ก่อนที่จะพูดกันถึงมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) เราต้องทำความรู้จักกับมูลค่าทางบัญชี (Book Value) เพราะทั้ง 2 ส่วนนี้มีความเกี่ยวของกันอย่างมาก
มูลค่าทางบัญชี (Book Value) คือ มูลค่าของสินทรัพย์ตามงบดุลของบริษัท ซึ่งคำนวณจาก
มูลค่าทางบัญชี (Book Value) = สินทรัพย์รวม (Total Assets) – หนี้สินรววม (Total Liabilities)
ถ้าลองพิจารณาดูดีๆ มันก็คือส่วนของเจ้าของนั้นเอง สมมติว่า มีการเลิกกิจการ กิจการก็จะนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปขาย เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์เหล่านั้น มาชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ และส่วนที่เหลือหลังจากชำระหนี้ทั้งหมดแล้ว ก็คือส่วนของเจ้าของหรือมูลค่าทางบัญชีนั่นเอง
เมื่อกิจการชำระหนี้คืนแก่เจ้าหนี้หมดแล้ว กิจการจะนำส่วนที่เหลือมาจัดสรรคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการครอบครองหุ้นของแต่ละคน เรียกว่า มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) นั่นเอง
Book Value per Share = Book Value/จำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่บริษัทออกและเรียกชำระแล้ว
*จำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่บริษัทออกและเรียกชำระแล้ว = 4,618.91 ล้านหุ้น
เราจะลองนำของมูลที่มีมาคำนวณมูลค่าทางบัญชี (Book Value) และ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) ใช้ขอมูลปี 2560
Book Value = 118,443.55 MB – 68,422.63 MB
= 50,020.92 MB
อ้าววว.. ไหนบอกว่ามูลค่าทางบัญชี ก็คือส่วนของเจ้าของ แล้วทำไมถึงคำนวณแล้วไม่ตรงกันล่ะ ในกรณีนี้จะมีเรื่องของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเข้ามาเกี่ยวของด้วย (ซึ่งจะอธิบายในบทความต่อๆไปนะ) เอาเป็นว่า เราจะใช้ส่วนของเจ้าของเท่ากับ 47,328.59 MB <<< ส่วนของเจ้าของตรงนี้หมายความว่า หากกิจการนี้เลิกกิจการไป และนำสินทรัพย์ที่มีออกขายเพื่อนำเงินไปชำระคือให้แก่เจ้าหนี้ เมื่อชำระหนี้หมดแล้วกิจการยังเหลือเงินอีก 47,328.59 MB ซึ่งส่วนนี้จะถูกจัดสรรคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการครอบครองหุ้นของแต่ละคน
แล้วอย่างนี้จะได้คือหุ้นละกี่บาทล่ะ ลองดูด้านล่างได้เลย
Book Value per Share = 50,020.92 MB/4,618.91 M
= 10.83 บาท
หมายความว่า ผู้ถือหุ้นจะได้เงินคืนหลังจากชำระหนี้แล้ว หุ้นละ 10.83 บาท
ในบางกรณี มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value per Share) อาจถูกนำไปใช้ในการประเมินมูลค่าของกิจการอย่างคร่าวๆได้
บทความโดย:selfinvest.co