5C คือ หลักเกณฑ์ 5 ข้อที่ธนาคารให้ความสำคัญ ใช้พิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่ และให้ในจำนวนเท่าไหร่
1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)
ดูว่าตัวผู้กู้เป็นคนอย่างไร มีประสบการณ์ในธุรกิจที่ทำอยู่แค่ไหน และมีประวัติที่ไม่ดีทางการเงินหรือไม่ เนื่องจากนิสัยพื้นฐานเหล่านี้ จะสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ และพฤติกรรมด้านการเงินได้เป็นอย่างดี
2. เงินทุน (CAPITAL)
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนหนึ่งผู้กู้ต้องมีเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วย หรือมีกำไรสะสมมาจากการประกอบธุรกิจมาลงทุน ซึ่งนอกจากจะสร้างความทุ่มเทในการทำธุรกิจจนสุดความสามารถแล้ว แต่การจะนำเงินทุนหรือนำกำไรมาลงทุนเท่าไหร่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่า ควรจะมีสัดส่วนระหว่างเงินทุนกับหนี้สินเท่าไรด้วย
3. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)
เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ เพราะเป็นแหล่งชำระหนี้คืนให้กับธนาคาร การดูว่าธุรกิจมีความสามารถในการชำระหนี้คืนแค่ไหน ดูได้จากรายได้ของธุรกิจหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ต้องเหลือเพียงพอชำระหนี้ทั้งหมดในแต่ละเดือน
4. หลักประกัน (COLLATERALS)
หลักประกันที่ดีที่สุดสำหรับการขอสินเชื่อ คือ สถานประกอบการ รองลงมา คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือเครื่องจักร ซึ่งการพิจารณาสินเชื่อนั้นธนาคารไม่ได้ดูที่หลักประกันเพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้และแผนธุรกิจอีกด้วย ถ้าไม่มีหลักประกันก็สามารถขอสินเชื่อได้ แต่การพิจารณาสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจะเข้มมากกว่าปกติ หรืออาจจะใช้บริการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐมาช่วยในการค้ำประกันได้
5. เงื่อนไข (CONDITION)
คือ เงื่อนไขในการใช้วงเงินที่ธนาคารกำหนดขึ้นสำหรับผู้กู้แต่ละรายให้ปฏิบัติตาม เช่น หากผู้กู้ต้องการเบิกใช้วงเงิน จะต้องทำการเพิ่มทุนก่อน จึงจะใช้วงเงินได้ โดยเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นนั้น จะพิจารณาจากผลการดำเนินงานของธุรกิจ เช่น สัดส่วนหนี้สินต่อทุน สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ และกำไรสะสม เป็นต้น
1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)
ดูว่าตัวผู้กู้เป็นคนอย่างไร มีประสบการณ์ในธุรกิจที่ทำอยู่แค่ไหน และมีประวัติที่ไม่ดีทางการเงินหรือไม่ เนื่องจากนิสัยพื้นฐานเหล่านี้ จะสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ และพฤติกรรมด้านการเงินได้เป็นอย่างดี
2. เงินทุน (CAPITAL)
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนหนึ่งผู้กู้ต้องมีเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วย หรือมีกำไรสะสมมาจากการประกอบธุรกิจมาลงทุน ซึ่งนอกจากจะสร้างความทุ่มเทในการทำธุรกิจจนสุดความสามารถแล้ว แต่การจะนำเงินทุนหรือนำกำไรมาลงทุนเท่าไหร่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่า ควรจะมีสัดส่วนระหว่างเงินทุนกับหนี้สินเท่าไรด้วย
3. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)
เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ เพราะเป็นแหล่งชำระหนี้คืนให้กับธนาคาร การดูว่าธุรกิจมีความสามารถในการชำระหนี้คืนแค่ไหน ดูได้จากรายได้ของธุรกิจหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ต้องเหลือเพียงพอชำระหนี้ทั้งหมดในแต่ละเดือน
4. หลักประกัน (COLLATERALS)
หลักประกันที่ดีที่สุดสำหรับการขอสินเชื่อ คือ สถานประกอบการ รองลงมา คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือเครื่องจักร ซึ่งการพิจารณาสินเชื่อนั้นธนาคารไม่ได้ดูที่หลักประกันเพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้และแผนธุรกิจอีกด้วย ถ้าไม่มีหลักประกันก็สามารถขอสินเชื่อได้ แต่การพิจารณาสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจะเข้มมากกว่าปกติ หรืออาจจะใช้บริการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของภาครัฐมาช่วยในการค้ำประกันได้
5. เงื่อนไข (CONDITION)
คือ เงื่อนไขในการใช้วงเงินที่ธนาคารกำหนดขึ้นสำหรับผู้กู้แต่ละรายให้ปฏิบัติตาม เช่น หากผู้กู้ต้องการเบิกใช้วงเงิน จะต้องทำการเพิ่มทุนก่อน จึงจะใช้วงเงินได้ โดยเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นนั้น จะพิจารณาจากผลการดำเนินงานของธุรกิจ เช่น สัดส่วนหนี้สินต่อทุน สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ และกำไรสะสม เป็นต้น
https://kasikornbank.com