ธุรกิจมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

ธุรกิจมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

รูปแบบของธุรกิจการประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีอยู่หลายลักษณะทั้งธุรกิจขนาดเล็ก  ธุรกิจขนาดกลาง  และธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสาขาทั่วประเทศ  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติตามกฎหมาย  หรือกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ  จึงมีการกำหนดรูปแบบธุรกิจออกเป็น  5  รูปแบบ  ดังนี้ 

1.  กิจการของคนเดียว (Sole  or  Single  Proprietorship) กิจการเจ้าของคนเดียว  เป็นการประกอบธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ  และบริหารจัดการธุรกิจทุกเรื่องด้วยตนเอง  การประกอบธุรกิจในรูปแบบนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ  มีวิธีการดำเนินงานที่ง่าย   ไม่ยุ่งยาก  การบริหารจัดการต่างๆ  มีความคล่องตัวสูง  และเป็นธุรกิจที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด  เช่น หาบเร่  แผงลอย  ร้านขายของชำ  ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า  เป็นต้น 

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว 

ข้อดีของกิจการของเจ้าของคนเดียว

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว

1.  เจ้าของกิจการมีอิสระ  และความคล่องตัวในการบริหารหรือดำเนินการต่างๆได้เต็มที่

 

 

1.  อัตราความล้มเหลวมีสูง  เนื่องจากเป็นกิจการที่การบริหารขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงผู้เดียว    หากเจ้าของกิจการขาดความรู้  ความสามารถในการบริหาร ก็จะทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ

2.  การจัดตั้ง และการเลิกกิจการสามารถทำได้ง่ายและสะดวก

2.  การจัดหาเงินทุนในการขยายกิจการค่อนข้างยาก  เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอัตราความล้มเหลวสูง       ขาดความน่าเชื่อถือ  และไม่สามารถขายหุ้นได้ 

 

3.  ได้รับรายได้หรือกำไรในการประกอบการเพียงคนเดียว

 

 

3.  ต้องรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัด  เนื่องจากกฎหมายถือว่าเจ้าของกิจการและธุรกิจเป็นบุคคลคนเดียว  หากทรัพย์สินของกิจการไม่พอชำระหนี้ต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ทั้งหมด 

 

ข้อดีของกิจการของเจ้าของคนเดียว

ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว

4.  การเสียภาษี  กฎหมายถือว่าเจ้าของกิจการและธุรกิจเป็นบุคคลคนเดียวกัน  จึงเสียภาษีแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  (เสียภาษีโดยถือเอารายได้เป็นเครื่องวัดตามความสามารถของบุคคล)

4.  อายุการดำเนินกิจการจะขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ  ถ้าเจ้าของกิจการตาย  หรือไม่มีความสามารถธุรกิจจะสิ้นสุดลงในเวลาอันรวดเร็ว 

5.  สามารถรักษาความลับของกิจการได้ดี  เพราะไม่มีข้อบังคับทางกฎหมายที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น

 

 

2.  ห้างหุ้นส่วน  (Partnership) ห้างหุ้นส่วน  เป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2  คนขึ้นไป  และสามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้  โดยการทำสัญญาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน ซึ่งผู้เป็น

หุ้นส่วนจะต้องลงทุนร่วมกันด้วยเงินหรือแรงกาย  เพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งกำไรที่จะได้รับจากการดำเนินกิจการร่วมกัน ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ  (Ordinary Partnership )  เป็นรูปแบบที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบในการ

ชำระหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้  โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรและขาดทุนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจนั้น  ในสัดส่วนเท่ากันตามจำนวนหุ้น  ห้างหุ้นส่วนสามัญแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1)  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  (จดทะเบียน)  เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน

ถูกต้องตามกฎหมาย  หากมีการฟ้องร้องต้องฟ้องห้างหุ้นส่วน เมื่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่พอชำระหนี้จึงจะฟ้องร้องจากหุ้นส่วนต่อไป

2) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  (ไม่จดทะเบียน) เป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนให้

ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนจะไม่แยกจากกัน  เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องบุคคลใดก็ได้

2.2  ห้างหุ้นส่วนจำกัด (จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) (Limited  Partnership)  เป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วน

ที่จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  จึงมีผลทำให้กิจการนั้นเสมือนเป็นบุคคล  และมีสิทธิดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด  ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น  2 ประเภท  ได้แก่

1) หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ  ผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ 

ซึ่งรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น 

2) หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ  ผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีคนเดียวหรือหลายคน  

ก็ได้  ซึ่งรับผิดชอบในบรรดาหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของห้างหุ้นส่วน

ข้อดีของห้างหุ้นส่วน

ข้อเสียของห้างหุ้นส่วน

1.  ถ้าหุ้นส่วนแต่ละคนมีความสามารถ ความชำนาญ และมีประสบการณ์ในแต่ละด้านจะทำให้การบริหารธุรกิจสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

1.  ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนบางคนที่ไม่สุจริต  หรือทำการโดยประมาทเลินเล่อจะทำให้ผู้ถือหุ้นส่วนอื่นเสียหายไปด้วย

2.  การจัดหาเงินทุนทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของ    คนเดียว  เพราะมีหุ้นส่วนหลายคน  ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจึงให้กู้ง่ายกว่า

2.  มีความล่าช้าในการตัดสินใจและอาจเกิดความขัดแย้งกันได้ง่าย  เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นหลายคน

3.  จัดตั้งได้ง่ายกว่าการจัดตั้งบริษัทจำกัด เพราะ าข้อจำกัดทางกฎหมายมีไม่มาก

3.  มีหนี้สินไม่จำกัด  หากไม่สามารถชำระหนี้ของกิจการได้หมด  เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วนแต่ละคนได้ 

 

4.  ถอนทุนคืนได้ยาก เพราะมีข้อจำกัดตามข้อตกลงในสัญญาและกฎหมาย

 

3.  บริษัทจำกัด  (Corporation)  บริษัทจำกัด  เป็นการประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรจากกิจการ  ซึ่งจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน  และมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่  7  คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง  100  คน  โดยผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่

ในปัจจุบันประเทศไทยแบ่งบริษัทจำกัดออกเป็น 2  ประเภท  ได้แก่ 

            1.  บริษัทเอกชนจำกัด   เป็นบริษัทประเภทหนึ่งซึ่งจัดตั้งด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน  โดยมีผู้ถือหุ้นไม่เกิน  100  คน

            2.  บริษัทมหาชนจำกัด  เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน  ซึ่งถือหุ้นตั้งแต่  100  คนขึ้นไป  โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ  และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

                พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด  พ.ศ.2535  ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้พอสรุปได้ดังนี้ 

            1)  จำนวนผู้ถือหุ้น   มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่  15  คน  ขึ้นไป

            2)  ทุนจดทะเบียน  ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้ 

            3)  มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น  หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากันและต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น

            4)  จำนวนกรรมการ  ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า  5  คน  และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย 

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของบริษัทจำกัด

ข้อดีของบริษัทจำกัด

ข้อเสียของบริษัทจำกัด

1.  การจัดการมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากบริษัทมักจะใช้ผู้บริหารมืออาชีพและมีระบบการทำงานที่ดีกว่าธุรกิจรูปแบบอื่นๆ

1.  การจัดตั้งยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากมีข้อจำกัดทางกฎหมายและหน่วยงานของรัฐดูแลอย่างเข้มงวด

2.  ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดเฉพาะค่าหุ้นที่ตนยังค้างจ่ายแก่บริษัทเท่านั้น  ถ้าบริษัทมีหนี้สินใดๆผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบ

2.  ไม่สามารถปกปิดความลับของกิจการได้ทั้งหมด  เพราะต้องเปิดเผยข้อมูลแก่รัฐตามที่กฎหมายกำหนด

3.  โอน  หรือขาย  หรือขยายกิจการได้ง่าย  เนื่องจากบริษัทจำกัดดูน่าเชื่อถือในกลุ่มของบุคคลและสถาบันทางการเงิน

3. ถ้าผ่ายบริหารไม่ใช้ผู้ถือหุ้นอาจบริหารงานไม่รอบคอบทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้

4.  มีความมั่นคงถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง  เจ้าของบริษัท เช่น  ผู้ถือหุ้นเสียชีวิต  ล้มละลาย  หรือศาลให้เป็นผู้ไร้ความสามารถกิจการไม่ต้องล้มเลิกไป

4. ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน  คือ  ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

4.  สหกรณ์  (Cooperative) สหกรณ์  เป็นรูปแบบธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งมีคณะบุคคลตั้งแต่  10  คนขึ้นไป  ที่มีอาชีพความต้องการ  ความสนใจที่คล้ายคลึงร่วมกันจัดตั้งขึ้น  และจดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพ  การครองชีพของสมาชิกและครอบครัวให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ประโยชน์ทั้งต่อสมาชิกของสหกรณ์และต่อส่วนรวม

ในปัจจุบันสหกรณ์สามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  (ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  พ.ศ.2511  มาตรา  7)  ได้แก่

1)  สหกรณ์จำกัด  เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

2) สหกรณ์ไม่จำกัด   เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกัน  เพื่อหนี้ทั้งปวงของสหกรณ์ไม่จำกัด

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสหกรณ์

ข้อดีของสหกรณ์

ข้อเสียของสหกรณ์

1.  กฎหมายให้การสนับสนุนช่วยเหลือ เช่นได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับผู้บริโภค

1.  สมาชิกที่เป็นผู้ผลิตไม่สามารถตั้งราคาขายผลผลิตของตนเองได้ตามใจชอบ  เพราะสหกรณ์จะเป็นผู้กำหนด

2.  เป็นการรวมสมาชิกเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2.  หากสมาชิกไม่เข้าใจหลักและวิธีการของสหกรณ์ดีพอ  สหกรณ์อาจไม่เจริญเท่าที่ควร

3.  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสหกรณ์ถูกกว่าธุรกิจประเภทอื่น

3.  สหกรณ์ขาดเครื่องจูงใจ  คือ  กำไร  ที่น้อยกว่าธุรกิจประเภทอื่นๆ

4.  ได้รับผลประโยชน์ทั่วถึงในหมู่สมาชิก เพราะถ้าใครทำธุรกิจกับสหกรณ์ได้มากก็จะได้รับประโยชน์สูงตามไปด้วย

4.  มีทุนจำกัด  จึงมีผลต่อการบริหารจัดการ

 

5.  รัฐวิสาหกิจ  (State  Enterprise

                รัฐวิสาหกิจ  เป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐบาลเป็นเจ้าของ  รวมทั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีหุ้นเกินกว่าร้อยละ  50 มีระบบการบริหารงานอยู่ระหว่างราชการและเอกชน  โดยคำนึงถึงหลักสำคัญทางการบริหารให้เป็นไปตามขั้นตอน  เพื่อป้องกันการทุจริต  ตลอดจนความสงบสุขของประชาชนในประเทศเป็นหลักสำคัญ

วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจมีดังนี้

1) เพื่อความมั่นคงของประเทศ  เพราะกิจการบางอย่างมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในยามฉุกเฉิน  เช่น  การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

2) เพื่อประโยชน์ของสังคมในการให้บริการประชาชน  ซึ่งส่วนใหญ่ 

3) เพื่อหารายได้เข้ารัฐ  เนื่องจากธุรกิจบางประเภทมีผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เช่น  สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

4) เพื่อควบคุมสินค้าบางชนิดที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม  เช่น  โรงงานสุรา  โรงงานยาสูบ

5) เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศพร้อมกับเชิญชวนมาให้ท่องเที่ยวในประเทศไทย  เช่น  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

รัฐวิสาหกิจแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ได้แก่

1. รัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคล  เป็นองค์กรและหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย  มีการดำเนินงานที่แยกออกจากผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการโดยเฉพาะ  เช่น  การสื่อสารแห่งประเทศไทย  การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย  การรถไฟแห่งประเทศไทย  องค์การสวนสัตว์ธนาคารแห่งประเทศไทย  บริษัทขนส่ง  เป็นต้น

2. รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล  เป็นกิจการบางอย่างของรัฐที่จัดตั้งขึ้นโดยใช้ทุนดำเนินการของรัฐทั้งหมด  สังกัดหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น  แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล  เช่นโรงงานยาสูบและสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล  ซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง  เป็นต้น 

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของรัฐวิสาหกิจ

ข้อดีของรัฐวิสาหกิจ

ข้อเสียของรัฐวิสาหกิจ

1.  ทำให้รัฐบาลมีรายได้มาพัฒนาประเทศมากขึ้น

ไม่มีการแข่งขันทางธุรกิจ จึงทำให้สินค้าและบริการบางประเภทไม่ได้รับการปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้น

2.  ประชาชนได้รับสวัสดิการ  โดยเฉพาะสาธารณูปโภคพื้นฐานในราคาที่ไม่แพง

 

 

บทความโดย : sites

 217997
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores