ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล


            เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย (กรณีมีสาขาในไทย) หรือมีตัวแทนซึ่งเป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินหรือผลกำไรในประเทศไทย
  3. กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๔๐ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
  5. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
  6. กิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคลอื่น

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

  1. ยกเว้นตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
  2. ยกเว้นตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  3. ยกเว้นค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงจากการรับบริจาคของมูลนิธิหรือสมาคม
  4. ยกเว้นเงินได้จากกิจการของโรงเรียนเอกชนที่มูลนิธิหรือสมาคมจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

บทความโดย : sites.google.com


 3623
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores