้นทุนก่อนจุกแยกตัวต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะเท่ากันซึ่งอาจเป็นปัญหาในการรายงานผลิกำไรขาดทุนของกิจการ สินค้าบางชนิดจะขาดทุน บางชนิดจะได้กำไรมาก อันเนื่องมาจากราคาขายที่แตกต่างกัน วิธีนี้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมใบยาสูบ แป้ง การแปรรูปไม้ เป็นต้น

2) วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted average method) ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีข้อแตกต่างกัน เช่น ในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวนวัตถุดิบที่ใช้ เวลาที่ใช้ผลิตต่างกัน จึงเอาข้อแตกต่างมาพิจารณาในรูปของน้ำหนักให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก่อน แล้วจึงแบ่งต้นทุนร่วมให้ตามสัดส่วนของน้ำหนักที่คำนวณได้ วิธีนี้ใช้กับอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรือผลไม้กระป๋อง น้ำมัน เคมีภัณฑ์ เป็นต้น วิธีนี้อาจมีปัญหาในการกำหนดจำนวนน้ำหนักที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด

3) วิธีราคาตลาด (Market value) หรือ มูลค่าขายสัมพัทธ์ (Relative sales value) ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ เพื่อหวังกำไร ดังนั้น ราคาขายหรือราคาตลาดของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะครอบคลุมส่วนที่เป็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมทั้งกำไรที่กิจการต้องการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ราคาขายมีส่วนสันพันธ์กับต้นทุน ผลิตภัณฑ์ชนิดใดที่มีราคาขายต่อหน่วยสูงก็น่าจะมีต้นทุนสูงตามไปด้วย และผลิตภัณฑ์ชนิดใดมีราคาต่อหน่วยต่ำก็จะมีต้นทุนต่ำไปตามสัดส่วน

- มูลค่าขายสัมพัทธ์หรือราคาตลาด เกณฑ์นี้จะนำมาใช้ในกรณีที่กิจการนำสินค้าออกขายทันที ณ จุดแยกตัว

            - มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์ จะนำมาใช้ในกรณีที่กิจการนำผลิตภัณฑ์ไปผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว  ซึ่งมูลค่าขายที่ถูกประมาณขึ้นมาภายใต้สภาพการค้าโดยปกติ แล้วหักด้วยต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในกากรผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว กิจการที่ไม่สามารถหาราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ ณ จุดแยกตัวเนื่องจากไม่มีตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ อาจใช้เกณฑ์มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์ในการปันส่วนต้นทุนร่วม

4) วิธีอัตรากำไรคงที่ ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตได้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมที่จะให้กำไรแก่กิจการในอัตราเท่าเทียมกัน จึงมีการกำหนดอัตรากำไรที่ต้องการไว้ล่วงหน้าแล้วนำอัตรากำไรนี้ไปคำนวณจำนวนกำไรที่คาดว่าจะได้รับจากผลิตภัณฑ์ร่วมแต่ละประเภท และนำไปคำนวณหาต้นทุนรวมและต้นทุนก่อนจุดแยกตัว ซึ่งเป็นต้นทุนร่วมที่แบ่งให้สินค้าแต่ละชนิด

การปันส่วนต้นทุนร่วม พิจารณาแยกเป็น 2 กรณี คือ แสดงการขายทันที ณ จุดแยกตัวโดยไม่นำไปผลิตต่อ และ แสดงการขายหลังผลิตเพิ่มเติมหลังจุดแยกตัว เป็นดังนี้

 

2.1 การปันส่วนต้นทุนร่วม ณ จุดแยกตัว โดยไม่นำไปผลิตเพิ่มเติม

            ตัวอย่าง บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด ผลิตสินค้าได้ 3 ชนิด ต้นทุนร่วมในการผลิตเท่ากับ 360,000 บาท กิจการนำสินค้าทั้งหมดออกขายทันที ณ จุดแยกตัว ข้อมูลการผลิตและขายทั้ง 3 ชนิด ในระหว่างเดือน มกราคม 2548 มีดังนี้

 

น้ำหนักที่ผลิตได้ (กิโลกรัม)

ปริมาณที่ผลิต (หน่วย)

ปริมาณขาย (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

สินค้า ก

10,000

5,000

4,000

32

สินค้า ข

15,000

6,000

5,000

24

สินค้า ค

5,000

7,000

6,000

28

รวม

30,000

18,000

15,000

 

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด โดยแบ่งต้นทุนร่วม เป็นดังนี้

1) วิธีถัวเฉลี่ย

ต้นทุนร่วมต่อหน่วย       = ต้นทุนร่วมทั้งหมด/ปริมาณรวมของสินค้า
                                    = 360,000/18,000 
                                    
=  20 บาทต่อหน่วย

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

ปริมาณผลิต

ต้นทุนร่วมแบ่งให้

ต้นทุนต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

กำไรต่อหน่วย

%ของกำไรต่อยอดขาย

5,000

100,000

20

32

12

37.50

6,000

120,000

20

24

4

16.60

7,000

140,000

20

28

8

28.60

รวม

18,000

360,000

 

 

 

 

 

2) วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ใช้นำหนักของสินค้าแต่ละชนิด)

ต้นทุนร่วมต่อหน่วย      = ต้นทุนร่วมทั้งหมด/น้ำหนักรวมของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ผลิตได้
                                    = 360,000/30,000  
                                    
= 12 บาทต่อปอนด์

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

น้ำหนักที่ผลิตได้

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้

ปริมาณผลิต

ต้นทุนต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย

% ของกำไรต่อยอดขาย

10,000

120,000

 5,000

24

32

8

25

15,000

180,000

 6,000

30

24

(6)

(25)

 5,000

  60,000

 7,000

8.57

28

19.43

69.4

รวม

30,000

360,000

18,000

 

 

 

 

 

3) วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

อัตราร้อยละของต้นทุนร่วมต่อมูลค่าขาย         = ต้นทุนร่วม x 100/มูลค่าขาย
                                                                    = 360,000 x 100/500,000             
                                                                    
= 72%

การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

ปริมาณที่ผลิต

ราคาขายต่อหน่วย

มูลค่าขาย

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้

ต้นทุนต่อหน่วย

กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย

% ของกำไรต่อยอดขาย

 5,000

32

160,000

115,200

23.04

8.96

28

 6,000

24

144,000

103,680

17.28

6.72

28

 7,000

28

196,000

141,120

20.16

7.84

28

รวม

18,000

 

500,000

360,000

 

 

 

 

4) วิธีอัตรากำไรคงที่ (สมมติกำหนดอัตรากำไรที่ต้องการ 25% ของมูลค่าขาย)

ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ร่วม        = มูลค่าขายสินค้า  กำไรที่คาดว่าจะได้รับ
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ก           = 160,000 – 25%(160,000)           = 120,000บาท
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ข           = 144,000 – 25%(144,000)           = 108,000บาท
ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของผลิตภัณฑ์ ค           = 196,000 – 25%(196,000)           = 147,000บาท
การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนร่วมแสดงได้ดังนี้

สินค้า

ปริมาณผลิต

ต้นทุนร่วมก่อนจุดแยกตัว

ต้นทุนต่อหน่วย

ราคาขายต่อหน่วย

กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วย

%ของกำไรต่อยอดขาย

5,000

120,000

24

32

8

25

6,000

108,000

18

24

6

25

7,000

147,000

21

28

7

25

หากปรับอัตรากำไรที่ต้องการจาก 25% ของมูลค่าขาย เป็น 28% ของมูลค่าขาย ผลการคำนวณจะเป็นเช่นเดียวกับวิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

เมื่อสรุปผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิดตามเกณฑ์การปันส่วนที่แตกต่างกันสรุปผลดังนี้

เกณฑ์การปันส่วน

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

อัตรากำไรขั้นต้น (%)

1. วิธีถัวเฉลี่ย

20

20

20

37.50

16.60

28.60

2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

24

30

8.57

25.00

(25.00)

69.40

3. วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์

23.04

17.28

20.16

28

28

28

4. วิธีอัตรากำไรคงที่ (28%)

23.04

17.28

20.16

28

28

28

 การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบกำไรขาดทุน (บางส่วน)
สำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2548

วิธีถัวเฉลี่ย

 

รวม

ขาย

128,000

120,000

168,000

416,000

หัก ต้นทุนสินค้าที่ขาย

80,000

100,000

120,000

300,000

กำไรขั้นต้น

48,000

20,000

48,000

116,000

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

 

รวม

ขาย

128,000

120,000

168,000

416,000

หัก ต้นทุนสินค้าที่ขาย

96,000

150,000

51,000

297,000

กำไรขั้นต้น

32,000

(30,000)

117,000

119,000

วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์และวิธีอัตรากำไรคงที่

 

รวม

ขาย

128,000

120,000

168,000

416,000

หัก ต้นทุนสินค้าที่ขาย

92,000

86,000

121,000

299,000

กำไรขั้นต้น

36,000

34,000

47,000

117,000

บริษัท พรนุรักษ์ จำกัด
งบดุล (บางส่วน)
วันที่ 31 มกราคม 2548

 

วิธีถัวเฉลี่ย

วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

วิธีมูลค่าขายสัมพัทธ์และวิธีอัตรากำไรคงที่

สินค้าคงเหลือ

 (1,000 x 20)= 20,000

 (1,000 x 24)= 24,000

 (1,000 x 23.04)= 23,040

 (1,000 x 20)= 20,000

 (1,000 x 30)= 30,000

 (1,000 x 17.28)= 17,280

 (1,000 x 20)= 20,000

 (1,000 x 8.57)=8,570

 (1,000 x 20.16)= 20,160

                      60,000

                      62,570

                          60,480

 

2.2 การปันส่วนต้นทุนร่วม ณ จุดแยกตัว โดยนำไปผลิตเพิ่มเติม

            ตัวอย่าง จากตัวอย่างเดิม บริษัทนำสินค้า ข และสินค้า ค ไปผลิตเพิ่มเติมเนื่องจากไม่มีตลาดรับซื้อโดยเกิดค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มเติม 40,000 บาท และ 110,000 บาทตามลำดับ โดยมีปริมาณผลิตและขายสินค้า ดังนี้

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ปริมาณขาย (หน่วย)

สินค้าคงเหลือ (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย(บาท)

5,000

4,000

1,000

32

6,000

5,000

1,000

40

7,000

6,000

1,000

50

            ข้อมูลต่าง ๆ สรุปได้ดังภาพ

1) วิธีถัวเฉลี่ย เมื่อใช้ปริมาณหน่วยผลิตเป็นเกณฑ์ในการปันส่วนต้นทุน ซึ่งสินค้าทุกชนิดได้รับการปันส่วนหน่วยละ 20 บาท แล้วจึงนำต้นทุนเพิ่มหลังจุดแยกตัวมารวม เพื่อหาต้นทุนทั้งหมดและต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยโดยการปันส่วนต้นทุนรวมแสดงได้ดังนี้ 

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท)

ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม (บาท)

ต้นทุนรวม(บาท)

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

กำไรต่อหน่วย (บาท)

%กำไรต่อยอดขาย

 5,000

100,000

-

100,000

20

32

12

37.5

 6,000

120,000

 40,000

160,000

26.67

40

13.33

33.3

 7,000

140,000

110,000

250,000

35.71

50

14.29

28.6

รวม

18,000

360,000

150,000

510,000

 

 

 

 

 

2) วิธีมูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์  

            มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์       = มูลค่าขายของหน่วยทั้งหมดที่ผลิตได้  ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

ยอดขายรวม (บาท)

ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม (บาท)

มูลค่าขายสุทธิสัมพัทธ์(บาท)

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท)

ต้นทุนรวมทั้งหมด (บาท)

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

กำไรต่อหน่วย (บาท)

%กำไรต่อยอดขาย

 5,000

32

160,000

-

160,000

 96,000

 96,000

19.20

12.80

40.0

 6,000

40

240,000

 40,000

200,000

120,000

160,000

26.67

13.33

33.3

 7,000

50

350,000

110,000

240,000

144,000

254,000

36.29

13.71

27.4

รวม

18,000

 

750,000

150,000

600,000

360,000

510,000

 

 

 

 

3) วิธีอัตรากำไรคงที่ (กำหนดอัตรากำไรคงที่ 32% ของค่าขาย)

            ต้นทุนก่อนจุดแยกตัวของสินค้า = มูลค่าขายของหน่วยทั้งหมดที่ผลิตได้  กำไรที่ต้องการ  - ต้นทุนผลิตเพิ่มเติม

สินค้า

ปริมาณผลิต (หน่วย)

ราคาขายต่อหน่วย (บาท)

ยอดขายรวม (บาท)

จำนวนกำไรที่ต้องการ(บาท)

ต้นทุนผลิตเพิ่ม(บาท)

ต้นทุนร่วมที่แบ่งให้(บาท)

ต้นทุนรวมทั้งหมด (บาท)

ต้นทุนต่อหน่วย (บาท)

กำไรต่อหน่วย (บาท)

%กำไรต่อยอดขาย

 5,000

32

160,000

 51,000

-

108,800

108,800

21.76

10.24

32

 6,000

40

240,000

 76,800

 40,000

123,200

163,200

27.20

12.80

32

 7,000

50

350,000

112,000

110,000

128,000

238,000

34.00

16.00

32

รวม

18,000

 

750,000

240,000

150,00

360,000

510,000

 

 

 

บทความโดย : https://home.kku.ac.th 

 8465
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์