การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)

การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)

การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)

การบริหารความหลากหลาย (Diversity Management)

          เป็นการวางแผนและปรับใช้แนวทางปฏิบัติและระบบขององค์กรในอันที่จะบริหารจัดการคนในองค์กรเพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบสูงสุดจากความหลากหลาย และเพื่อลดข้อเสียเปรียบอันเกิดจากความหลากหลายให้เหลือน้อยที่สุด

          การที่มีความหลากหลายทำให้เกิด ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในองค์กรยุคปัจจุบันนั้น ก็เพราะว่าการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ประสบผลสำเร็จคือ ความสามารถในการปรับตัว และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์  เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

 

ปัจจัยความแตกต่างหลากหลายในองค์การ  ที่ทำให้แต่ละองค์การมีความแตกต่างกัน

  1. อายุของบุคลากรที่ต่างวัย (Generation)  สามารถแบ่งได้ ตามรุ่นอายุดังนี้
  • Baby Boomers 

อายุ 46-62 ปี อยู่ในช่วงวางแผนปลดระวาง ดีดตัวเองออกจากงานง่าย ปัจจุบันเป็นคนกลุ่มใหญ่

ของโลก

  • Generation X 

อายุ 32-45 ปี  ชอบอะไรง่ายๆ ไม่ต้องเป็นทางการ  ให้ความสำคํยกับเรื่องความสมดุลระหว่าง

งานและครอบครัว  มีลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร  มีความคิดเปิดกว้าง

  • Generation Y

อายุ 16-31 ปี  ก้าวเข้ามาสู่วัยทำงาน  เกิดมาพร้อมกับความสงสัย  เกิดมาพร้อมความเพียบ

พร้อมและความสับสน

  • Generation Z

อายุ 14 ลงมา  สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องคิด เป็นวัยที่ นักการตลาด ชอบมาก

  1. ความแตกต่างทางเพศ
  2. สถาบันการศึกษา สถาบันนิยม
  3. ความเป็นภูมิภาคนิยม จังหวัดนิยม พูดภาษาเดียวกัน คนบ้านเดียวกัน
  4. ธรรมชาติของพนักงานที่ทำงานด้วยกันนั้นจะจับกลุ่มก้อนกันก๊กก๊วน ลูกหม้อ คนเก่าคนแก่
  5. บริษัทลงทุนต่างชาติ  ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา นำไปสู่ความขัดแย้ง
  6. การจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน
  7. ลักษณะของกลุ่มอาชีพ อัตตาสูง เช่น แพทย์ วิศวกร นักวิชาการ
  8. รูปแบบการจ้างงานพนักงานที่ต่างกัน แต่ทำงานในหน่วยเดียวกัน เช่น ข้าราชการ พนักงาน  อาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบ ถึงความแตกต่าง
  9. โครงสร้างขององค์การที่มีการเปลี่ยนแปลง
  10. ความแตกต่างของพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และไม่เป็นสมาชิก อาจไม่ไว้วางใจกัน
  11. ลักษณะของหน่วยงานที่พนักงานมีความขัดแย้ง แข่งขันกันเอง กลายเป็นปัญหาการเมืองภายใน แบ่งพรรคแบ่งพวก
  12. กลุ่มพนักงานที่มีความแตกต่างกันทางด้านฐานะ ตระกูล ค่านิยม รสนิยม
  13. ด้านลักษณะการทำงาน หรือฐานะตำแหน่งรายได้ที่แตกต่างกัน เช่น เจ้าหน้าที่-อาจารย์
  14. พนักงานที่มีสุขภาพร่างกายปกติ หรือพิการ นำไปสู่ความไม่เสมอภาค

Competency (สมรรถนะหลัก) ที่มีความจำเป็นสำหรับการบริหารความหลากหลาย มีดังนี้

  • การจัดการความเปลี่ยนแปลง (Change Management)
  • การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)
  • การสร้างความไว้ใจ (Building Trust)
  • การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
  • การฟังและการซักถาม (Listening and Query)
  • ทักษะความร่วมมือช่วยเหลือ (Collaboration Skills)

 กลยุทธ์บริหารจัดการด้านความหลากหลายของพนักงาน(Workforce Diversity)

          ความหลากหลายของพนักงานมีผลต่อความสำเร็จ หรือกลายเป็นอุปสรรคในการทำงานก็ได้ จำเป็นที่องค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่ดี หากละเลยไม่ดำเนินการใดๆ จะกลายเป็นปัญหาด้านการบริหารคน เกิดความแตกแยก ขัดแย้งหรือบ่อนทำลายกันเองอย่างแน่นอน

การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของการบริหารความหลากหลายในทางปฏิบัติ เป็นดังนี้

  1. ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ของความหลายหลาย มีความยึดมั่นผูกพันสูงกับความหลากหลาย สื่อสารไป   ทั่วทั้งองค์กร
  2. นำความหลายหลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ขององค์กร แผนงานการพัฒนาบุคลากรซึ่งต้องสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันด้วย
  3. เชื่อมโยงความหลากหลายมาสู่ผลการปฏิบัติงาน โดยทำความเข้าใจความหลากหลายและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สามารถจะขยายผลผลิตและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
  4. มีการวัดผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่มีผลกระทบกับความผันแปรของโครงการ แผนงาน ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย
  5. ผู้นำมีความแน่วแน่และแสดงความรับผิดขอบในความหลากหลาย เชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและผลตอบแทนที่นำไปสู่ความก้าวหน้าของการบริหารความหลากหลาย
  6. มีกระบวนการเชิงกลยุทธ์สำหรับระบุและพัฒนาความหลากหลายของคนเก่ง คนดีให้มีศักยภาพเป็นผู้นำองค์การในอนาคต
  7. มีกระบวนการของการดึงดูดผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลากหลาย
  8. ให้การสนับสนุนบุคลากรทุกระดับในการขับเคลื่อนความหลากหลายทั้งองค์การ โดยทุกคนเท่าเทียมกัน
  9. การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรต้องมุ่งเน้นความหลากหลายในองค์การ
  10. มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เชื่อมโยงเรื่องความสุขในการทำงานให้กับทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มเพศ เป็นต้น

 กลยุทธ์การบริหารความหลากหลายของคน

          สิ่งที่ฝ่ายบริหารจะต้องยึดถือเป็นหลักในการบริหารเพื่อ ยุติ ลด ป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาความแตกต่างที่หลากหลายคือ

  1. การผสมกลมกลืน
  2. การแสวงหาจุดร่วม สงวนความแตกต่าง (แตกต่างแต่ไม่แตกแยก)
  3. การแบ่งแยกและปกครอง (กระจายการปกครอง ตามหน่วยงานต่างๆ)

เทคนิคที่นำมาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความหลากหลาย

  1. การวิเคราะห์องค์การ (SWOT Analysis)
  2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การทำงานเป็นทีม ระบบพี่เลี้ยง
  3. การสื่อสารอธิบายให้เข้าใจร่วมกัน
  4. การฝึกอบรม เช่น ทัศนคติเชิงบวก การคิดเชิงรุก
  5. การปรับปรุงสภาพการจ้าง หรือ สิทธิประโยชน์ (คำนึงถึง WIN WIN)
  6. การปรับปรุงสถานที่ทำงานหรือสำนักงาน ทำให้คนอยากมาทำงานมากขึ้น

 

 

เขียนโดย Acc_sriphat ที่ 16:42 

 11698
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores