3 วิธีการคำนวณสินค้าคงเหลือให้เหมาะสมกับกิจการ

3 วิธีการคำนวณสินค้าคงเหลือให้เหมาะสมกับกิจการ

ซึ่งวิธีการคำนวณสินค้าคงเหลือมาตรฐานทางการบัญชีฉบับที่ 2 มีด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่

1. วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in First-out; FIFO)

วิธีนี้จะได้รับความนิยม เพราะเป็นวิธีที่เข้าใจง่ายและบันทึกได้ไม่ยุ่งยาก สินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะถูกขายออกไปก่อน ซึ่งจากชื่อก็ได้บอกอยู่แล้วว่า “เข้าก่อน ออกก่อน” หรือจะขยายความก็คือ หากสินค้า ก,ข,ค เข้ามาในโกดังตามลำดับ เมื่อขายออกไป สินค้า ก ย่อมต้องออกก่อนสินค้า ข และ ค การบันทึกด้วยวิธีเข้าก่อน ออกก่อนสามารถใช้ได้กับทั้งระบบการบันทึกแบบสิ้นงวดและแบบต่อเนื่อง ซึ่งจะแตกต่างกันในรายละเอียดการบันทึก ดังนั้น ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะเป็นต้นทุนขาย และต้นทุนสินค้าที่ซื้อเข้ามาที่หลัง ๆ จะเป็นสินค้าคงเหลือ ทำให้มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ได้จะเท่ากัน
วิธีนี้มักจะใช้กับสินค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ซึ่งมีข้อดีในการแสดงราคาสินค้าคงเหลือ เพราะเมื่อถึงสิ้นปี สินค้าคงเหลือนั้นจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่าในตลาดมากที่สุด สามารถแสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของบริษัทได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ประกอบกับเป็นวิธีที่เข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก ทำให้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม

2. วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification)

วิธีนี้จะสอดคล้องกับระบบการบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง เพราะสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง เมื่อมีรายการซื้อหรือรายการขายสินค้าจะบันทึกจำนวนของสินค้าชิ้นนั้น ดังนั้น วิธีนี้จึงเหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ ราคาสูง ไม่สามารถสับเปลี่ยนได้ ต้นทุนแต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน และจำนวนครั้งของการขายมีจำนวนไม่บ่อยมากนัก เช่น เครื่องเพชร เครื่องประดับที่มีมูลค่าหรือชุดเฟอร์นิเจอร์สั่งทำ รถยนต์ เรือเดินสมุทร เป็นต้น หากใช้วิธีนี้กับสินค้าที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็น

3. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted-average method)

สำหรับวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ต้นทุนต่อหน่วยก็คือต้นทุนสินค้าสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย หารด้วยจำนวนหน่วยที่มีไว้เพื่อขาย ซึ่งจะคำนวณเมื่อสิ้นงวด

หากกิจการมีการเลือกวิธีคำนวณมูลค่าของสินค้าคงเหลือได้เหมาะสม นอกจากจะทำให้การบริหารสินค้ามีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้และยังทำให้ตัวเลขงบการเงินแสดงสถานะทางการเงินสามารถสะท้อนภาพเชิงเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้บริหารสามารถเห็นสภาพที่แท้จริงขอบงบบริษัทได้ และหากมีปัญหาทางการเงินเกิดขึ้นก็สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

บทความโดย : jobdst

 1550
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores