บริหารเงินอย่างไร เมื่อได้ เงินก้อนโต

บริหารเงินอย่างไร เมื่อได้ เงินก้อนโต

หากพูดถึง “เงินก้อนโต” ย่อมเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ล้วนปรารถนา ไม่ว่าจะได้เงินนั้นมาจาก อาทิเช่น  มรดก  เงินรางวัล  โบนัส เงินบำเหน็จ เงินเกษียณ กำไรจากการทำธุรกิจ เป็นต้น  เราจะมาพูดถึงหลักการบริหารเงินอย่างไร ให้เงินก้อนโตนั้นมีประสิทธิภาพ สามารถเติบโตงอกเงย และอยู่กับเราไปนาน ๆ  กันค่ะ

โดยหลักในการบริหารเงินก้อนนี้  เราจะแบ่งเป็นหัวข้อในการพิจารณาและความสำคัญในแต่ละข้อ ดังต่อไปนี้นะคะ

 

  1. เงินสำรอง  ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาก่อนว่า  มีเงินสำรองไว้เผื่อฉุกเฉิน   3 – 6 เดือนของค่าใช้จ่ายต่อเดือนแล้วหรือไม่  หากยังไม่มีควรกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นเงินส่วนแรกที่สำคัญที่สุด

 

  1. หนี้สิน  พิจารณาหนี้สินที่มีอยู่  หากมีเงินมากพอที่จะปิดหนี้  ควรเลือกปิดหนี้ที่ดอกเบี้ยมากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก เช่น สินเชื่อเงินสด หนี้บัตรเครดิต   เป็นต้น  และหากปิดหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงแล้ว  ก็พิจารณาหนี้บ้าน หรือหนี้รถ แต่หากไม่สามารถปิดหนี้ได้ทั้งหมด เช่น หนี้บ้าน  เราสามารถนำเงินก้อนโปะหนี้บ้านบางส่วน เพื่อลดเงินต้นและลดดอกเบี้ยของหนี้บ้านได้  

 

  1. ประกันความเสี่ยง  สำรวจว่าเรามีความเสี่ยงด้านไหนบ้าง  และความเสี่ยงนั้นเราสามารถรับได้เองหรือไม่  หากไม่สามารถรับไว้เอง แนะนำโอนความเสี่ยงให้บริษัทประกันรับความเสี่ยงแทน เช่น ประกันภัยบ้าน /รถยนต์  ประกันอุบัติเหตุ / สุขภาพ เป็นต้น ค่ะ

 

  1. ภาษี  พิจารณาถึง เงินก้อนโตที่ได้มาว่า  ต้องมีการเสียภาษีหรือไม่  หากต้องนำเงินได้นั้นมายื่นเสียภาษี ควรวางแผนภาษี  ศึกษาถึงสิทธิลดหย่อนต่างๆ  รวมถึงพิจารณาถึงผลิตภัณฑ์การเงินที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุน LTF RMF  ประกันออมทรัพย์ / บำนาญ เพื่อประหยัดภาษี ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงกระแสเงินสดของเราในการซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วยนะคะ

 

  1. ให้รางวัลตัวเอง  เมื่อได้เงินก้อนโต ย่อมมีสิ่งที่เราอยากได้ ไม่ว่าจะเป็น  อยากได้รถใหม่  อยากได้บ้านใหม่  อยากซื้อที่ดิน  อยากเปลี่ยนโทรศัพท์ใหม่  อยากได้ของขวัญให้กับตัวเอง  เป็นต้น  ซึ่งในหัวข้อนี้เราต้องคำนึงถึง ว่าหากเราอยากได้  สิ่งเหล่านี้  แต่ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินสดเต็ม จำนวน หากเป็นการเริ่มต้นด้วยการมีหนี้สินตามมา เช่น การนำเงินไปดาวน์บ้าน / รถ ควรคำนึงถึง ศักยภาพความสามารถในการชำระหนี้ที่จะเพิ่มขึ้นด้วย  ว่าควรเกิน 35% - 40% ของรายได้ต่อเดือน  และไม่ควรมีหนี้สินมากกว่า 50%ของทรัพย์สินนะคะ

 

  1. เงินที่อยากให้ / เงินบริจาค ทำบุญ  เมื่อมีเงิน หลายท่านก็อยากที่จะแบ่งปัน อาจจะแบ่งให้ลูกหลาน    หรือบริจาคเงินเพื่อสังคม ไม่ว่าจะบริจาคเงิน/ สิ่งของให้ วัด โรงเรียน องค์กรการกุศล โรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือสังคม ยังได้รับสิทธิในการนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยค่ะ 

 

  1. การลงทุน  สิ่งที่คนส่วนใหญ่เมื่อมีเงินก็อยากที่จะลงทุนอะไรสักอย่าง  เพื่อให้เงินนั้นงอกเงยและมีรายได้เพิ่มอีกช่องทาง  ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทำธุรกิจส่วนตัว รวมไปถึง การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ สินทรัพย์ทางการเงิน อาทิเช่น  กองทุนรวม หุ้นกู้  หุ้น เป็นต้น  ข้อพึงระวังในการลงทุน คือ ความเสี่ยง  ควรมีการกระจายการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยง  ไม่ควรลงทุนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพราะหากเกิดความผิดพลาด นั่นหมายถึง การสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดไป  และการลงทุนควรลงทุนในสิ่งที่เรามีความรู้ความเข้าใจ

ทั้งนี้  แนวทางการบริหารเงินก้อนโต 7 ข้อ ที่ได้กล่าวมานี้นะคะ ท่านสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเงินที่ได้รับมาและการ

บทความโดย:Thidarat  Keereeta

 897
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores