อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio)

อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio)

ในฐานะที่เราเป็นผู้ใช้งบการเงิน หนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์งบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ การวิเคราะห์ อัตราส่วนทางการเงิน นั่นเอง แล้ว อัตราส่วนทางการเงิน คืออะไรล่ะ มีกี่ประเภท หาได้จากที่ไหน และที่สำคัญคือ ใช้ยังไง เราจะได้รู้กันในบทความนี้เอง

 

อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio)

คือ ข้อมูลที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างรายการแต่ละรายการที่แสดงอยู่ในงบการเงิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบกับกิจการอื่น หรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของกิจการในอดีต ช่วยให้เราสามารถประเมินแนวโน้มต่างๆของกิจการได้เห็นภาพมากขึ้น

 

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับการใช้อัตราส่วนทางการเงินก็คือ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน จะต้องนำไปเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม เปรียบเทียบกับกิจการอื่น หรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของกิจการในอดีต ไม่เช่นนั้น อัตราส่วนทางการเงินก็อาจจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ตัวอย่างเช่น กิจการหนึ่งมีอัตราส่วนหนี้สินอยู่ 70% เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หนี้สิน 70% ที่กิจการมีอยู่ มากไป น้อยไป หรือ เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจแล้ว แต่ถ้าหากเรานำอัตราส่วนหนี้สินของอุตสาหกรรมมาเปรียบเทียบและพบว่า อัตราส่วนหนี้สินของอุตสาหกรรมอยู่ที่ 50% เราก็จะเห็นภาพว่ากิจการนี้ มีการก่อหนี้มากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตส่าหกรรม เพราะฉะนั้นกิจการนี้ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่ากิจการอื่นนั่นเอง

 

อัตราส่วนทางการเงินสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลักๆ โดยจะแบ่งตามลักษณะทางเศรฐกิจของอัตราส่วนทางการเงินเหล่านั้น

 

  1. การวิเคราะห์โดยการจัดทำงบการเงินฐานเดียวกัน (Common Size Statements)
  2. การวิเคราะห์สภาพคล่องภายในกิจการ (Internal Liquidity)
  3. การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน (Operating Performance)
  4. การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Finance Risk)
  5. การวิเคราะห์การเติบโต (Growth Analysis)

 

จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนทางการเงินแต่ละประเภท จะมีลักษณะการทำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ในบทความต่อๆไปเราจะอธิบายถึงรายละเอียดของอัตราส่วนทางการเงินแต่ละประเภทว่ามีความสำคัญ และนำไปใช้งานอย่างไร

http://www.selfinvest.co

 1287
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores