ก่อนที่นักลงทุนจะเข้าไปลงทุนใน Startup นักลงทุนจะมีการทำ Financial Due Diligence ซึ่งในส่วนนี้หลายคนเข้าใจว่าเป็นการเข้าไปรีวิวหรือตรวจสอบตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ววัตถุประสงค์หลักของการการทำ Financial Due Diligence คือจะมองลงไปว่ามีปัจจัยอะไรที่จะเป็นความเสี่ยงรวมถึงผลกระทบจากความเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต และหาวิธีการที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว
ดังนั้นตัวงบการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำมาใช้พิจารณา ถ้างบการเงินไม่ถูกต้อง ซึ่งมักพบเห็นได้บ่อยในธุรกิจขนาดเล็ก อาจต้องให้ทางAuditor เข้าไปช่วยรีวิวและตรวจสอบตัวเลขให้ถูกต้องก่อนการวิเคราะห์ โดยงบการเงินไม่ได้เพียงแค่สะท้อนถึง Net Profit แต่ดูลึกไปถึงสภาพคล่องของบริษัท บางบริษัทตัวเลขกำไรสวย แต่ปรากฏว่าเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ดำเนินธุรกิจกลับไม่มี
สรุปสิ่งที่อยากแนะนำให้กับ Startup คือ
- ธุรกิจ Startup ส่วนใหญ่มีพนักงานน้อย และต้อง outsource งานส่วนบัญชีออกไป หลายครั้งมีการลง Booking ค่าใช้จ่าย การรับรู้รายได้ที่ไม่ตรง ผู้ประกอบการควรใส่ใจและเข้าไปรีวิวด้วย อย่าปล่อยให้ทางบัญชีดูอย่างเดียวไม่ได้ และถ้าเป็นไปได้ควรปิดงบทุกเดือน หรือทุกไตรมาส
- ควรมีงบการเงินที่ช่วยให้ผู้บริหาร Monitor Performance ของบริษัทตัวเองได้ และเมื่อต้องขอระดมทุนจะได้มีข้อมูลตรงนี้ให้พร้อม
- ควรมี Management Report ต่างๆ เช่น Sales Report, Payment Report
- นำระบบ Petty Cash มาใช้
- การชำระเงินหลักๆ ให้ใช้ระบบเช็คหรือการโอนเงินผ่าน Internet Banking
- Transaction ต่างๆ ควรอ้างอิงจาก Market Price
- มีการ Set ค่ามาตรฐาน ค่าตอบแทนต่างๆ สำหรับผู้บริหารอย่างสมเหตุสมผลและชัดเจน
กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
ส่วนช่วงที่สองได้รับเกียรติจากคุณวงศกฤต กระจ่างสนธิ์ ที่ปรึกษา Hunton & Williams มาพูดคุยในหัวข้อ “กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา” โดยเนื้อหาหลักๆ จะมุ่งเน้นที่การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า (Trademark) ส่วนเครื่องหมายการค้าจะว่าด้วยเครื่องหมายที่ได้รับการคุ้มครอง และหลักปฏิบัติของการสร้างเครื่องหมายการค้า โดยมีตัวอย่างของกรณีศึกษาต่างๆ มากมายมาให้ได้ชมกันในช่วงสัมมนา
เนื้อหาสำคัญสำหรับ Startup ที่มักสงสัยและได้รับการอธิบาย ได้แก่
ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียน ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหลังจากที่สร้างสรรค์งานขึ้นมา (แต่เครื่องหมายการค้าต้องไปจดทะเบียนเพื่อป้องกัน) กรณีที่เป็นผู้สร้างสรรค์ร่วมกัน อย่าง co-fouder แล้ววันหนึ่งเกิดต้องแยกย้ายไม่ได้ทำธุรกิจด้วยกัน การจะถือว่าได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้น ไม่ใช่แค่เสนอความคิด หรือพูดลอยๆ ออกมา คุณต้องมั่นใจและมีการพิสูจน์ได้ว่าคุณ contribute เข้ามาให้เกิดงานจริงๆ แต่ก็เป็นไปได้ว่าในบางครั้งก็ทำสัญญาที่ชัดเจนไปเลยแต่แรก เอาสัญญาไปพิสูจน์ได้ต่อศาลว่าเป็นข้อตกลงกันตั้งแต่ต้นว่าจะทำงานชิ้นนั้น ชิ้นนี้ร่วมกัน แต่ถ้าเป็นกรณีลูกจ้าง หรือจ้างทำของ จ้าง programmer ถ้าคุณเป็น Startup แนะนำว่าให้ทำสัญญาจ้างให้ชัดเจน ว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวเป็นของบริษัท ไม่มีสิทธินำไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่
มีคนสอบถามเข้ามาว่ารูปแบบธุรกิจนั้น ถ้ามีคนลอกเลียนแบบถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งรูปแบบธุรกิจ เปรียบเสมือนกับแนวความคิด โดยกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น ไมได้คุ้มครองความคิด ทฤษฎี วิธีการ และขั้นตอนต่างๆ
เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ เครื่องหมายการค้าที่เราใช้ หรือจะใช้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำ ผลิตภัณฑ์ให้เสร็จก่อน คุณอาจไปจดทะเบียนไว้ก่อน เพื่อป้องกันคนมาใช้ก่อน แล้วค่อยผลิต แต่ต้องมั่นใจว่าผลิตสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่เช่นนั้นจะโดนโต้แย้งและแจ้งขอเพิกถอนได้เช่นกัน
บทความโดย:prosoftibiz.com