การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

การวางแผนทางการเงิน มีความจำเป็นอย่างมากเพราะจะเป็นเครื่องมือทำให้เราเตรียมความพร้อมที่นำชีวิตให้บรรลุความมั่นคงทางการเงินได้

การวางแผนการเงินนั้นควรเริ่มจาก คุณพ่อ-คุรแม่ ต้องปลูกฝังลูกๆให้นิสัยการออมและการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผลตั้งแต่วัยเด็กเพื่อบ่มเพาะวินัยทางการเงินไว้ก่อน

เมื่อลูกหลานเข้าสู่วัยทำงานก็จำเป็นต้องรู้วิธีการวางแผนการจัดสรรรายได้ให้เพียงพอกับการออมเงินตามเป้าหมายและรายจ่ายต่างๆอย่างเหมาะสม

เมื่อมีครอบครัวก็จำเป็นต้องดูแลทั้งตนเองและคนในครอบครัว ทำให้ความรับผิดชอบและภาระทางการเงินยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การวางแผนทางการเงินมีความสำคัญมากขึ้น

แม้กระทั่งเมื่อเกษียณอายุ ก็ยังต้องวางแผนทางการเงิน เพราะเป็นวัยที่มีรายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ยังคงอยู่ และมีเพิ่มสูงขึ้นในบางหมวด เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งหากไม่มีการวางแผนที่ดีก็อาจเกิดปัญหาและสร้างภาระให้ลูกหลานได้

ขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน

ขั้นตอนที่ 1 ประเมินฐานะการเงิน

สิ่งที่สะท้อนฐานะทางการเงินที่แท้จริงของบุคคลไม่ใช่ สินทรัพย์ที่มีอยู่ แต่เป็น “ความมั่งคั่งสุทธิ” ซึ่งสามารถประเมินได้โดยการจัดทำบัญชีสินทรัพย์และหนี้สินแล้วนำมาคำนวณ ดังนี้

ทั้งนี้ ควรจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นพฤติกรรมทางการเงินของตนเองอย่างชัดเจนขึ้น เพราะทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจะถูกแจกแจงออกมา ทำให้เราตระหนักได้ว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดสูงเกินไป หรือไม่มีความจำเป็น หรือสามารถตัดออกได้ รวมทั้งทราบว่ารายได้ทางใดน้อยเกินไป หรือสามารถหาทางเพิ่มได้อีก ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

ควรมีการตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาที่จะพิชิตเป้าหมายให้ชัดเจน รวมถึงมีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น หากในขณะนี้เรามีรายได้น้อยหรือภาระทางการเงินมาก ก็อาจเลื่อนเป้าหมายที่ไม่สำคัญออกไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญหรือเร่งด่วนก่อน ควรนำ “สิ่งที่จำเป็นต้องมี” มากำหนดเป็นเป้าหมายก่อน “สิ่งที่อยากได้” โดยเป้าหมายที่ดี ต้องเป็นไปตามหลัก SMART คือ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ขั้นตอนที่ 3 จัดทำแผนทางการเงิน

จัดทำแผนการบริหารเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น เราจะใช้จ่ายเงินอย่างไร หารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหน หรือนำไปลงทุนอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

โดยต้องจัดสรรระยะเวลาของแผนให้สัมพันธ์กับรายได้และภาระทางการเงิน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ และไม่กดดันตัวเองจนเกินไป​

ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความมุ่งมั่นและมีวินัย เพราะหากขาดการปฏิบัติที่จริงจังและต่อเนื่อง ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายได้

ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์

ควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุกๆ 6 เดือนว่า ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่หากไม่ก็ต้องหาสาเหตุว่า เกิดจากตัวเราหรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน แล้วปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดวินัยทางการเงินและมีความมั่นคงทางการเงินอย่างแน่นอน

บทความโดย:lifefinplan

 3640
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores