สัญญาเช่าระยะยาว

สัญญาเช่าระยะยาว

สัญญาเช่าระยะยาว

Leases คือ สัญญาเช่าระยะยาว ซึ่งเกิดจากแรงจูงใจหลายประการ เช่น ใช้เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน การจัดโครงสร้างเงินทุน ซึ่งมีการเปรียบเทียบต้นทุนของการเช่าระยะยาวกับการซื้อ และผลประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย แต่ในบทนี้เน้นในเรื่องของวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในรายงานทางการเงิน

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • การเช่าระยะยาวแทนที่จะยืมหรือซื้อสินทรัพย์  ก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงการรับรู้ หนี้สิน และสินทรัพย์ ของผู้เช่า
  • สัญญาเช่าดำเนินงานทำให้ผู้เช่าไม่ต้องบันทึกสินทรัพย์ ทำให้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร( ROA )สูง  ชี้ให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ดี
  • หากกิจการใดมีสัญญาเช่าดำเนินงานมาก เราต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังในเรื่องของภาระหนี้สิน และความสามารถในการทำกำไรฯลฯ

การจัดประเภทเป็น Leases

  • การจัดประเภทสัญญาเช่าไม่ใช่ทางเลือกในการจัดทำในรายงานทางการเงิน
  • สัญญาเช่าที่โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนในสินทรัพย์ไปให้ผู้เช่าแล้วให้บันทึกเป็น  สัญญาเช่าการเงิน
  • สัญญาเช่าใด  ๆ เป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งของ SFAS 13  ณ วันเริ่มต้นสัญญาเช่าก็จะเป็นสัญญาเช่าการเงิน

ตามมาตรฐานเก่าจะมีเงื่อนไขในการจัดเป็นสัญญาเช่าการเงินอยู่ 4ประการ (ต้องจัดเป็นสัญญาเช่าการเงินหากเข้าเงื่อนไขเพียงข้องใดข้อหนึ่ง) และหากไม่เข้าเงื่อนไขเหล่านั้นเลยให้จัดเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน

ตามมาตรฐานใหม่ เน้นว่าสัญญาเช่าที่ทำให้เกิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดไปให้ผู้เช่าแล้วไม่ว่าในที่สุดจะมีการโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ก็ตาม ให้บันทึกการเช่านั้นเป็น  สัญญาเช่าการเงิน

ผลกระทบจากการจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงิน

งบดุล      - สัญญาเช่าการเงินจะทำให้สินทรัพย์และหนี้สินเพิ่ม   

                -  อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ต่ำ เพราะสินทรัพย์เพิ่มขึ้น

                -  ROA  ต่ำ เพราะสินทรัพย์เพิ่ม    

                - เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ( Working Capital ) จะต่ำลงเนื่องจากหนี้สินระยะสั้นเพิ่มขึ้น (แต่สินทรัพย์ที่เพิ่มอยู่ในระยะยาว)

                - D/E จะ เพิ่มขึ้น เนื่องจากหนี้สินเพิ่มขึ้น  

งบกำไรขาดทุน  จะมีกำไรจากการดำเนินงานที่สูงกว่าการบันทึกแบบสัญญาเช่าดำเนินงาน เพราะว่าค่าเสื่อมราคาจะมีจำนวนที่ต่ำกว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงาน

                     ในช่วงแรกกำไรสุทธิจะต่ำกว่าสัญญาเช่าดำเนินงาน เพราะดอกเบี้ยจ่ายจะสูงมากในช่วงแรกๆและค่อยๆลดลง

อัตราส่วนทางการเงิน – Profitability ลดลง ( ดอกเบี้ยและค่าเสื่อมสูงกว่าค่าเช่า )

                           – Interest coverage ratio ลดลง ( ดอกเบี้ยสูงขึ้น )

                           – ROE ลดลง ( กำไรลดลง )

                           – ROA ลดลง (กำไรลดลง และสินทรัพย์เพิ่ม )

งบกระแสเงินสด - สัญญาเช่าการเงินจะมี CFO  มากกว่าสัญญาเช่าดำเนินงาน  เพราะสัญญาเช่าดำเนินงานจะบันทึกค่าเช่าเป็น Cash outflow ใน CFO ทั้งหมดเลย  แต่สัญญาเช่าการเงินจะบันทึกดอกเบี้ยบางส่วนไว้ใน CFO และบันทึกบางส่วนไว้ใน CFF

การวิเคราะห์การเปิดเผยสัญญาเช่า

  • ถ้ากิจการรายงานเป็นสัญญาเช่าการเงิน  ข้อมูลจะปรากฏในงบดุล
  • ถ้ากิจการรายงานเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน  สินทรัพย์และหนี้สินจะเป็นรายการนอกงบดุล  ซึ่งนักวิเคราะห์ควรมีการปรับปรุงงบการเงินใหม่ 

บทความโดย : http://xn--12cfjb4gd5dd4a6b2cxaftl4pk4s.blogspot.com 

 3532
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์