ลงทุนทั้งที ต้องลงทุนแบบมีเด้ง

ลงทุนทั้งที ต้องลงทุนแบบมีเด้ง

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน”

ประโยคยอดฮิตนี้ เราได้ยินมาโดยตลอดไม่ว่าจะลงทุนในหลักทรัพย์อะไร เพราะเป็นความหวังดีของ ก.ล.ต. ที่ไม่อยากให้พวกเรามองโลกสวยเพียงด้านเดียว สรุปก็คือ อย่ามองแต่ผลตอบแทน ให้มองความเสี่ยงด้วย เพราะอะไรที่ให้โอกาสของการรับผลตอบแทนสูง มักจะมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

แต่ก็มีการลงทุนบางประเภทที่ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับความเสี่ยง ตัวอย่างก็เช่น การลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากผลตอบแทน ซึ่งวันนี้เราจะการลงทุนแบบนี้กัน ผมขอเรียกว่า “การลงทุนแบบมีเด้ง” เริ่มจาก...การลงทุนแบบ 3 เด้ง คือ การลงทุนที่เมื่อเราลงทุนแล้ว เด้งแรกที่ได้รับ คือ จะมีคนอื่นให้เงินเราเพิ่มอีกเท่าตัว เด้งที่สอง คือ เราสามารถเอาเงินที่ลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ เด้งที่สาม ก็คือ ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนไม่ต้องเสียภาษี การลงทุนแบบนี้หลายคนคงจะงง “เฮ้ย! มีด้วยเหรอ” มีครับ ซึ่งก็คือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม ฯลฯตัวอย่างเช่น ถ้าเราจ่ายเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 100,000 บาท เราก็จะได้เงินสมทบจากนายจ้างมา 100,000 บาท เท่ากับกำไร 100 % ทันที และยิ่งกว่านั้น ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเราอยู่ที่ 30% เราก็จะได้ภาษีคืนจากกรมสรรพากรอีก 30% ของ 100,000 บาท เท่ากับ 30,000 บาท สรุปคือ เราลงทุน 100,000 บาท แต่ได้ผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยงเลย 130,000 บาท หรือเท่ากับกำไร 130% แถมผลตอบแทนที่เราได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ไม่เสียภาษีอีก (หากทำตามเงื่อนไขกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) (ส่วนผลตอบแทนของเราในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายกองทุนที่เราเลือก ฝีมือผู้จัดการกองทุน และภาวะตลาดในปีนั้นๆ ครับ)เห็นประโยชน์ถึง 3 เด้งอย่างนี้แล้ว ถ้าคนที่มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่กลับเลือกไม่ลงทุนหรือ ก็คงเสียดายแย่ ที่ผมต้องเตือนอย่างนี้เพราสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยไม่ออกจากงานได้ เนื่องจากการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยไม่ออกจากงานเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสมาชิกที่สามารถกระทำได้ตามความสมัครใจ (แม้ว่าข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมจะกำหนดไว้ว่า สมาชิกจะสิ้นสุดสมาชิกเมื่อลาออกจากการเป็นพนักงานเท่านั้น) โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพียงแต่ต้องแจ้งกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบางคนไม่อยากจ่ายเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อาจเป็นเพราะไม่ทราบถึงสิทธิประโยชน์เลยเข้าใจผิดว่า การจ่ายเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการจ่ายแล้วสูญ จริงๆ แล้วการจ่ายเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการลงทุนแบบ 3 เด้งแบบที่กล่าวมาแล้ว เงินสะสมที่เราจ่ายยังคงเป็นเงินของเราอยู่ไม่ได้สูญหายไปไหน การที่สมาชิกจะนำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยไม่ออกจากงาน มีข้อเสียหลายประการ ได้แก่
 

  • อาจไม่ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์เงินสมทบจากนายจ้าง ( หากข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดไว้)
  • ผลประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเงินสมทบของนายจ้าง (หากมี) จะต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีเต็มจำนวน โดยไม่มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี
  • เป็นการเสียโอกาสที่จะได้เงินสมทบจากนายจ้างในช่วงที่ออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เสียโอกาสในการลงทุนอย่างต่อเนื่องซึ่งจะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่เงินออมในระยะยาว
  • อาจเสียโอกาสในการกลับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีก หากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อนุญาตให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยไม่ออกจากงานสมัครเป็นสมาชิกกองทุนอีก

 

บทความโดย:สาธิต บวรสันติสุทธิ์

 779
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores