ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) คือ การปันส่วนต้นทุนอย่างเป็นระบบ ของสินทรัพย์ที่มีตัวตน เป็นค่าใช้จ่ายอย่างมีระบบ ตลอดอายุการใช้งาน
ถ้าหากไม่มีการใช้วิธีหักค่าเสื่อมราคา นั่นหมายถึง เงินที่ใช้ในการซื้อสินทรัพย์ถาวร จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในทันที ซึ่งส่งผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนอย่างมาก งบการเงินอาจจะดูผิดปกติ ทั้งที่กิจการมีกำไรมาโดยตลอด แต่มาขาดทุนอย่างรุนแรงในปีที่มีการซื้อเครื่องจักรใหม่ และอาจจะขาดทุนหลังจากนั้นอีกหลายปี โดยมีสาเหตุมาจากการบันทึก ค่าเครื่องจักรเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในคราวเดียว
ตัวอย่าง กิจการ มีการลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ ในราคา 1,200,000 บาท มีอายุการใช้งาน 10 ปี เมื่อครบ 10 ปี สามารถขายเครื่องจักรนี้ได้ในราคา 200,000 บาท ซึ่งเครื่องจักรนี้สามารถผลิตสินค้าขายได้ ปีละ 300,000 บาท หากไม่มีการหัก ค่าเสื่อมราคาปีละ 100,000 บาท (อธิบายเรื่องการคำนวนภายหลัง) กิจการจะขาดทุน ติดต่อกัน 4 ปี และจะมีกำไรในปีที่ 5 แต่หากมีการหัก ค่าเสือมราคา ปีละ 100,000 บาท กิจการมีกำไรตั้งแต่ปีแรกที่ซื้อเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้งบการเงินมีความต่อเนื่องและสมเหตุสมผลมากกว่า
วีธีการคำนวนค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี แต่ที่ควรทำความรู้จักไว้มีดังนี้
เป็นวิธีการคำนวนโดยการเฉลี่ยค่าเสื่อมราคาให้เท่ากันในแต่ละปี
ค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง = (ราคาทุนของสินทรัพย์ – ราคาซาก)/อายุการใช้งาน
= (1,200,000 – 200,000)/10
= 100,000 บาท
จากตัวอย่าง หมายความว่ามีการหักค่าเสื่อมราคา 100,000 บาท เท่ากันทุกๆปีเป็นเวลา 10 ปี
วิธีนี้เป็นการคำนวนค่าเสื่อมราคาตามสัดส่วนการใช้งานจริง แทนที่จะคิดตามระยะเวลา ดังนั้น ในปีที่มีการผลิตหรือชั่วโมงการใช้งานที่สูง ค่าเสื่อมราคาก็จะสูงตามไปด้วย
จากตัวอย่างจะต้องมีการประมาณการ จำนวนสินค้าที่ผลิตได้ หรือ ชั่วโมงการทำงาน ตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรก่อน
สมมติเครื่องจักรสามารถผลิตสินค้าได้ 1,000,000 ชิ้นตลอดอายุการใช้งาน
ค่าเสื่อมราคาแบบจำนวนหน่วยการผลิต = (ราคาทุนของสินทรัพย์ – ราคาซาก)/จำนวนผลผลิตทั้งหมด
= (1,200,000 – 200,000)/1,000,000
= 1 บาท
หมายความว่า เครื่องจักรนี้มีต้นทุน 1 บาท ต่อการผลิตสินค้า 1 ชิ้น ถ้าใน 1 ปีผลิตสินค้า 250,000 ชิ้น ปีนั้นก็จะมีค่าเสื่อมราคา 250,000 บาท
*วิธีคำนวนค่าเสื่อมราคาหลังจากนี้เป็นการคำนวนแบบอัตราเร่ง
ค่าเสื่อมราคาแบบอัตราเร่ง จะคิดค่าเสื่อมราคาสูงในช่วงต้นอายุการใช้งาน และน้อยลงในปีถัดๆไป โดยมีเหตุผล คือ
เป็นวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา โดยคิดเป็น 2 เท่าของวิธีค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง (Straight Line Depreciation)
ปี 1 (1,200,000 *2)/10 ค่าเสื่อมราคา 240,000 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 240,000 บาท
ปี 2 (960,000 *2)/10 ค่าเสื่อมราคา 192,000 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 432,000 บาท
ปี 3 (768,000 *2)/10 ค่าเสื่อมราคา 153,600 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 585,600 บาท
ปี 4 (614,400 *2)/10 ค่าเสื่อมราคา 122,880 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 708,480 บาท
ปี 5 (491,520 *2)/10 ค่าเสื่อมราคา 98,304 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 806,784 บาท
ปี 6 (393,216 *2)/10 ค่าเสื่อมราคา 78,643 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม 885,427 บาท
คิดแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆจนครบ 10 ปี (*ค่าเสื่อมราคาสะสมสูงสุดเป็นได้แค่ 1,000,000 บาท เนื่องจากเมื่อครบ 10 ปี เครื่องจักรมีราคาซาก 200,00 บาท)
เป็นวิธีการคำนวนคือเสื่อมราคา โดยใช้ สัดส่วน จำนวนปีที่เหลือของอายุการใช้งาน/จำนวนปีของอายุ
การใช้งานที่เหลือรวมกัน
ปี 1 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 10 ปี
ปี 2 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 9 ปี
ปี 3 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 8 ปี
ปี 4 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 7 ปี
ปี 5 อายุการใช้งานของเครื่องจักรเหลือ 6 ปี
คิดแบบถึงไปเรื่อยๆ จนครบ 10 ปี
จำนวนปีของอายุการงานที่เหลือรวม = 10+9+8+7+6+5+4+3+2+1 = 5
ค่าเสื่อมราคาปีที่ 1 10/55(1,000,000) = 181,181.2 บาท
ค่าเสื่อมราคาปีที่ 2 9/55(1,000,000) = 163,686.4 บาท
ค่าเสื่อมราคาปีที่ 3 8/55(1,000,000) = 145,454.5 บาท
ค่าเสื่อมราคาปีที่ 4 7/55(1,000,000) = 127,272.7 บาท
ค่าเสื่อมราคาปีที่ 5 6/55(1,000,000) = 109,090.9 บาท
คิดแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 10 ปีเช่นกัน
วิธีการคำนวนค่าเสื่อมราคา ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย คือ วิธีคำนวนค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง
http://www.selfinvest.co