จรรยาบรรณนักบัญชี

จรรยาบรรณนักบัญชี

เนื่องจากผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีจะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆและผลงานของนักบัญชีมีอิทธิพลอย่างสาระสำคัญในและนอกองค์กร หากผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีมีแนวโน้มความไม่รับผิดชอบ ไม่รอบคอบเกี่ยวกับตัวเงิน ความทันต่อเวลา หรืองานบัญชีคงค้างต่างๆ ก็จะส่งผลต่อรายงานและงบการเงิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานต่างๆที่กำกับดูแลวิชาชีพของการบัญชี จึงได้มีพระราชบัญญัติ ข้อควรพึงปฏิบัติต่างๆ และได้กำหนดเป็นจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ เพื่อให้นักบัญชี ผู้อำนวยการบัญชี ตลอดจนผู้บริหารเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติ นอกจากนี้สมาคมและหน่วยงานต่างๆก็ได้กำหนดหลักการและวิธีปฏิบัติต่างๆเพื่อส่งเสริมให้การปฏิบัติต่อกันด้วยดี และหัวข้อสำคัญคือ จรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายยึดถือปฏิบัติ

1.  พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 7 จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยมีสาระสำคัญดังนี้

มาตรา 46 ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตน ตามมาตรฐานบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้

    บุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณหรือมาตรฐานที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าผู้นั้นประพฤติผิดจรรยาบรรณ

มาตรา 47 ให้สภาวิชาชีพจัดทำจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีขึ้นเป็นภาษาไทยและอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อกำหนดในเรื่องดังต่อไปนี้

    1.  ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต

    2.  ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

    3.  ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ

    4.  ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้

มาตรา 49 โทษการประพฤติผิดจรรยาบรรณ มีดังต่อไปนี้

    1. ตักเตือนเป็นหนังสือ

    2. ภาคทัณฑ์

    3. พักใช้ใบอนุญาต พักการขึ้นทะเบียน หรือห้ามการประกอบวิชาชีพบัญชี

    4. เพิกถอนใบอนุญาต เพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือสั่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

2. สมาคมผู้ตรวจสอบภายใน (THE INSTITUTE OF INTERNAL AUDITORS : IIA) 

        ได้กำหนดประมวลจรรยาบรรณ (CODE OF ETHICS) เพื่อส่งเสริมจรรยาบรรณในวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ คือ

-หลักการ (PRINCIPLES)

-หลักปฏิบัติ (RULES OF CONDUCT)

หลักการ เกี่ยวกับวิชาชีพและการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ผู้ที่ตรวจสอบภายในพึงยึดถือและดำรงไว้ คือ

1. ความซื่อสัตย์ (INTEGRITY)

          ความซื่อสัตย์ของผู้ตรวจสอบภายในสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและทำให้วิจารณญาณของผู้ตรวจสอบภายในเป็นที่น่าเชื่อถือ

2. ความเที่ยงธรรม (OBJECTIVITY)

          ผู้ตรวจสอบภายในจะแสดงความเที่ยงธรรมเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ในการรวบรวม ประเมิน และสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม หรือกระบวนการที่ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบภายในจะประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นกลางไม่ลำเอียง และไม่ปล่อยให้อคติหรือบุคคลอื่นมีอิทธิพลเหนือการประเมิน

3. การรักษาความลับ (CONFIDENTIALITY)

          ผู้ตรวจสอบภายในจะเคารพคุณค่าและสิทธิของผู้เป็นเจ้าของในข้อมูลที่ตนได้รับและไม่เปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสม เว้นแต่เมื่อกฎหมายหรือวิชาชีพกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

4. ความสามารถในหน้าที่ (CONPETENCY)

          ผู้ตรวจสอบภายในจะใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติการตรวจสอบภายใน

หลักปฏิบัติ คือสิ่งที่ผู้ตรวจสอบภายในพึงประพฤติปฏิบัติ หลักปฏิบัติเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยในการตีความและประยุกต์หลักการไปใช้จริง และพึงใช้เป็นแนวทางในการประพฤติตนอย่างมีจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายใน

1. ความซื่อสัตย์ (INTEGRITY)

ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :

    1. ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร และมีสำนึกรับผิดชอบ

    2. ปฏิบัติตามกฎหมายและเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายและวิชาชีพกำหนด

    3. ไม่มีส่วนร่วมโดยเจตนาในกิจกรรมที่ขัดต่อกฎหมายหรือการกระทำที่อาจเสื่อมเสียต่อวิชาชีพการตรวจสอบภายในหรือองค์กร

    4. เคารพและสนับสนุนวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมขององค์กร

2. ความเที่ยงธรรม (OBJECTIVITY)

ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :

    1. ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ที่บั่นทอนหรืออาจบั่นทอนการประเมินอย่างเป็นกลาง ไม่ลำเอียงของตน ทั้งนี้ รวมไปถึงการ

กระทำหรือความสัมพันธ์ที่ขัดต่อผลประโยชน์ขององค์กรด้วย

    2. ไม่รับสิ่งตอบแทนใดๆที่บั่นทอนหรืออาจบั่นทอนวิจารณญาณของผู้ประกอบวิชาชีพ

    3. เปิดเผยความจริงทั้งหมดที่ทราบ ซึ่งหากละเว้นไม่เปิดเผยแล้วอาจทำให้รายงานผลการตรวจสอบบิดเบือนไป

3. การรักษาความลับ (CONFIDENTIALITY)

ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :

    1. รอบคอบในการใช้และปกป้องข้อมูลที่ได้มาระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

    2. ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อการใดที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมขององค์กร

4. ความสามารถในหน้าที่ (CONPETENCY)

ผู้ตรวจสอบภายในจะต้อง :

    1. ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในงานส่วนที่ตนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับงานส่วนนั้นเท่านั้น

    2. ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในโดยยึดมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายในเป็นหลัก

    3. พัฒนาความชำนาญ ประสิทธิผล และคุณภาพของบริการอย่างต่อเนื่องมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ฉบับ พ.ศ. 2547

3. THE INSTITUTE OF MANAGEMENT ACCOUNTANTS (IMA) 

ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดมาตรฐานตามจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานเป็น 2 ส่วน คือ

          1. แนวทางทั่วไปสำหรับจรรยาบรรณในการปฏิบัติตน

          2. การปฏิบัติเมื่อมีข้อขัดแย้ง

แนวทางทั่วไปสำหรับจรรยาบรรณในการปฏิบัติตน ประกอบด้วย

ความสามารถในหน้าที่ (CONPETENCY)

-  การรักษาความลับ (CONFIDENTIALITY)

ความซื่อสัตย์ (INTEGRITY)

-  ความเที่ยงธรรม (OBJECTIVITY)

การปฏิบัติเมื่อมีข้อขัดแย้ง ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรเสียก่อน หากยังมีข้อขัดแย้งอีกจึงจะเสนอปัญหาแก่ผู้บริหารระดับสูงในระดับที่เหนือขึ้นไป

1. ไม่ควรแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกองค์กร ยกเว้นเป็นไปตามกฎหมาย

2. ปรึกษาเป็นทางลับกับ IMA COUNSELING SERVICE เพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหา

3. ปรึกษาทนายความของตนเอง ในเรื่องของกฎหมายและสิทธิต่างๆ

4. ถ้ายังมีข้อขัดแย้ง ก็ควรลาออกจากองค์กร และอาจแจ้งให้หน่วยงานอื่นทราบ

 43566
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores