แนวคิดของการคิดค่าเสื่อมราคา

แนวคิดของการคิดค่าเสื่อมราคา

แนวคิดของการคิดค่าเสื่อมราคา

นักบัญชีคิดว่าการตัดค่าเสื่อมราคาเป็นการปันส่วนอย่างมีระบบ ไม่ใช่เพื่อการสะท้อนมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์

ความแตกต่างระหว่างค่าเสื่อมราคาทางบัญชีกับทางเศรษฐศาสตร์

  • นักบัญชี ยึดหลักmatchingโดยเชื่อว่าถ้ากิจการมีรายได้ที่สม่ำเสมอ ก็ควรมีการปันส่วนค่าเสื่อมราคาที่สม่ำเสมอเช่นเดียวกัน
  • นักเศรษฐศาสตร์  มองถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากสินทรัพย์นั้น

Ex. โทรศัพท์ 1 เครื่อง มีอายุการใช้งาน 5 ปี พอถึงปีที่ 3 ในทางบัญชีจะยังมีมูลค่า แต่ในทางเศรษฐกิจอาจไม่มีมูลค่าแล้ว

วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา

  1. วิธีเพิ่มขึ้นทุกปี( Annuity, Sinking Fund ) เช่น รายได้เท่ากันทุกปี ปีละ 100 การคิดค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้กำไรลดลงทุกปี ดังนั้น rate of return จะเท่ากันทุกปี
  2.  วิธีเส้นตรง (Straight – Line )มาจากการมองว่าถ้ารายได้ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นเท่ากันทุกปี ก็ควร

คิดค่าเสื่อมเท่ากันทุกปี ทำให้ cash flow เท่ากันทุกปี แต่ rate of returnจะสูงขึ้น

  1. วิธีอัตราเร่ง ( SYD, DB ,DDB ) จะคิดค่าเสื่อมสูงในปีแรก ๆ เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์มากกว่าปีหลัง ๆ

นอกจากจากนี้ยังมองว่าควรคิดค่าเสื่อมปีแรกๆสูงกว่าปีหลังๆเพราะปีหลังๆจะมีค่าบำรุงรักษาเพิ่มมากกว่าปีแรกๆ อีกด้วย

  1. คิดตามหน่วยการผลิต ( Units - of - Production) เพราะมีสินทรัพย์บางอย่างที่ไม่เสื่อมตามระยะเวลา แต่เสื่อมแบบ

Variable cost

                การกำหนดให้สินทรัพย์มีอายุนานเกินไปจะทำให้ค่าเสื่อมราคาต่ำเกินไป ดังนั้นการเลือกอายุการใช้งานสั้นและค่าซากต่ำ เป็นการใช้นโยบายการบัญชีแบบ conservative ซึ่งตรงกับลักษณะการคิดค่าเสื่อมแบบวิธีอัตราเร่ง( ตามสภาพการใชงานจริงที่สุด)

การคำนวณ

การหาอายุการใช้งานว่าใช้ไปแล้วกี่ %           =  ค่าเสื่อมราคาสะสม/ ราคาทุนของสินทรัพย์นั้น

การหาว่าอายุการใช้งานทั้งหมดนานเท่าไหร่   =  ราคาทุนของสินทรัพย์นั้น/ ค่าเสื่อมราคาต่อปี

การคำนวณหาว่าใช้งานมาแล้วกี่ปี                =  ค่าเสื่อมราคาสะสม/ ค่าเสื่อมราคาต่อปี

การด้อยค่า

สถานการณ์ที่บ่งชี้ว่าด้อยค่า

  • ราคาตลาดลดลงอย่างมีสาระสำคัญ
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ผิดปกติอย่างมาก
  • มีกำลังการผลิตมากแต่ขายของไม่ได้

ผลจากการรับรู้ด้อยค่า

  • มูลค่าสินทรัพย์ลดลง
  • ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง
  • Asset turnover สูงขึ้น เพราะ Asset ลดลง
  • D/E สูงขึ้น เพราะ Equity ลดลง
  • BV per share ลดลง เพราะ Equity ลดลง
  • Price to book  value สูงขึ้น เพราะ book ต่ำลง
  • Earning สูงขึ้น เพราะค่าเสื่อมลดลง
  • ROA สูงขึ้น เพราะ Asset ลดลง
  • ROE สูงขึ้น เพราะ Equity ลดลง

บทความโดย : http://xn--12cfjb4gd5dd4a6b2cxaftl4pk4s.blogspot.com

 3894
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์