การวางแผนการเงินให้เหมาะกับธุรกิจ SMEs

การวางแผนการเงินให้เหมาะกับธุรกิจ SMEs

  พนักงานประจำผู้ที่มีความฝันอย่างมีธุรกิจเป็นของตนเอง แต่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารกิจการหรือธุรกิจขนาดเล็กของตนเอง เราขอแนะนำให้คุณมองในเรื่องของการวางแผนทางการเงิน ก่อนที่คุณจะลงทุนในธุรกิจส่วนตัว เพื่อให้ธุรกิจของคุณมีสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มมากขึ้น และให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความเสี่ยงที่อาจขึ้นในอนาคตได้

        นอกจากนี้ การลงทุนทุกอย่างจำเป็นต้องมีเงินทุน และเงินสำรองไว้เผื่อในยามฉุกเฉิน ดังนั้นก่อนที่คุณจะเริ่มประกอบธุรกิจของตนเอง คุณจะต้องมีการวางแผนทางการเงินให้ดี และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับลงทุน เพื่อให้คุณสามารถบริหารจัดการธุรกิจของคุณให้ก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รวมถึงสามารถลดความเสี่ยงทางการเงินในธุรกิจได้อีกด้วย

 

 

 วางแผนการลงทุน

  • สำรวจความพร้อมทางด้านการเงินของตนเองก่อนที่จะเริ่มประกอบธุรกิจ ผู้ที่สามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจมักจะมีลักษณะหลาย ๆ อย่างที่คล้ายคลึงกัน อย่างเช่น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการบริหารธุรกิจ คุณลองสำรวจตัวเองว่าคุณมีความรู้และความสามารถเพียงพอหรือไม่
  • การประกอบธุรกิจคุณต้องมีความรู้ทางด้านสินค้าและบริการ อย่างเช่น ผลิตสินค้าเพื่อขาย คุณต้องทราบว่าเป็นสินค้าอะไร มีกระบวนการผลิตอย่างไร ใช้วัตถุดิบอะไร จากแหล่งใด มีวิธีควบคุมคุณภาพ และต้นทุนการผลิตอย่างไร ควรทราบด้วยว่าปัญหาหรือข้อพึงระวังของธุรกิจประเภทนั้น ๆ มีอะไรบ้าง มีเงินทุน และสามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร
  • ความเข้าใจตลาด คุณต้องทราบว่าสินค้าหรือบริการที่คุณอยากทำตลาดรองรับเพียงพอหรือไม่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือใคร การแข่งขันในตลาดเป็นอย่างไร สินค้ามีจุดเด่น / จุดด้อยอย่างไร เมื่อเทียบกับคู่แข่ง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร เป็นต้น
  • ความสามารถในการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานภายใน และการบริหารจัดการพนักงาน หรือลูกจ้าง รวมถึงการประสานงานในเรื่องต่าง ๆ อย่างเช่น การหาแหล่งวัตถุดิบ ช่องทางในการกระจายสินค้า และการบริการหรือการประสานกับหน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน การรับเรื่องร้องเรียน และการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า
  • ความสามารถในการบริหารจัดการเงิน ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นทำธุรกิจ ต้องประเมินให้ได้ว่า คุณต้องการใช้เงินลงทุนในการก่อตั้งกิจการเท่าไร ซึ่งเจ้าของธุรกิจควรมีเงินลงทุนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของการลงทุนทั้งหมด ส่วนที่เหลืออาจขอกู้จากสถาบันการเงินได้ และคุณต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเท่าไร เพื่อให้เพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจ โดยเผื่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนไว้ด้วย ซึ่งอาจใช้เงินทุนของตนเอง หรือขอก็จากสถาบันการเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
  • เริ่มต้นลงมือ แผนธุรกิจของคุณเป็นอย่างไร จากแนวความคิดสู่แผนธุรกิจ การทำธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ควรเริ่มต้นจากการทำแผนธุรกิจ โดยการจัดระบบความคิดของตนเองแล้วถ่ายทอดลงบนกระดาษ แผนธุรกิจควรประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ เป้าหมายของธุรกิจ แผนการตลาด แผนการผลิต (หรือแผนการให้บริการ) แผนการเงิน แผนการบริหารจัดการภายใน และแผนฉุกเฉิน  

 การเลือกประกอบธุรกิจ ให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

        เมื่อคุณได้ตัดสินใจแล้วว่าคุณต้องการที่จะเริ่มประกอบธุรกิจของตนเอง หลังจากที่คุณวางแผนทางธุรกิจไปแล้ว เรื่องต่อมาก็คือ การตัดสินใจเลือก รูปแบบธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของกิจการคนเดียว หรือมีหุ้นส่วน คุณต้องคำนึกถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ มีต้นทุนต่ำ และมีกำไรสูง คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ และการจดทะเบียนธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้โดยตรงจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีการเปรียบเทียบรูปแบบประเภทต่าง ๆ ได้ตามตารางข้างล่างนี้

 

ข้อแนะนำเบื้องต้น

        ปัญหาที่พบโดยทั่วไปของผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบการรายใหม่ คือการขาดระบบบัญชีและงบการเงินที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการด้านการเงิน และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการติดสินใจทางธุรกิจได้อีกด้วย

        นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุหลังที่ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรืออาจทำให้ขาดคุณสมบัติที่จะขอความช่วยเหลือ หรือการส่งเสริมตามาตรการของภาครัฐ ได้ ดังนั้นคุณต้องแสดงตัวตนให้สถาบันการเงินรู้จัก อย่างเช่น การเปิดบัญชี และการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัญชีธนาคาร เพื่อให้เกิดรายการหมุนเวียน แสดงถึงปริมาณการค้า หรือรายได้ของธุรกิจอย่างสม่ำสมอ คุณต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสารฐานทางการค้า เอกสารเกี่ยวกับภาษี และการบันทึกบัญชีรับ – จ่าย นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมด้านการเงิน แล้วยังใช้เป็นหลักฐานยื่นต่อสถาบันการเงินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่ออีกด้วย

บทความโดย: prosoftibiz.com

 4224
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores